รายชื่อภาพเขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย

รายชื่อภาพเขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี เป็นรายการภาพเขียนสีน้ำมันและจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี จิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญชาวอิตาลี มีภาพเขียนทั้งหมดด้วยกันสิบห้าชิ้นที่ระบุว่าเป็นงานเขียนของเลโอนาร์โด ดา วินชี ซึ่งรวมทั้งจิตรกรรมแผง, จิตรกรรมฝาผนัง, ภาพร่าง และงานที่ยังอยู่ในระหว่างการตระเตรียม ภาพเขียนหกภาพยังไม่เป็นที่ตกลงกันแน่นอนว่าเขียนโดยเลโอนาร์โดหรือไม่ สี่ภาพเพิ่งได้รับการยืนยันว่าเลโอนาร์โดเป็นผู้เขียนและอีกสองภาพหายไป

อาหารค่ำมื้อสุดท้าย เป็นภาพวาดเชิงศาสนาที่มีชื่อเสียงที่สุดของเลโอนาร์โด ดา วินชี

ในบรรดาภาพเขียนทั้งหมดไม่มีภาพใดที่เลโอนาร์โด ดา วินชีลงชื่อ ฉะนั้นการที่จะบ่งว่าเป็นงานเขียนของเลโอนาร์โดหรือไม่ จึงขึ้นอยู่กับการศึกษาและการวิจัยของผู้เชี่ยวชาญ การที่เลโอนาร์โด มีผลงานเพียงไม่กี่ชิ้นก็อาจจะเป็นเพราะเป็นผู้มีความสนใจในสิ่งรอบตัวต่าง ๆ และความชอบทดสอบสิ่งใหม่ ๆ นอกจากนั้นยังชอบผัดวันประกันพรุ่ง แต่กระนั้นงานของเลโอนาร์โดก็เป็นงานที่มีความสำคัญเป็นอันมากในทางศิลปะและมีอิทธิพลต่อจิตรกรอื่น ๆ[1]

ภาพเขียนที่เชื่อว่าเขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี แก้

ภาพ รายละเอียด ดัชนีการยอมรับว่าเป็นงานเขียนของเลโอนาร์โด
 
พระเยซูรับศีลจุ่ม
(The Baptism of Christ)
ค.ศ. 1472–ค.ศ. 1475
ภาพเขียนสีน้ำมันบนไม้
177 × 151 ซม.
หอศิลป์อุฟฟิซิ, ฟลอเรนซ์, ประเทศอิตาลี
เวอร์โรชชิโอและเลโอนาร์โด
เขียนโดยอันดรีย เดล เวอร์โรชชิโอโดยเลโอนาร์โดเป็นผู้เขียนเทวดาทางด้านซ้าย[2] และเชื่อกันว่าเลโอนาร์โดเป็นผู้เขียนภูมิทัศน์ในฉากหลังและร่างท่อนบนของพระเยซู เป็นหนึ่งในบรรดางานชิ้นแรก ๆ คำอ้างโดยจอร์โจ วาซารีที่ว่าเทวดาเขียนโดยเลโอนาร์โดได้รับการยืนยันโดยการศึกษาของวิลเลียม ฟอน โบด (Wilhelm von Bode), ไซด์ลิตซ์, และกุธมันและยอมรับโดยแม็คเคอร์ดี, วาสเซอร์มันและคนอื่น ๆ[1]
 
การประกาศของเทพ
(Annunciation)
c. ค.ศ. 1472–ค.ศ. 1475
ภาพเขียนสีน้ำมันบนไม้
98 × 217 ซม.
หอศิลป์อุฟฟิซิ, ฟลอเรนซ์, ประเทศอิตาลี
ยอมรับโดยทั่วไป
เชื่อกันว่าเป็นงานเขียนชิ้นแรกที่เขียนเองทั้งหมด เดิมเชื่อว่าเขียนโดยเวอร์โรชชิโอจนกระทั่งปี ค.ศ. 1869 แต่ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นงานของเลโอนาร์โด โดยมีลิพห์ฮาร์ทเป็นผู้แจาะจงและสนับสนุนโดย โบด, ลุบค์, มุลเลอร์-วาลด์, เบอร์นาร์ด เบเร็นสัน, เค็นเน็ธ คล้าค (Kenneth Clark), โกลด์ไชเดอร์, และอื่น ๆ[1]
 
