ลักกีแอนด์ไวลด์

ลักกีแอนด์ไวลด์[a] (อังกฤษ: Lucky & Wild) เป็นเกมอาร์เคดแข่งความเร็ว/เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง ที่วางจำหน่ายโดยบริษัทนัมโคใน ค.ศ. 1993 ซึ่งปฏิบัติการบนฮาร์ดแวร์นัมโคซิสเตม 2

ลักกีแอนด์ไวลด์
ใบปลิวเกมในทวีปอเมริกาเหนือ
ผู้พัฒนานัมโค
ผู้จัดจำหน่ายนัมโค
ออกแบบยูตากะ โคโนเอะ
แต่งเพลงเอ็ตสึโอะ อิชิอิ
เครื่องเล่นอาร์เคด
วางจำหน่าย
แนวแข่งความเร็ว/เกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น
ระบบอาร์เคดนัมโคซิสเตม 2

รูปแบบการเล่น

แก้

ตัวละครของผู้เล่นคนแรกชื่อ "ลักกี" เป็นชายผู้มีความซับซ้อนในชุดสูทธุรกิจ ที่ต้องขับรถด้วยพวงมาลัยกับคันเร่ง และยิงปืนด้วยไลต์กันกระบอกแรก อย่างไรก็ตาม ตัวละครของผู้เล่นคนที่สองชื่อ "ไวลด์" เป็นนักโต้คลื่นผมยาวสีบลอนด์ จำเป็นต้องช่วยตามล่าด้วยไลต์กันกระบอกที่สอง ผู้เล่นจะต้องช่วยลักกีและไวลด์จับผู้ต้องสงสัยที่ต้องการตัวหกคน (ได้แก่ "เจอร์คี", "แกมบิต", "จูลิโอรา", "คีล", "แบร์" และ "บิ๊กซิการ์" ด้วยตัวเอง)

ขณะที่พวกเขาไล่ตามผู้ต้องสงสัยในทุกด่าน ลักกีและไวลด์จะต้องยิงใส่รถของศัตรู รวมถึงยิงศัตรูที่อยู่ในสายตาให้ล้ม พร้อมกับโพรเจกไทล์ที่ยิงใส่พวกเขา ตลอดจนสิ่งกีดขวางที่ขวางกั้นพวกเขา เมื่อพวกเขาตามทันผู้ต้องสงสัย พวกเขาจะต้องยิงรถอย่างต่อเนื่องจนกว่าพลังงานจะหมด หากทำสำเร็จ พวกเขาจะจับผู้ต้องสงสัยได้และจะได้รับเงินรางวัล แต่หากหมดเวลา ผู้ต้องสงสัยจะหลบหนีได้ (โดยระบุด้วยข้อความ "หนีไปแล้ว" ที่ปรากฏบนหน้าจอ)

หลังจากแต่ละด่าน ลักกีและไวลด์จะขับรถไปที่ "อู่แมวสีชมพู" เพื่อซ่อมรถในด่านต่อไป โดยจะมีสาว ๆ สวมหางและหูแมวมอบ "ความบันเทิง" ซึ่งเกมนี้จะจบลงเมื่อเคลียร์ทั้งหกด่านแล้ว โดยไม่คำนึงถึงจำนวนผู้ต้องสงสัยที่ถูกจับได้ นอกจากนี้ ยังมีห้าวิธีในการเล่นเกมที่แตกต่างกัน ได้แก่: ผู้เล่นคนหนึ่งขับรถพร้อมกับใช้ปืนยิง โดยผู้เล่นอีกคนใช้ปืนยิงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงผู้เล่นคนหนึ่งขับรถโดยมีผู้เล่นอีกคนถือปืนเช่นกัน ทั้งผู้เล่นคนหนึ่งขับรถโดยมีผู้เล่นอีกคนถือปืนทั้งสองกระบอก, ผู้เล่นคนหนึ่งขับรถ ผู้เล่นอีกคนควบคุมปืนหนึ่งกระบอก และผู้เล่นคนที่สามถือปืนกระบอกที่สอง หรือแม้กระทั่งผู้เล่นคนเดียวคนหนึ่งถือปืนทั้งสองกระบอกขณะขับรถ (ตามอำเภอใจ) เนื่องจากบริษัทนัมโคไม่เคยผลิตเกมที่ให้ผู้เล่นสูงสุดสามคนเล่นพร้อมกันได้

