ร่างตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

ร่างตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Bill of Human Rights) เป็นชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการของข้อมติหนึ่งของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และสนธิสัญญาระหว่างประเทศอีกสองฉบับซึ่งบัญญัติขึ้นโดยสหประชาชาติ ประกอบด้วยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR, ผ่านมติรับใน ค.ศ. 1948), กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ค.ศ. 1966) และพิธีสารเลือกรับสองฉบับ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ค.ศ. 1966) กติกาทั้งสองมีผลใช้บังคับใน ค.ศ. 1976 หลังมีประเทศให้สัตยาบันมากในระดับหนึ่งแล้ว

ในตอนเริ่มต้น มีการแสดงความคิดเห็นหลายมุมมองว่ารูปร่างของตราสารสิทธิจะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นอย่างไร ใน ค.ศ. 1948 สมัชชาใหญ่วางแผนให้ตราสารรวมไปถึง UDHR, กติกาหนึ่งและมาตรการการนำไปปฏิบัติ[1] คณะกรรมาธิการร่างตัดสินใจเตรียมเอกสารสองฉบับ ฉบับหนึ่งในรูปปฏิญญา ซึ่งจะระบุหลักการทั่วไปหรือมาตรการของสิทธิมนุษยชน ส่วนอีกฉบับหนึ่งในรูปอนุสัญญา ซึ่งจะนิยามสิทธิและข้อจำกัดของสิทธิเฉพาะ ดังนั้น คณะกรรมการธิการได้ส่งต่อให้คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนร่างมาตราของปฏิญญาระหว่างประเทศและอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ในสมัยประชุมที่สอง ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1947 คณะกรรมาธิการได้ตัดสินใจใช้คำว่า "ตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ" กับชุดของตราสารที่กำลังเตรียมนี้ และจัดตั้งคณะทำงานสามคณะ คณะหนึ่งทำงานเกี่ยวกับปฏิญญา คณะหนึ่งเกี่ยวกับอนุสัญญา (ต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น "กติกา") และอีกคณะหนึ่งเกี่ยวกับการนำไปปฏิบัติ คณะกรรมาธิการทบทวนปฏิญญาฉบับร่างในสมัยประชุมที่สาม ในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ค.ศ. 1948 โดยนำข้อคิดเห็นที่ได้รับจากรัฐบาลต่าง ๆ ไปพิจารณาด้วย อย่างไรก็ดี คณะกรรมาธิการไม่มีเวลาพอจะพิจารณากติกาและคำถามของการนำไปปฏิบัติ ดังนั้น ปฏิญญาจึงถูกเสนอผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติไปยังสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ซึ่งประชุมในกรุงปารีส

ภายหลัง ร่างกติกาถูกแบ่งออกเป็นสองฉบับ (ตามการตัดสินใจของสมัชชาใหญ่ใน ค.ศ. 1952[2]) โดยมีความแตกต่างกันทั้งหมวดหมู่ของสิทธิและระดับข้อผูกมัด

อ้างอิง แก้

  1. See F[ลิงก์เสีย]
  2. "UN GA resolution A/RES/543(VI)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-09-21. สืบค้นเมื่อ 2011-10-07.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้