รายพระนามพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีความผิดปกติทางจิต

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย

นี้คือรายพระนามพระมหากษัตริย์ซึ่งนักประวัติศาสตร์ถือว่า เสียพระจริตในบางลักษณะ

ภาพ พระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ที่ 2 วาดโดยวิลเลียม เบลก บรรยายถึงสภาพอาการวิปลาสของพระองค์ ทรงเสียพระจริตและมีสภาพความเป็นอยู่แบบสัตว์เดรัจฉานเป็นเวลา 7 ปี

ในหลาย ๆ กรณี เป็นเรื่องยากที่จะชี้ชัดว่า พระมหากษัตริย์ในอดีตพระองค์นั้น ๆ ทรงมีความผิดปกติทรงจิตจริงหรือไม่ เพราะพระองค์อาจเพียงมีพระจริยาวัตรนอกลู่นอกทาง หรือมีพระโรคทางพระกาย หรือนักประวัติศาสตร์เพียงรังเกียจเดียดฉันท์พระองค์

สมัยโบราณ แก้

พระนามและเสวยราชย์ พระราชสมภพ สวรรคต หมายเหตุ
พระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ที่ 2 แห่งบาบิโลน
(Nebuchadnezzar II of Babylon)

605 ปีก่อนคริสตกาล - 562 ปีก่อนคริสตกาล
  ราว 634 ปีก่อนคริสตกาล 562 ปีก่อนคริสตกาล
พระชนมายุราว 72 พรรษา
ทรงเสียพระจริตและมีสภาพความเป็นอยู่แบบสัตว์เดรัจฉานเป็นเวลา 7 ปี
พระเจ้าฮันติลีที่ 1 แห่งฮิตไทต์
(Hantili I of Hittites)

ไม่ปรากฏปีที่ครองราชย์
  ไม่ปรากฏหลักฐาน ไม่ปรากฏหลักฐาน มีพระอาการทางจิตที่หวาดระแวง

จักรพรรดิโรมัน แก้

พระนามและเสวยราชย์ พระราชสมภพ สวรรคต หมายเหตุ
จักรพรรดิคาลิกูลา
(Caligula)

ค.ศ. 37 - ค.ศ. 41
  31 สิงหาคม ค.ศ. 12 22 มกราคม ค.ศ. 41
พระชนมายุ 28 พรรษา
นักประวัติศาสตร์ โจซีฟัสบันทึกอาการผิดปกติทางจิตของพระองค์ว่า พระราชอำนาจทำให้พระองค์เย่อหยิ่งและทรงคิดว่าพระองค์เองคือพระเจ้า[1]
จักรพรรดิจัสตินที่ 2
(Justin II)

ค.ศ. 565 - ค.ศ. 578
  ราวค.ศ. 520 5 ตุลาคม ค.ศ. 578
พระชนมายุราว 58 พรรษา
นักประวัติศาสตร์ จอห์นแห่งอีฟีซุสบันทึกอาการผิดปกติทางจิตของพระองค์ว่า ทรงถูกดึงไปตามพระราชวังด้วยราชบัลลังก์ที่ติดล้อและทรงเข้ากัดผู้ร่วมประชุมขณะที่ทรงเสด็จผ่าน ทรงสั่งให้เล่นดนตรีอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งพระราชวังเพื่อปลอบพระทัยที่บ้าคลั่งของพระองค์[2]

คอลีฟะห์อิสลาม แก้

พระนามและเสวยราชย์ พระราชสมภพ สวรรคต หมายเหตุ
คอลีฟะห์แห่งราชวงศ์ฟาติมียะห์,
อัล-ฮะกิม บิ-อะมีร์ อัลละห์
(Al-Hakim bi-Amr Allah)

13 ตุลาคม ค.ศ. 996 - 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1021
  ค.ศ. 985 ค.ศ. 1021
พระชนมายุ 36 พรรษา
ทรงเป็นที่รู้จักในยุโรปในฐานะ คอลีฟะห์ผู้วิปลาส (the Mad Caliph) ตามคำบรรยายของฮันท์ จานิน นักประวัติศาสตร์ ได้กล่าวว่าทรงมีความโหดร้ายและบุคลิกที่แปลกจากปกติ[3] โดยศัตรูของพระองค์มักจะเรียกพระองค์ว่า คอลีฟะห์ผู้วิปลาส ซึ่งถือว่าเป็นอคติที่มีต่อพระองค์ในมุมมองของนักประวัติศาสตร์บางคนและวรรณกรรมตะวันตกบางชิ้น โดยในทางหนึ่งทรงเป็นที่ยกย่องจากการที่ทรงทำให้ไคโรเป็นศูนย์กลางอารยธรรม[4]
คอลีฟะห์แห่งจักรวรรดิออตโตมัน,
สุลต่านอิบราฮิม
(Sultan Ibrahim)