การพัฒนา

แก้

ลักกีแอนด์ไวลด์เป็นผลงานการสร้างสรรค์ของยูตากะ โคโนเอะ ผู้เป็นนักออกแบบวิดีโอเกมที่ร่วมงานกับบริษัทนัมโคใน ค.ศ. 1991[1] โปรเจกต์แรกของเขาคือแทงก์ฟอร์ซ ซึ่งเป็นอาร์เคดภาคต่อของแทงก์แบตแทลเลียน โดยต่อมาได้ทำงานในซีรีส์พอยต์แบลงก์และไทม์ไครซิสแรกเริ่ม[1] แผนกวางแผนของบริษัทพิจารณาอุตสาหกรรมอาร์เคดและสังเกตเห็นว่าผู้มาเล่นวิดีโออาร์เคดในญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นคู่หนุ่มสาว บริษัทนัมโคและโคโนเอะจึงตัดสินใจสร้างเครื่องอาร์เคดขนาดใหญ่ที่คู่รักเหล่านี้โดยเฉพาะผู้ชายสามารถเพลิดเพลินได้[1] เมื่อมองหาแรงบันดาลใจ โคโนเอะสังเกตเห็นความนิยมที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของภาพยนตร์คู่หูตำรวจในญี่ปุ่น เช่น ฉลามบก และวิ่งสู้ฟัด ซึ่งเขาตัดสินใจที่จะทำให้เกมนี้เป็นการแสดงความเคารพต่อภาพยนตร์เหล่านี้ เพราะเขารู้สึกว่ามันจะทำให้ผู้เล่นมีส่วนร่วมกับฉากที่คุ้นเคยได้อย่างง่ายดาย[1] นอกจากนี้ ฉลามบกยังเป็นที่มาของแรงบันดาลใจสำหรับชื่อเกม เช่นเดียวกับในญี่ปุ่นที่ใช้ชื่อโจแอนด์พอนช์[1]

ด้วยแนวคิดที่พร้อมแล้ว โคโนเอะและทีมพัฒนาจึงเริ่มสร้างลักกีแอนด์ไวลด์ การออกแบบเกมในช่วงแรกได้รับแรงบันดาลใจมาจากเกมเรลเชสของบริษัทเซกา โดยเฉพาะเบาะที่นั่งแบบเคลื่อนไหวซึ่งตอบสนองตามการกระทำของผู้เล่นในเกม เช่น การสั่นเมื่อวิ่งบนถนนที่เป็นหิน[1] ลักกีแอนด์ไวลด์มีแนวคิดนี้แต่แรกเริ่ม โดยโยกอย่างรุนแรงในรูปแบบเหมือนกระดานหก[1] ซึ่งผู้บริหารของบริษัทนัมโคกดดันให้ไลต์กันยิงนัดเดียวเมื่อเหนี่ยวไก ส่วนโคโนเอะและคนอื่น ๆ ไม่เห็นด้วยเนื่องจากทำให้เกมไม่สามารถเล่นได้[1] เพื่อที่จะสร้างความแตกต่างจากเกมอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้วในตลาด รวมถึงสิ่งทีโคโนเอะอธิบายว่าเป็น "[การ]ปกป้องความภาคภูมิใจของแผนกพัฒนา ทีมผู้ผลิตได้ทำงานเพื่อทำให้เกมรู้สึกสดใหม่และแปลกใหม่"[1] ประวัติศาสตร์อันกว้างขวางของบริษัทนัมโคในเกมแนวแข่งความเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแฟรนไชส์ไฟนอลแลป ทำให้ทีมสามารถสร้างเกมเหล่านั้นขึ้นมาจากความเชี่ยวชาญในการออกแบบ[1] โคโนเอะจำได้ว่าส่วนที่ยากที่สุดของการพัฒนาคือการควบคุมเนื่องจากความไม่สมดุลของผู้เล่น[1] ซึ่งการควบคุมเดิมถูกมองว่าเป็นเรื่องที่น่าสับสนและยากต่อการนำไปใช้ โดยนำไปสู่การถกเถียงกันอย่างยาวนานระหว่างพนักงานว่าการควบคุมจะทำให้ง่ายขึ้นและแก้ไขความไม่สมดุลได้อย่างไร[1]

แม้ว่าเกมแข่งความเร็ว 3 มิติจะได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 แต่โคโนเอะก็เลือกที่จะยึดติดกับสไปรต์ 2 มิติ และใช้มันเพื่อสร้างภาพลวงตาของโลก 3 มิติ[1] ส่วนฮาร์ดแวร์อาร์เคดที่ปฏิบัติการอยู่อย่างนัมโคซิสเตม 2 ได้มีข้อจำกัดที่เข้มงวดซึ่งทำให้ยากต่อการทำงานระหว่างการผลิต[1] เพื่อหาวิธีหลีกเลี่ยงการหยุดยั้งความก้าวหน้าเหล่านี้และสร้างโลกที่พวกเขาจินตนาการไว้ ทีมงานจึงมองหาแรงบันดาลใจในเกมโพลโพซิชัน ซึ่งใช้เทคนิคอันชาญฉลาดในการจัดวางวัตถุที่ใช้สไปรต์ให้สอดคล้องกับถนนที่สร้างภาพลวงตาของสภาพแวดล้อม 3 มิติ[1] โคโนเอะนำสิ่งนี้มาใช้ในลักกีแอนด์ไวลด์ โดยใช้การจัดเรียงเสาไฟถนน, อาคาร, พุ่มไม้ และป้ายโฆษณาที่สมจริงเพื่อให้ขนานกับถนนดังกล่าว และสร้างความรู้สึกที่มีความลึกอย่างมาก[1] วัตถุเหล่านี้และอัตราการเคลื่อนไหวที่พวกเขาเลื่อนผ่านเครื่องเล่นล้วนทำด้วยมือ โดยได้รับการช่วยเหลือเล็กน้อยจากชุดเครื่องมือการผลิตของบริษัทนัมโค[1] ซึ่งวัตถุต่าง ๆ ได้รับการวาดขึ้นทีละชิ้นอย่างอุตสาหะ โดยทีมงานใช้แหล่งวัตถุดิบอย่างมังงะและอัลบัมภาพถ่ายเป็นข้อมูลอ้างอิง[1] อนึ่ง เชื่อกันว่าเกมนี้ได้รับแรงบันดาลใจอย่างมากจากภาพยนตร์เรื่อง 2 โหดไม่รู้ดับ เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกันหลายประการ เช่น การออกแบบที่คล้ายคลึงกันของตัวละครเอกและธีมที่เกือบจะเหมือนกัน ซึ่งโคโนเอะปฏิเสธเรื่องนี้ในการให้สัมภาษณ์ โดยอ้างว่าเขาไม่รู้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้มีอยู่ในระหว่างการผลิต และความคล้ายคลึงกันเป็นเพียงเรื่องบังเอิญเท่านั้น[1] ทั้งนี้ ลักกีแอนด์ไวลด์ได้รับการเปิดตัวในประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1993 ตามด้วยการเปิดตัวในทวีปอเมริกาเหนือในอีกหนึ่งเดือนต่อมา[2]

