ฤดูหนาวจากภูเขาไฟ

(เปลี่ยนทางจาก ฤดูหนาวภูเขาไฟ)

ฤดูหนาวจากภูเขาไฟ คือการที่โลกมีอุณหภูมิลดลงจากการระเบิดของภูเขาไฟขนาดใหญ่ที่ทำให้เกิดเถ้าภูเขาไฟ, กรดซัลฟิวริกและน้ำจำนวนมากในชั้นบรรยากาศจนทำให้บดบังแสงจากดวงอาทิตย์และมีการเพิ่มอัลบีโด (ค่าการสะท้อนแสง) ของโลกมากขึ้น ความหนาวเย็นของปรากฏการณ์นี้จะกินเวลานานเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนก๊าซกำมะถันที่เปลี่ยนรูปเป็นอนุภาคชื่อว่าละอองลอยของกรดซัลฟิวริกซึ่งจะรวมตัวกันที่ชั้นสตราโทสเฟียร์[1] ซึ่งละอองลอยที่อยู่บนชั้นบรรยากาศจะทำให้ผิวโลกเย็นลงเนื่องจากมันช่วยสะท้อนแสงและรังสีจากดวงอาทิตย์กลับสู่อวกาศและดูดซับรังสีภาดพื้นดินของโลก[2]

ตัวอย่างทางประวัติศาสตร์ แก้

 
ภูเขาไฟปินาตูโบระเบิดใน พ.ศ. 2534

ฤดูหนาวจากภูเขาไฟช่วงหลังเป็นช่วงฤดูหนาวที่มีขนาดเล็กแต่ในอดีตนั้นค่อนข้างสำคัญ

เหตุการณ์ล่าสุด การระเบิดของภูเขาไฟปินาตูโบ พ.ศ. 2534 ภูเขาไฟประเภทกรวยสลับชั้นในประเทศฟิลิปปินส์ทำให้โลกมีอุณหภูมิลดลง 2–3 ปี[3]

การระเบิดของภูเขาไฟกรากะตัว พ.ศ. 2426 ทำให้เกิดสภาพคล้ายฤดูหนาวจากภูเขาไฟ 4 ปีหลังการระเบิดทำให้เกิดความเย็นที่ผิดปกติและพายุหิมะที่รุนแรง [4]

การปะทุของภูเขาไฟตัมโบรา พ.ศ. 2358 ภูเขาไฟประเภทกรวยสลับชั้นในประเทศอินโดนีเซีย ทำให้เกิดน้ำค้างแข็งกลางฤดูร้อนในรัฐนิวยอร์กและทำให้เกิดหิมะตกในนิวอิงแลนด์และรัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ถูกเรียกว่า "ปีไร้ฤดูร้อน"

กระดาษที่เขียนโดยเบนจามิน แฟรงคลินใน พ.ศ. 2326[5] ได้เขียนถึงความหนาวในหน้าร้อนของปี 2326 ซึ่งเกิดจากฝุ่นภูเขาไฟจากภูเขาไฟลาไคในไอซ์แลนด์ซึ่งได้ปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์จำนวนมากส่งผลให้ปศุสัตว์บนเกาะตาย, เกิดทุพภิกขภัยจนทำให้ชาวไอซ์แลนด์ 1 ใน 4 ต้องตายลง, ซีกโลกเหนืออุณหภูมิลดลงประมาณ 1 °C ในปีที่ปะทุ แต่ถึงอย่างนั้นข้อเสนอของเบนจามิน แฟรงคลินนั้นได้รับการตั้งคำถามว่าอาจจะผิด[6]

การระเบิดของภูเขาไฟฮวายนาปูตินาในเปรู พ.ศ. 2143 จากการศึกษาวงปีต้นไม้แสดงให้เห็นว่า พ.ศ. 2143 นั้นมีอากาศเย็น, ทำให้เกิดทุพภิกขภัยในรัสเซียในปี 2144–2146 และตั้งแต่ พ.ศ. 2143 ถึง 2145 สวิตเซอร์แลนด์, ลัตเวียและเอสโตเนียต้องเผชิญกับฤดูหนาวที่มีอากาศหนาวจัด พ.ศ. 2144 การผลิตไวน์ในฝรั่งเศสล้าช้าส่วนในเปรูและเยอรมนีการผลิตไวน์ก็ทรุดตังลง ต้นท้อในจีนบานช้าและทะเลสาบซุวะในญี่ปุ่นก็แข็งตัว[7]

พ.ศ. 1995 หรือ พ.ศ. 1996 การประทุของภูเขาไฟใต้ทะเลคูเว (Kuwae) ทำให้เกิดยุดน้ำแข็งขนาดเล็ก

ทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ใน พ.ศ. 1858–1860 ในทวีปยุโรปอาจเป็นผลมาจากเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิด[8] คาดว่าน่าจะเป็นภูเขาไฟทาราวีราในประเทศนิวซีแลนด์ซึ่งมีผลประมาณ 5 ปี[9]

เหตุการณ์ลมฟ้าอากาศสุดโต่งใน พ.ศ. 1078–1079 มีแนวโน้มว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับเหตุภูเขาไฟระเบิดคำอธิบายทางด้านทฤษฎีล่าสุดคือการระเบิดของเตเอรา บลานกา โคเบน (Tierra Blanca Joven) ในภาคกลางของเอลซัลวาดอร์[10]

