ลำดับพงศ์พันธุ์ในปฐมกาล

ลำดับพงศ์พันธุ์ในปฐมกาล (อังกฤษ: genealogies of Genesis) ให้กรอบโครงของเนื้อหาในหนังสือปฐมกาล[1] เนื้อหาลำดับพงศ์พันธุ์ในปฐมกาล 4, 5, 10, 11, 22, 25, 29–30, 35–36 และ 46 เริ่มด้วยด้วยอาดัม เป็นการขับเคลื่อนเรื่องเล่าตั้งแต่เรื่องเล่าการสร้างสรรพสิ่งไปจนถึงจุดเริ่มต้นของวงศ์วานอิสราเอล

เชื้อสายของอาดัมประกอบด้วยสองสาย บทที่ 4 กล่าวถึงเชื้อสายของคาอิน และบทที่ 5 กล่าวถึงเชื้อสายของเสทที่ดำเนินต่อไปในบทต่อ ๆ ไป บทที่ 10 กล่าวถึงพงศ์พันธ์ของโนอาห์ (ซึ่งมีคำเรียกอีกอย่างว่า "Table of Nations") ซึ่งบันทึกถึงประชาชาติของโลกจากเชื้อสายของโนอาห์ ไม่ใช่ในเชิงพงศาวลีวิทยาอย่างเคร่งครัด แต่เป็นในเชิงชาติพันธุ์วรรณนา

ปฐมกาล 5 และปฐมกาล 11 มีการระบุอายุของปฐมบรรพบุรุษแต่ละคนขณะมีบุตรพร้อมชื่อของบุตร และยังระบุจำนวนปีที่ปฐมบรรพบุรุษแต่ละคนยังมีชีวิตอยู่ต่อไปหลังจากนั้น ข้อความที่ระบุอายุมีขนาดยาว แต่ยังถือว่ามีความยาวพอประมาณเมื่อเทียบกับข้อความระบุอายุในงานอื่น ๆ (เช่น รายพระนามกษัตริย์ซูเมอร์)[2]

ตัวเลขของอายุของปฐมบรรพบุรษมีรูปแบบที่ประกอบด้วยเลข 5 และเลข 7 เช่น อายุ 365 ปีของเอโนค (เลขเดียวกันกับจำนวนวันในหนึ่งปีตามปฏิทินสุริยคติ) และอายุ 77 ปีของลาเมค (เน้นซ้ำเลข 7)[3] โดยรวมแล้ว ตัวเลขของอายุแสดงรูปแบบทางคณิตศาสตร์ที่ชัดเจน ทำให้บางคนสรุปว่าเป็นการใช้สัญลักษณ์นิยมทางจำนวนเพื่อกำหนดอายุ[4] อย่างไรก็ตาม ปฐมกาล 5 และ 11 ระบุอายุของปฐมบรรพบุรุษแต่ละคนขณะให้กำเนิดบุตร และเป็นการนำเสนอลำดับเวลาที่ไม่มีช่องว่างตั้งแต่อาดัมถึงอับราฮัม แต่ชื่อบุตรชายที่ระบุชื่อไว้จะไม่ใช่บุตรชายคนแรกเสมอไป[5]

คาอินและเสท

แก้

หนังสือปฐมกาลระบุชื่อบุตรสามคนของอาดัมและเอวา ได้แก่ คาอิน อาเบล และเสท ลำดับพงศ์พันธุ์จากคาอินลงมามีระบุในปฐมกาล 4 ส่วนลำดับพงศ์พันธุ์จากเสทลงมาถึงโนอาห์มีระบุในปฐมกาล 5 นักวิชาการได้สังเกตถึงความคล้ายคลึงกันระหว่างชื่อของผู้สืบเชื้อสายในสองสายนี้ โดยชื่อส่วนใหญ่ในสายหนึ่งเป็นการเขียนในอีกรูปแบบของชื่อในอีกสายหนึ่ง แม้ว่าจะมีลำดับที่ต่างกัน อย่างชื่อของเอโนคและมาหะลาเลล/เมหุยาเอลสลับตำแหน่งกันในทั้งสองสายตระกูล[6][7] "ราวกับว่าเป็นรูปแบบที่แตกต่างกันจากพื้นฐานเดียวกัน"[8] นำไปสู่การสันนิษฐานว่าเชื้อสายลำดับวงศ์วานดั้งเดิมมีเพียงสายเดียว แต่ได้แยกออกเป็นสองสายในช่วงที่มีการบอกเล่าต่อ ๆ กันมา ก่อนจะนำมาเล่ารวมกันทั้งสองสายเมื่อมีการรวบรวมหนังสือปฐมกาล จาก Jahwist และ Priestly source[9][10]

