ลำน้ำโพง เป็นลำน้ำสาขาของลำเซบาย ซึ่งอยู่ในลุ่มแม่น้ำมูลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ความยาว 100 กิโลเมตร พื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 765.69 ตร.กม. หรือคิดเป็น 478,554 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดยโสธร และบางส่วนของจังหวัดร้อยเอ็ด

ลำน้ำโพง
ระบบอุทกวิทยา
แอ่งสมุทรมหาสมุทรแปซิฟิก
ระบบแม่น้ำระบบแม่น้ำโขง
ลุ่มน้ำประธานลุ่มน้ำมูล
ชื่อแหล่งน้ำลำน้ำโพง
ข้อมูลทั่วไป
ความยาว106 กม.
ต้นน้ำภูด่านฮัง
ที่ตั้งของต้นน้ำบ้านโพง ตำบลห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
ท้ายน้ำลำเซบาย
ที่ตั้งของท้ายน้ำบ้านกุดสำโรง ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร

เส้นทางแม่น้ำ แก้

ลำน้ำโพง มีต้นกำเนิดจากภูด่านฮัง บ้านโพง ตำบลห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ไหลผ่านอำเภอไทยเจริญ อำเภอกุดชุม อำเภอเมืองยโสธร อำเภอป่าติ้ว และไหลไปรวมกับลำเซบายที่บ้านกุดสำโรง ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร มีความยาวประมาณ 106 กิโลเมตร ซึ่งใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่[1]

แหล่งกักเก็บน้ำที่สำคัญในลุ่มน้ำ แก้

ตั้งอยู่ที่บ้านศรีแก้ว ตำบลศรีแก้ว อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชทานพระราชดำริ เมื่อปี พ.ศ. 2530 เพื่อช่วยเหลือราษฎรและพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่อง จึงเกิดโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง หรือ โครงการอีสานเขียว กรมชลประทานจึงกำหนดโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโพงตอนบน ไว้ในแผนเร่งรัดก่อสร้างโครงการชลประทานขนาดกลางอีสานเขียว

ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตร โครงการสาธิตการเกษตรแบบผสมผสาน มูลนิธิชัยพัฒนา บ้านกุดแห่ ตำบลกุดแห่ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร จึงมีพระราชดำริให้จัดหาน้ำเพิ่มเติมให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านศรีสวัสดิ์ เพื่อใช้ทำการเกษตรและใช้ในกิจกรรมของโรงเรียน และให้จัดหาน้ำให้ราษฎรบ้านศรีสวัสดิ์ จึงดำเนินการตรวจสอบพื้นที่เพื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยโพงตอนบน และในปี พ.ศ. 2557-2559 มีการก่อสร้างทำนบดินพร้อมอาคารประกอบ สามารถเก็บกักน้ำได้ 12.4 ล้านลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างระบบส่งน้ำ เมื่อการดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกได้ 5,900 ไร่ และพื้นที่เพาะปลูกพืชไร่ในฤดูแล้ง ประมาณ 700 ไร่

ลำน้ำสาขา แก้

  1. ห้วยหินฮาว
  2. ห้วยโพงโพด
  3. ห้วยสองคอน
  4. ห้วยกระโดก
  5. ห้วยแดง
  6. ห้วยกอย
  7. ห้วยบ่อแก
  8. กุดกะเหลิบ
  9. ห้วยโสกน้ำขาว
  10. ห้วยแก้ง
  11. ห้วยไผ่
  12. ห้วยฝา
  13. ห้วยกอย

อ้างอิง แก้

[2] [3] [4]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

15°19′14″N 105°30′29″E / 15.320556°N 105.508056°E / 15.320556; 105.508056

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-02. สืบค้นเมื่อ 2019-05-20.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-21. สืบค้นเมื่อ 2019-05-20.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-11. สืบค้นเมื่อ 2019-05-20.
  4. https://saiparinyanaja.wordpress.com/%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3-%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%AA%E0%B8%98%E0%B8%A3/