หนึ่งในฤดูหนาวจากภูเขาไฟที่สำคํญครั้งหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 71,000–73,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นเหตุการระเบิดของซูเปอร์ภูเขาไฟโตบาบนเกาะสุมาตราในอินโดนีเซียหลังการระเบิด 6 ปีมีการปล่อยปริมาณกำมะถันสูงสุดในช่วง 110,000 ปี และยังทำให้ป่าไม้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกทำลายและอุณหภูมิของโลกลดลง 1 °C[11] นักวิทยาศาสตร์บางคนตั้งสมมติฐานว่าการปะทุครั้งนี้อาจส่งผลให้เร่งการเกิดธารน้ำแข็งซึ่งเพิ่มความหนาวเย็นภายในทวีป ความหนาวเย็นนี้ทำให้จำนวนประชากรมนุษย์และสัตว์ลดลงจำนวนมาก แต่มีบางกลุ่มโต้แย้งว่าการระเบิดของภูเขาไฟนั้นสั้นและไม่อาจทำให้ประชากรมนุษย์ช่วงแรก ๆ ลดลงได้[11]

นี้รวมถึงเหตุการ์ณการลดลงอย่างรวดเร็วของประชากรในช่วงเวลาเดี่ยวกันหรือก็คือคอคอดประชากรซึ่งน่าจะเกี่ยวข้องกับฤดูหนาวจากภูเขาไฟ (ดูเพิ่ม ทฤษฎีมหันตภัยโตบา) โดยเฉลี่ยการระเบิดอย่างรุนแรงของซูเปอร์ภูเขาไฟจะมีมวลการปะทุอย่างน้อย 1015 กิโลกรัม (มวลการปะทุของโตบา = 6.9 × 1015 kg) เกิดขึ้นทุกๆ 1 ล้านปี[12]

อย่างไรก็ตามใน พ.ศ. 2556 นักโบราณคดีค้นพบชั้นจุลภาคของขี้เถ้าภูเขาไฟในตะกอนของทะเลสาบมาลาวีซึ่งเชื่อมโยงกับเถ้าของการระเบิดของภูเขาไฟโตบาเมื่อ 75,000 ปีก่อน และยังได้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของซากฟอสซิลใกล้กับชั้นขี้เถ้าซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดขึ้นหลังฤดูหนาวภูเขาไฟที่รุนแรง ซึ่งผลที่ได้นี้ทำให้นักโบราณคดีสรุปว่าการปะทุของภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ไม่เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของแอฟริกาตะวันออกสักเท่าไหร่[13][14]

อ้างอิง แก้

  1. Robock, Alan (2000). "Volcanic eruptions and climate". Reviews of geophysics 38 (2) : 191–219. doi:10.1029/1998RG000054
  2. Santer, Benjamin D et al. (2014). "Volcanic contribution to decadal changes in tropospheric temperature". Nature Geoscience 7, 185–189. doi:10.1038/ngeo2098
  3. Brohan, P., J.J. Kennedy, I. Haris, S.F.B. Tett and P.D. Jones (2006). "Uncertainty estimates in regional and global observed temperature changes: a new dataset from 1850". Journal of Geophysical Research. 111: D12106. Bibcode:2006JGRD..11112106B. CiteSeerX 10.1.1.184.4382. doi:10.1029/2005JD006548.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. University of Minnesota. "With a Bang: Not a Whimper" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-06-22.
  5. James Hansen (January 1997). "Pinatubo Climate Investigation". NASA Goddard Institute for Space Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-18. สืบค้นเมื่อ 2018-04-09.
  6. Funkhouser, David. "Maybe Ben Franklin was wrong". State of the Planet. Earth Institute, Columbia University. สืบค้นเมื่อ 10 December 2016.
  7. University of California – Davis (April 25, 2008). "Volcanic Eruption of 1600 Caused Global Disruption". ScienceDaily.
  8. Cantor, Norman L. (2001). In the wake of the plague: the Black Death and the world it made. New York: Free Press. p. 74. ISBN 0-684-85735-9.
  9. Nairn I.A.; Shane P.R.; Cole J.W.; Leonard G.J.; Self S.; Pearson N. (2004). "Rhyolite magma processes of the ~AD 1315 Kaharoa eruption episode, Tarawera volcano, New Zealand". Journal of Volcanology and Geothermal Research. 131 (3–4): 265–94. Bibcode:2004JVGR..131..265N. doi:10.1016/S0377-0273(03)00381-0.
    Hodgson K.A.; Nairn I.A. (September 2005). "The c. AD 1315 syn-eruption and AD 1904 post-eruption breakout floods from Lake Tarawera, Haroharo caldera, North Island, New Zealand". New Zealand Journal of Geology and Geophysics. 48 (3): 491. doi:10.1080/00288306.2005.9515128.
  10. Dull, R., J.R. Southon, S. Kutterolf, A. Freundt, D. Wahl, P. Sheets; Southon; Kutterolf; Freundt; Wahl; Sheets (13–17 December 2010). "Did the TBJ Ilopango eruption cause the AD 536 event?". AGU Fall Meeting Abstracts. 13: 2370. Bibcode:2010AGUFM.V13C2370D.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. 11.0 11.1 Oppenheimer C. (2003). "Limited global change due to the largest known Quaternary eruption, Toba ~ 74 Kyr BP". Quaternary Science Reviews. 21 (14–15): 1593–609. Bibcode:2002QSRv...21.1593O. doi:10.1016/S0277-3791(01)00154-8.
  12. Mason B.G.; Pyle D.M.; Oppenheimer C. (2004). "The size and frequency of the largest explosive eruptions on Earth". Bulletin of Volcanology. 66 (8): 735–48. Bibcode:2004BVol...66..735M. doi:10.1007/s00445-004-0355-9.
  13. "Doubt over 'volcanic winter' after Toba super-eruption. 2013". Phys.org. 2013-05-02. สืบค้นเมื่อ 2013-08-05.
  14. http://www.pnas.org/content/early/2013/04/24/1301474110.full.pdf+html

อ่านเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้