เปรียบเทียบเชื้อสายของอาดัมที่ระบุในปฐมกาล
(ปรับแนวรุ่นอิงตาม Hooke[10])
อาดัมเอวา
อาเบลเสท
เอโนช
คาอินเคนัน
เอโนคมาหะลาเลล
อิราดยาเรด
เมหุยาเอลเอโนค
เมธูชาเอลเมธูเสลาห์
อาดาห์ลาเมคศิลลาห์ลาเมค
ยาบาลยูบาลทูบัลคาอินนาอามาห์โนอาห์
เชมฮามยาเฟท

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Craig A. Evans; Joel N. Lohr; David L. Petersen (2012). The Book of Genesis: Composition, Reception, and Interpretation. BRILL. p. 281. ISBN 978-90-04-22657-9.
  2. Cassuto, Umberto (1972). A Commentary on the Book of Genesis Part I From Adam to Noah. แปลโดย Israel Abrahams. Jerusalem: The Magnes Press. p. 264. ISBN 978-965-223-480-3. Although the ages in our section may appear high compared with the normal human life-span, yet if we bear in mind the notions prevailing in the environment in which the Torah was written, and the impression that the reading of this section must have left on its ancient readers, they will seem, on the contrary, low and modest.
  3. Cassuto, Umberto (1972). A Commentary on the Book of Genesis Part I From Adam to Noah. แปลโดย Israel Abrahams. Jerusalem: The Magnes Press. pp. 261–262. ISBN 978-965-223-480-3. {...}the numbers five and seven are specially stressed in the text, in a way calculated to attract the reader's attention.{...}In the enumeration of Lamech's years-seven and seventy years, and seven hundred years (v.31)- the emphasis given to the number seven is even more manifest.{...} Possibly the number 365 in v.23 is intended by Scripture to provide us with the key to the understanding of our subject, as though to say: Pray do not forget that every year has 365 days.
  4. Johnson, Richard (2004). "Patriarchal Ages in Genesis" (PDF). Perspectives on Science and Christian Faith. 56: 152–153.
  5. Sexton, Jeremy (2015). "Who Was Born When Enosh Was 90? A Semantic Reevaluation of William Henry Green's Chronological Gaps". Westminster Theological Journal. 77: 193–218. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-07. สืบค้นเมื่อ 2023-12-23.
  6. Blenkinsopp 2011, p. 112.
  7. Cassuto, Umberto (1972). A Commentary on the Book of Genesis Part I From Adam to Noah. แปลโดย Israel Abrahams. Jerusalem: The Magnes Press. p. 266. ISBN 978-965-223-480-3. The names of the founding fathers of the world in our chapter, beginning with Enosh, bear a remarkable resemblance to the names that appear in the family-tree of the sons of Cain.{...}the series Mahalalel-Jared-Enoch parallels, in reverse order, the series Enoch-Irad-Meḥujael{...}the similarity is striking, and cannot be regarded as fortuitous.
  8. Bandstra, Barry L. (2009). Reading the Old Testament: An Introduction to the Hebrew Bible. Wadsworth. pp. 59-60. ISBN 9780495391050.
  9. McEntire, Mark (2008). Struggling with God: An Introduction to the Pentateuch. Mercer University Press. pp. 59–60.
  10. 10.0 10.1 Hooke, S. H. (1963). Middle Eastern Mythology: From the Assyrians to the Hebrews. Penguin Books. pp. 127-128.

บรรณานุกรม

แก้