พระแม่มารีไดรฟัส
(The Dreyfus Madonna)
c. ค.ศ. 1475–ค.ศ. 1480
ภาพเขียนสีน้ำมันบนไม้
15.7 × 12.8 ซม., 6.13 × 5 in
หอศิลป์แห่งชาติ, วอชิงตัน ดี.ซี.
ยังไม่เป็นที่ตกลง
เดิมเชื่อว่าเขียนโดยเวอร์โรชชิโอหรือลอเร็นโซ ดิ เครดิ (Lorenzo di Credi). พระสรีระของพระบุตรดูไม่ได้สัดส่วนจนไม่อาจจะตกลงกันได้ บางคนเชื่อว่าเป็นงานเมื่อเลโอนาร์โดยังหนุ่ม ผู้ที่เสนอคือซุยดาในปีค.ศ. 1929 นักประวัติศาสตร์ศิลปะคนอื่น ๆ เช่นเชียร์แมนและโมเรลลิกล่าวว่าเป็นงานเขียนของเวอร์โรชชิโอ[1] แดเนียล อราสส์กล่าวว่าเป็นงานเขียนของเลโอนาร์โดเมื่อยังหนุ่มใน “เลโอนาร์โด ดา วินชี” (ค.ศ. 1997).[3]
 
จิเนวรา เด เบ็นชิ
(Ginevra de' Benci)
c. ค.ศ. 1476
ภาพเขียนสีน้ำมันบนไม้
38.8 × 36.7 ซม, 15.3 × 14.4 นิ้ว
หอศิลป์แห่งชาติ
ขึ้นอยู่กับการบ่งภาพ “สุภาพสตรีกับเออร์มิน”
กุสตาฟ วางเก็น (Gustav Friedrich Waagen) เสนอว่าเป็นงานของเลโอนาร์โดในปี ค.ศ. 1866 สนับสนุนโดยโบด นักวิชาการเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ถกเถียงกันอย่างยืดยาวแต่ผู้วิจารณ์เมื่อไม่นานนี้ยอมรับทั้งผู้วาดและผู้นั่ง[1]
 
พระแม่มารีเบนัวส์
(Benois Madonna)
ค.ศ. 1478
สีน้ำมันบนผ้าใบ
49.5 × 33 ซม
พิพิธภัณฑ์เฮอร์มิทาจ, เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก, ประเทศรัสเซีย
ยอมรับโดยทั่วไป
นักวิจารณ์โดยทั่วไปเชื่อว่าเป็นภาพเดียวกับภาพพระแม่มารีที่เลโอนาร์โดกล่าวถึงในปี ค.ศ. 1478[1]
 
พระแม่มารีกับดอกคาร์เนชั่น
(Madonna of the Carnation)
ค.ศ. 1478–ค.ศ. 1480
สีน้ำมันบนแผง
62 × 47.5 ซม
พิพิธภัณฑ์ศิลปะเดิม, มิวนิก, ประเทศเยอรมนี
ยอมรับโดยทั่วไป
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นงานของเลโอนาร์โดแต่ก็ยังมีความเห็นบางความเห็นเชื่อว่าถูกเขียนเพิ่ม (overpainting) โดยศิลปินเฟล็มมิช[1]
 
นักบุญเจอโรมในป่า
(St. Jerome in the Wilderness)
c. ค.ศ. 1480
สีฝุ่นและสีน้ำมันบนกระดาษ
103 × 75 ซม, 41 × 30 นิ้ว
วังวาติกัน
ไม่เสร็จ
ยอมรับโดยทั่วไป
 
การชื่นชมของแมไจ
(Adoration of the Magi)
ค.ศ. 1481
ทาสีรองบนแผง
240 × 250 ซม, 96 × 97 นิ้ว
หอศิลป์อุฟฟิซิ, ฟลอเรนซ์, ประเทศอิตาลี
ไม่เสร็จ
ยอมรับโดยทั่วไป
 
พระแม่มารีแห่งภูผา
(Madonna of the Rocks)
ค.ศ. 1483–ค.ศ. 1486
สีน้ำมันบนแผง (ย้ายไปบนผ้าใบ)
199 × 122 ซม, 78.3 × 48.0 นิ้ว
พิพิธภัณฑ์ลูฟร์, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส
ยอมรับโดยทั่วไป
นักประวัติศาสตร์ยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นภาพที่เขียนก่อนภาพชื่อเดียวกัน
 