การอ้างอิงในเกมอื่น ๆ

แก้

ลักกีแอนด์ไวลด์ยังได้รับการยืมมาเป็นแบรนด์บริษัทรถแต่งสัญชาติอเมริกันในเกมริดจ์เรเซอร์ โดยมีผลิตภัณฑ์เป็นมัสเซิลคาร์ (คล้ายกับของแดนเวอร์) ส่วนการก่อรูปแบบของตัวละครเอกของลักกีแอนด์ไวลด์ได้ปรากฏในมาริโอคาร์ตอาร์เคด จีพี ดีเอกซ์ ในเวลาต่อมา โดยมีผู้เล่นคนหนึ่งขับรถและคนที่สองทำหน้าที่เป็นมือปืน นอกจากนี้ ในตอนแรกของซีรีส์วิดีโออินเตอร์แอกทีฟอย่างแบร์สตีมส์บราโว นั้น แจ็กกี ดาลตัน ผู้เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารแบร์สตีมส์ กล่าวถึงแฟรนโกและเฮนรีซึ่งเป็นผู้ควบคุมด้วยชื่อ "ลักกีแอนด์ไวลด์"

การตอบรับ

แก้

เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1993 เกมแมชชีนอ้างว่าลักกีแอนด์ไวลด์เป็นเกมอาร์เคดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเป็นอันดับสามในประเทศญี่ปุ่น[3] และรีเพลย์ยังรายงานว่าลักกีแอนด์ไวลด์เป็นเกมอาร์เคดหรูหราที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอันดับสี่ในขณะนั้น[4] ส่วนนิตยสารเพลย์มิเตอร์ระบุว่าลักกีแอนด์ไวลด์เป็นเกมอาร์เคดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอันดับที่ 25 ในขณะนั้นเช่นกัน[5] นอกจากนี้ ไทม์เอกซ์เทนชันได้กล่าวถึงเกมนี้ว่าเป็น "หนึ่งในเกมที่น่าทึ่งที่สุดของยุคคริสต์ทศวรรษ 1990 และเป็นเกมที่สมควรได้รับความสนใจมากกว่าที่ทำอยู่ในปัจจุบัน"[6]

หมายเหตุ

แก้
  1. ラッキー&ワイルド Rakkī Ando Wairudo

อ้างอิง

แก้
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 Tilley, Sorrel (April 2012). "The Making Of: Lucky & Wild". No. 101. United Kingdom: Imagine Publishing. Retro Gamer. pp. 36–39. สืบค้นเมื่อ 7 March 2020.
  2. Akagi, Masumi (13 October 2006). ナムコ Namco; Namco America; L. アーケードTVゲームリスト 国内•海外編 (1971-2005) (ภาษาญี่ปุ่น) (1st ed.). Amusement News Agency. pp. 53, 126, 157. ISBN 978-4990251215.
  3. "Game Machine's Best Hit Games 25 - アップライト, コックピット型TVゲーム機 (Upright/Cockpit Videos)". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 449. Amusement Press, Inc. 15 May 1993. p. 29.
  4. "The Player's Choice - Top Games Now in Operation, Based on Earnings-Opinion Poll of Operators: Best Deluxe Videos". RePlay. Vol. 18 no. 10. RePlay Publishing, Inc. July 1993. p. 4.
  5. "Equipment Poll - Video & Pinball Combined". Play Meter. Vol. 19 no. 9. Skybird Publishing. August 1993. p. 8.
  6. McFerran, Damien (27 March 2023). "Remembering Lucky & Wild, Namco's Arcade-Only Forgotten Classic". Time Extension. Hookshot Media. สืบค้นเมื่อ 27 March 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้