ภูเขาไฟกรากะตัว

กรากาตัว (อังกฤษ: Krakatoa) หรือ กรากาเตา (อินโดนีเซีย: Krakatau) เป็นชื่อภูเขาไฟที่ตั้งอยู่บนเกาะชื่อเดียวกัน การระเบิดครั้งใหญ่ของภูเขาไฟลูกนี้ก่อให้เกิดความหายนะครั้งใหญ่ในประเทศอินโดนีเซีย และเหตุการณ์นี้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก

ภูเขาไฟกรากะตัว
Krakatoa, Krakatau
จุดสูงสุด
ความสูง
ส่วนยื่นจากฐาน
813 เมตร (2,667 ฟุต)
รายชื่อSpesial Ribu
พิกัด6°06′07″S 105°25′23″E / 6.102°S 105.423°E / -6.102; 105.423
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ภูเขาไฟกรากะตัวตั้งอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย
ภูเขาไฟกรากะตัว
ภูเขาไฟกรากะตัว
ที่ตั้งในอินโดนีเซีย
ที่ตั้งประเทศอินโดนีเซีย
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
ประเภทภูเขาแอ่งยุบปากปล่อง
การปะทุครั้งล่าสุด2020
ภูเขาไฟกรากาตัวระหว่างการปะทุในปี ค.ศ. 2008
การเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่รอบเกาะกรากาตัว

ประวัติ

แก้

ในอดีตพื้นที่ระหว่างเกาะชวากับเกาะสุมาตราเป็นทะเล ต่อมา เมื่อประมาณ 1,000,000 ปีก่อน เปลือกโลกบริเวณนี้ได้แยกตัวออก ส่งผลให้แมกมาและธาตุภูเขาไฟจำนวนมากถูกพ่นออกมา และต่อมาแมกมาก็เย็นลงจับตัวกันเป็นภูเขาใต้น้ำ หลายหมื่นปีต่อมา ธาตุภูเขาไฟเริ่มเย็นตัวลง และจับตัวแข็งอยู่ใต้ทะเลเหนือภูเขาใต้น้ำเหล่านั้น และก็เกิดการทับถมอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นเกาะพ้นน้ำขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับเกาะชวากับเกาะสุมาตรา คาดกันว่าภูเขาไฟในยุคนั้นระเบิดออกอย่างรุนแรงจนเกือบจะหายไปทั้งเกาะ โดยส่วนของเกาะที่เหลืออยู่ปัจจุบันเรียกว่า เกาะลัง และเกาะเวอร์ลาเต็น ซึ่งเป็นเกาะที่เรียงรายอยู่รอบ ๆ ภูเขาไฟ อานัก กรากาตัวในปัจจุบันนั่นเอง ภูเขาไฟกรากะตัวในยุคนั้นมักจะเรียกขานกันว่า กรากะตัวโบราณ (ภาษาอังกฤษ : Ancient Krakatoa)[1] โดยหลังจากเหตุการณ์ในยุคนั้นไป ก็มีการประทุของภูเขาไฟบริเวณนี้อีกเป็นครั้งที่สอง โดยครั้งนี้มีภูเขาไฟผุดขึ้นมาจากน้ำถึงสามลูก ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของเกาะภูเขาไฟที่กำลังจะทำให้เกิดการระเบิดครั้งสำคัญในปี ค.ศ. 1883

เกาะกรากาตัวในยุคต่อมา เป็นเกาะที่มีแนวเส้นภูเขาไฟพาดผ่านใจกลางเกาะ มีปล่องภูเขาไฟอยู่ด้วยกันบนเกาะรวมทั้งสิ้น 3 ปล่อง คือ ระกาตา อยู่ทิศใต้สุดของเกาะ, ดานัน อยู่กลางเกาะ และเพอร์โบอิวาตัน (เพอร์บัวตัน) อยู่ทางทิศเหนือของเกาะ ระกาตาเป็นปล่องภูเขาไฟที่สูงที่สุดบนเกาะ โดยมีความสูง 820 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง หินภูเขาไฟและธาตุภูเขาไฟที่ให้เป็นเกาะที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะต่อการเกษตรกรรม เกาะแห่งนี้เริ่มมีมนุษย์มาตั้งถิ่นฐานอยู่เมื่อประมาณ3000ปีก่อนคริสตกาล มนุษย์กลุ่มแรกๆคือเกษตรกรที่มาทดลองถางป่าที่เกาะนี้เพื่อปลูกข้าวและพืชผลอื่น ๆ แล้วได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงตั้งรกรากอาศัยอยู่บนเกาะ เกาะนี้อยู่ไม่ไกลจากเกาะสุมาตรา ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ทางตะวันตกของอินโดนีเซีย ทำให้มีผู้คนมาตั้งรกรากมากขึ้น จนเกาะแห่งนี้กลายเป็นเมืองแห่งหนึ่ง

ภูเขาไฟบนเกาะกรากาตัวได้มีการระเบิดเล็ก ๆ น้อย ๆ หลายครั้ง แต่การระเบิดได้พ่นแร่ธาตุออกมาทำให้เกาะอุดมสมบูรณ์ขึ้น ชาวบ้านจึงไม่ได้ตระหนักถึงภัยอันตรายของภูเขาไฟระเบิด การระเบิดครั้งสุดท้ายก่อนจะเกิดการระเบิดครั้งใหญ่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2224 (ค.ศ. 1681) [2]หลังจากนั้น เกาะกรากาตัวก็สงบไปนานกว่า 200 ปี