9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1640 - 18 สิงหาคม ค.ศ. 1648
  5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1615 18 สิงหาคม ค.ศ. 1648
พระชนมายุ 33 พรรษา
ทรงเป็นที่รู้จักในฐานะ อิบราฮิมผู้วิปลาส (Deli Ibrahim หรือ Mad Ibrahim) โดยนักประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 20 จากพระอาการทางจิตของพระองค์[5] มีพระอาการทางจิตที่แปรปรวนและทรงเป็นหนึ่งในสุลต่านที่มีความโหดเหี้ยม ในรัชกาลทรงใช้เวลาในการสร้าง "ฮาเร็มแห่งความบริสุทธิ์" เพื่อตอบสนองความต้องการทางเพศของพระองค์ แต่เมื่อทรงรู้ว่าหนึ่งในนางฮาเร็มทรยศพระองค์ จึงทรงจับนางในฮาเร็ม 280 คนโยนลงทะเลสาบและปล่อยให้จมน้ำตาย[6] ครั้งหนึ่งทรงพิโรธของหึงหวงของพระมเหสีจึงทรงโยนพระราชโอรสลงในสระน้ำ แต่มีคนรับใช้ช่วยได้ทัน พระราชโอรสจึงรอดชีวิตและต่อมาทรงครองราชย์เป็น สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 4 หลังจากที่พระราชบิดาถูกยึดพระราชอำนาจและถูกปลงพระชนม์ตามพระราชเสาวนีย์ของโคเซม สุลต่านพระอัยยิกา(พระราชมารดาในสุลต่านอิบราฮิม) การกระทำของพระราชบิดาทำให้ทรงมีรอยแผลเป็นบนหน้าผากตลอดพระชนม์ชีพ[7]
คอลีฟะห์แห่งจักรวรรดิออตโตมัน,
สุลต่านมูรัดที่ 5
(Sultan Murad V)

30 พฤษภาคม ค.ศ. 1876 - 31 สิงหาคม ค.ศ. 1876
  21 กันยายน ค.ศ. 1840 29 สิงหาคม ค.ศ. 1904
พระชนมายุ 63 พรรษา
ทรงเป็นสุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมันเพียง 93 วัน ก็ทรงถูกปลดออกจากราชบัลลังก์ซึ่งทรงถูกสงสัยว่ามีความผิดปกติทางจิต อย่างไรก็ตามฝ่ายตรงข้ามของพระองค์ได้ใช้โอกาสนี้ในการหยุดการดำเนินการปฏิรูปประชาธิปไตยของพระองค์[8] เป็นผลให้พระองค์ไม่สามารถพระราชทานรัฐธรรมนูญตามที่ฝ่ายสนับสนุนพระองค์ต้องการได้

พระมหากษัตริย์ยุโรป แก้

พระนามและเสวยราชย์ พระราชสมภพ สวรรคต หมายเหตุ
พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศส
(King Charles VI of France)

16 กันยายน ค.ศ. 1380 - 21 ตุลาคม ค.ศ. 1422
  3 ธันวาคม ค.ศ. 1368 21 ตุลาคม ค.ศ. 1422
พระชนมายุ 53 พรรษา
ทรงเป็นที่รู้จักในฐานะ ชาร์ลส์ผู้เสียสติ (le Fol or le Fou หรือ the Mad)[9]ในระหว่างสงครามทรงเชื่อว่าพระวรกายของพระองค์ทำมาจากแก้วและทรงปฏิเสธว่าพระองค์เองมีพระมเหสีและพระราชบุตรแล้ว[10] นอกจากนี้ทรงทำร้ายคนรับใช้และทรงวิ่งจนหมดกำลังโดยทรงโอดครวญว่าทรงถูกคุมคามโดยศัตรู ถึงแม้ว่าจะมีพระสติบ้างแต่ไม่ทรงสามารถที่จะมีสมาธิในการตัดสินพระทัยทางการเมืองได้และพระราชอำนาจของพระองค์ได้สูญเสียไปให้แก่เจ้าชายสืบสายพระโลหิต ทำให้ฝรั่งเศสมีแต่ความวุ่นวายและความขัดแย้ง ความวิปลาสของพระองค์ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองของกลุ่มอำนาจต่างๆ
พระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งอังกฤษ
(King Henry VI of England)[11]