การระเบิดครั้งรุนแรงเมื่อ ค.ศ. 1883

แก้

วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) พลังงานและแรงดันมหาศาลใต้เกาะภูเขาไฟกรากาตัวทำให้ภูเขาไฟเกิดการประทุขึ้นครั้งแรกในรอบ 200 ปี จากบันทึกของผู้ที่เห็นเหตุการณ์ บอกว่า การประทุครั้งนั้นมีเพียงปล่องเพอร์โบอิวาตันเท่านั้นที่ระเบิดและปล่อยขี้เถ้าออกมา แต่อย่างไรก็ตาม การระเบิดได้ทำให้เกิดเป็นเสียงระเบิดดังรุนแรง และได้เกิดคลื่น Shockwave ซึ่งเมืองเคทิมบังที่อยู่ห่างเกาะภูเขาไฟไปประมาณ 23 ไมล์ก็รู้สึกได้ถึงคลื่นนี้ เถ้าถ่านควันไฟอีกจำนวนมากถูกพ่นออกมา ผู้คนที่อยู่บนเกาะต่างประหลาดใจมากที่เห็นภูเขาไฟที่เงียบสงบมานานเกิดระเบิดขึ้น แต่ต่อมาเหตุการณ์นี้ค่อยๆสงบลง และหลังจากนั้นภูเขาไฟก็มีการระเบิดเล็กๆน้อยๆหลายครั้ง[3]

วันที่ 26 สิงหาคม ภูเขาไฟทั้งสามปล่องบนเกาะกรากะตัวได้เกิดระเบิดขึ้นอย่างรุนแรง ส่งผลให้เกาะสั่นสะเทือน เถ้าถ่านฝุ่นควันปลิวไปทั่วท้องฟ้า เกิดระเบิดขนาดกลางมาอีกหลายครั้ง ชาวบ้านต่างเกิดความหวาดกลัว ในคืนนั้น แม้ผู้ที่กำลังอยู่ในเรือที่อยู่ห่างจากกรากาตัวถึง 16 กิโลเมตรก็ยังเห็นการระเบิดอย่างชัดเจน และรู้สึกได้ว่าน้ำทะเลรอบเรือร้อนขึ้นมาก การระเบิดดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ผู้คนเริ่มล่องเรืออพยพไปจากเกาะ ส่วนผู้ที่เลือกจะอยู่ในเกาะก็พยายามหาที่กำบังให้ปลอดภัยที่สุด โดยที่ไม่มีใครรู้เลยว่า การระเบิดที่แท้จริงยังมาไม่ถึง

วันที่ 27 สิงหาคม เป็นวันที่เกาะกรากะตัวนั้นได้เกิดระเบิดครั้งใหญ่ที่สุด แรงระเบิดนั้นคร่าชีวิตทุกคนที่ยังอยู่บนเกาะ โดยภูเขาไฟบนเกาะได้ระเบิดอย่างรุนแรงต่อเนื่องรวมทั้งสิ้น 4 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเวลา 5:30 น. ครั้งที่สองเมื่อ 6:44 น. ซึ่งเป็นครั้งที่ทำให้เกิดสึนามิสูงกว่า 30 เมตร ครั้งที่สามเมื่อเวลา 10:02 น. ทำให้เกิดเสียงระเบิดที่ดังที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยได้ยินมา และครั้งสุดท้ายเมื่อเวลา 10:45 น. ในเหตุการณ์ครั้งนี้ พื้นที่ร้อยละ 65.52 ของเกาะกลายเป็นเถ้าธุลีลอยสูงขึ้นไปถึง 80 กิโลเมตร ในรัศมี 240 กิโลเมตรจากเกาะถูกเถ้าธุลีเหล่านั้นบดบังแสงอาทิตย์จนมืดมิดคล้ายตอนกลางคืน เสียงระเบิดดังกึกก้องมาก จนเมืองปัตตาเวียที่อยู่ห่างจากกรากาตัวถึง 150 กิโลเมตร ผู้คนยังต้องเอามืออุดหูกันเสียงระเบิด และผู้คนที่อาศัยบนเกาะโรดริเกซซึ่งอยู่ห่างจากกรากาตัวถึง 4,776 กิโลเมตรก็ได้ยินเช่นเดียวกัน แรงแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นตรวจจับได้แม้แต่ที่สหราชอาณาจักร รวมแล้วมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ประมาณ 36,000 คน[4] หลังจากการระเบิดครั้งสุดท้าย เกาะภูเขาไฟได้ถล่มลงไปในบ่อแม็กม่าที่ว่างเปล่า ทำให้เกาะเหลือพื้นที่เพียง 1 ใน 3 จากพื้นที่เดิมเท่านั้น ปล่องเพอร์โบอิวาตันกับปล่องดานันถูกทำลายลงและจมลงไปในทะเลทั้งหมด สิ่งที่เหลือคือ ปล่องภูเขาไฟระกาตาที่ถูกทำลายไปแล้วครึ่งหนึ่ง และเกาะลัง กับ เกาะเวอร์ลาเต็นที่เคยล้อมรอบเกาะภูเขาไฟเท่านั้น

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Volcanoes of Indonesia". Global Volcanism Program. Smithsonian Institution. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-19. สืบค้นเมื่อ 25 March 2007.
  2. Note: Vogel returned to Amsterdam in 1688 and published the first edition of his journal in 1690.
  3. Winchester 2003, p. 154–166.
  4. name="The Independent, May 3, 2006"

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้