ครั้งที่ 1, 31 สิงหาคม ค.ศ. 1422 - 4 มีนาคม ค.ศ. 1461
ครั้งที่ 2, 30 ตุลาคม ค.ศ. 1470 - 11 เมษายน ค.ศ. 1471
  6 ธันวาคม ค.ศ. 1421 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1471
พระชนมายุ 49 พรรษา
พระองค์ทรงมีความเจ็บป่วยทางอารมณ์และจิตใจและกลายเป็นไม่ทรงรู้ถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นรอบๆพระองค์อย่างสมบูรณ์ แม้ว่ามีการประสูติของเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดพระราชโอรสและองค์รัชทายาทก็ไม่สามารถให้พระอาการทุเลาได้ พระเจ้าเฮนรีทรงได้รับการถ่ายทอดความวิปลาสทางพันธุกรรมมาจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 6 แห่งฝรั่งเศส พระอัยกาฝ่ายพระชนนี พระองค์ทรงถูกจองจำในหอคอยแห่งลอนดอนและเสด็จสวรรคตจากความเศร้าเมื่อทรงทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระโอรสที่ทรงรบในยุทธการที่ทูกสบรี[12] แต่ในความเป็นจริงทรงถูกปลงพระชนม์[13]
สมเด็จพระราชินีนาถฮวนนาแห่งคาสตีล, ลีออนและอารากอน
(Queen Joanna of Castile, León and Aragon)

ในคาสตีลและลีออน, 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1504 - 12 เมษายน ค.ศ. 1555
ในอารากอน, 23 เมษายน ค.ศ. 1516 - 12 เมษายน ค.ศ. 1555
  6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1479 12 เมษายน ค.ศ. 1555
พระชนมายุ 75 พรรษา
ทรงเป็นที่รู้จักในฐานะ ฮวนนาผู้วิปลาส (Juana La Loca หรือ Joanna the Mad) ทรงครองราชบัลลังก์คาสตีลมาเป็นเวลา 50 ปี ด้วยพระสติวิปลาสเกือบตลอดรัชกาลหลังจากพระเจ้าเฟลีเปที่ 1 แห่งคาสตีล พระสวามีเสด็จสวรรคต พระองค์ไม่ทรงยอมให้ฝังพระศพของพระสวามีและทรงนำโลงพระศพของพระสวามีตามเสด็จไปในทุกที่ของสเปน พระองค์ทรงถูกกักพระองค์ไว้จวบจนวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพ ยังมีการอภิปรายถึงว่าพระองค์ทรงถูกคุมขังโดยผู้ที่ต้องการควบคุมพระราชอำนาจของพระองค์
พระเจ้าซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซีย
(Tsar Ivan IV of Russia)

16 มกราคม ค.ศ. 1547 - 28 มีนาคม ค.ศ. 1584
  25 สิงหาคม ค.ศ. 1530 28 มีนาคม ค.ศ. 1584
พระชนมายุ 53 พรรษา
ทรงเป็นที่รู้จักในฐานะ อีวานผู้โหดร้าย นักประวัติศาสตร์ได้มีการเสนอถึงพระบุคลิกที่แตกต่างและซับซ้อนของพระเจ้าซาร์อีวานที่ 4 ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้มีความเฉลียวฉลาดและมีศรัทธา แต่พระอารมณ์แปรปรวนและโกรธเกรี้ยวมีแน้วโน้มที่เกิดจากความผิดปกติทางจิต พระองค์ทรงทรมานและสังหารพระมเหสีและทรงทำร้าย ซาเรวิชอีวาน อีวาโนวิช พระโอรสและองค์รัชทายาทของพระองค์เองจนสิ้นพระชนม์ ซึ่งต่อมาทรงเสียพระทัยมาก การสิ้นพระชนม์ขององค์รัชทายาททำให้ราชบัลลังก์เปลี่ยนผ่านไปยัง ซาร์เฟโอดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย พระโอรสองค์สุดท้อง ผู้ทรงอ่อนแอและมีความพิการทางสติปัญญา[14] ในรัชกาลของพระองค์แม้ว่าจะทรงปกครองอย่างโหดเหี้ยมแต่พระองค์ทรงวางรากฐานการปกครองด้วยการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง และพยายามทำให้รัสเซียเจริญก้าวหน้าด้วยการแสวงหาความเป็นตะวันตกให้แก่รัสเซีย
พระเจ้าซาร์เฟโอดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย
(Tsar Feodor I of Russia)

28 มีนาคม ค.ศ. 1584 - 16/17 มกราคม ค.ศ. 1598
  31 พฤษภาคม ค.ศ. 1557 16/17 มกราคม ค.ศ. 1598
พระชนมายุ 40 พรรษา
พระราชโอรสในพระเจ้าซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซีย ทรงเป็นที่โจษจันถึงพระสติที่วิปลาสและทรงเป็นที่รู้จักในฐานะ เฟโอดอร์ผู้สั่นระฆัง (Feodor the Bellringer) ทรงเสด็จไปยังที่ต่างๆด้วยศรัทธาอย่างแรงกล้าโดยการสั่นระฆังทั่วทุกโบสถ์ในรัสเซีย พระองค์ไม่สามารถปกครองได้จึงมอบภาระการบริหารราชการแผ่นดินทั้งหมดไปให้พระเทวัญ (พี่เขย) คือ บอริส โกดูนอฟซึ่งพระองค์ทรงเคารพและไว้วางพระราชหฤทัย[15] และต่อมาเขาได้ประกาศตนเป็นพระเจ้าซาร์หลังการสวรรคตของพระเจ้าซาร์เฟโอดอร์ซึ่งไร้รัชทายาทและนำไปสู่สมัยแห่งความวุ่นวาย
จักรพรรดิรูดอล์ฟที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
(Rudolf II, Holy Roman Emperor)

12 ตุลาคม ค.ศ. 1576 - 20 มกราคม ค.ศ. 1612
  18 กรกฎาคม ค.ศ. 1552 20 มกราคม ค.ศ. 1612
พระชนมายุ 59 พรรษา
พระอาการวิปลาสของพระองค์ปรากฏในรูปแบบของภาวะซึมเศร้า ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของพระราชวงศ์สายฮับส์บูร์ก และนับวันพระอาการก็ยิ่งเลวร้ายเมื่อมีพระชนมายุมากขึ้นและทำให้ทรงถอนตัวพระองค์เองออกจากโลกและกิจการราชการต่างๆ และนำไปสู่การประชวรด้วยโรคจิตเภท ทรงปฏิเสธที่จะสรงน้ำและทรงประทับท่ามกลางความสกปรกและสาเหตุของการเสด็จสวรรคตนั้นมาจากแผลที่เปื่อยฉีกขาด[16] ในรัชกาลพระองค์ทรงเป็นผู้นำผู้ไม่มีประสิทธิภาพที่ความพลาดพลั้งนำไปสู่สงครามสามสิบปี[17] แต่ก็ทรงเป็นผู้นิยมศิลปะการเล่นแร่แปรธาตุและการศึกษาที่ช่วยปูทางไปสู่การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ต่อมา

อ้างอิง แก้

  1. Josephus, Antiquities of the Jews XVIII.7.2.
  2. John of Ephesus, Ecclesiastical History, Part 3, Book 3
  3. Hunt Janin (2005). The Pursuit of Learning in the Islamic World, 610-2003. McFarland & Company Inc.
  4. Willi Frischauer (1970). The Aga Khans. Bodley Head. p. ?. (Which page?)
  5. Lucienne Thys-Senocak, Ottoman Women Builders. Aldershot: Ashgate, 2006. Page 24
  6. History's 10 Most Insane Monarchs
  7. Thys-Senocak, p.25.
  8. Palmer, Alan. The Decline and Fall of the Ottoman Empire, 1992. Page 141-143.
  9. Tuchman, Barbara (1978). A Distant Mirror. New York: Ballentine Books. pp. 514–516. ISBN 0-345-30145-5.
  10. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-17. สืบค้นเมื่อ 2013-07-29.
  11. Tuchman, Barbara (1978). A Distant Mirror. New York: Ballentine Books. p. 586. ISBN 0-345-30145-5.
  12. John W. McKenna (1965), "Henry VI of England and the Dual Monarchy: aspects of royal political propaganda, 1422–1432", Journal of the Warburg and Courtauld Institutes 28:145–62.
  13. Either, that with Prince Edward's death, there was no longer any reason to keep Henry alive, or that, until Prince Edward died, there was little benefit to killing Henry. According to rumours at the time and what spread through the ages, was that Henry VI, was killed with a blow to the back of the head, whilst at prayer in the late hours of the 21st of May 1471. Wolffe, Bertram (1981). Henry VI. London: Eyre Methuen. p. 347.
  14. History International Channel coverage, 14:00–15:00 EDST on 10 June 2008
  15. Cathal J. Nolan, The Greenwood Encyclopedia of International Relations, Greenwood, 2002, page 63
  16. "Don Julius D'Austria and his Fate". State Castle and Chateau Český Krumlov. สืบค้นเมื่อ 4 January 2013.
  17. Hotson, 1999.