สตรีกับเออร์มิน
(Lady with an Ermine)
ค.ศ. 1485
ภาพเขียนสีน้ำมันบนไม้ panel
54 × 39 ซม
พิพิธภัณฑ์ Czartoryski, คราเคา
ขึ้นอยู่กับการระบุ “จิเนฟรา เด เบ็นชิ”
ภาพนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันตั้งแต่กล่าวว่าเป็นภาพที่เขียนโดยเลโอนาร์โดในปีค.ศ. 1889. การระบุภาพเขียน “จิเนวรา เด เบ็นชิ” ทำให้สันนิษฐานภาพนี้ได้[1] Id as Cecilia Gallerani
 
พระแม่มารีให้นม
(Madonna Litta)
c. ค.ศ. 1490
สีน้ำมันบนผ้าใบ (transferred from panel)
42 × 33 ซม
พิพิธภัณฑ์เฮอร์มิทาจ, เซนต์ปีเตอส์เบิร์ก, ประเทศรัสเซีย
ยังไม่เป็นที่ตกลง
อาจจะเป็นภาพที่วาดโดยมาร์โค โดจจิโอโน (Marco d'Oggiono)
 
ภาพเหมือนนักดนตรี
(Portrait of a Musician
ค.ศ. 1490
ภาพเขียนสีน้ำมันบนไม้
45 × 32 ซม
พิพิธภัณฑ์อัมเโบรเซียนนา, มิลาน
ยังไม่เป็นที่ตกลง
 
หญิงงามแห่งแฟรโรนิแยร์
(La Belle Ferronière)
ค.ศ. 1490–1496
ภาพเขียนสีน้ำมันบนไม้
62 × 44 ซม
พิพิธภัณฑ์ลูฟร์, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส
ยังไม่เป็นที่ตกลง
 
พระกระยาหารมื้อสุดท้าย
(The Last Supper)
ค.ศ. 1495–1498
สีฝุ่นบนเจสโซ, pitch และ mastic
460 × 880 ซม, 181 × 346 นิ้ว
ซานตามารีอาเดลเลกราซีเอ (มิลาน), อิตาลี
ยอมรับโดยทั่วไป
 
พระแม่มารีแห่งภูผา
(Virgin of the Rocks)
ค.ศ. 1495–ค.ศ. 1508
สีน้ำมันบนแผง
189.5 × 120 ซม, 74.6 × 47.25 in
หอศิลป์แห่งชาติ, ลอนดอน
เลโอนาร์โดและอัมโบรจิโอ เด เปรดีส
ยอมรับโดยทั่วไปว่าเขียนหลังภาพที่อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ โดยทำร่วมกับอัมโบรจิโอ เด เปรดีส[1]
 
พระแม่มารีและพระบุตรกับนักบุญแอนน์และนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์
(The Virgin and Child with St. Anne and St. John the Baptist)
c. ค.ศ. 1499–ค.ศ. 1500
ถ่าน, ชอล์คดำขาวบนกระดาษสี
142 × 105 ซม, 55.7 × 41.2 นิ้ว
หอศิลป์แห่งชาติ, ลอนดอน
ยอมรับโดยทั่วไป
 
พระแม่มารีกับไม้ปั่นด้าย
(Madonna of the Yarnwinder)
c. ค.ศ. 1501
สีน้ำมันบนผ้าใบ
50.2 × 36.4 ซม
งานสะสมส่วนบุคคล
ยังไม่เป็นที่ตกลง
ภาพนี้มีสามภาพโดยผู้เขียนสามคน อาจจะเป็นงานลอกงานของเลโอนาร์โดที่หายไปที่เลโอนาร์โดบรรยาย ภาพที่ดีที่สุดในสามภาพเป็นของดยุคแห่งบูลลอยช์ที่ถูกขโมยในปี ค.ศ. 2003 แต่พบในปีค.ศ. 2007.[4]
 
โมนาลิซา
(Mona Lisa) or La Gioconda
c. 1503–1506
สีน้ำมันบนค็อตตอนวูด
76.8 × 53.0 ซม, 30.2 × 20.9 นิ้ว
พิพิธภัณฑ์ลูฟร์, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส
ยอมรับโดยทั่วไป
 
ซัลวาตอร์ มุนดี
(Salvator Mundi)
c. 1504–1507
สีน้ำมันบนแผ่นไม้วอลนัต
65.6 x 45.4 ซม., 25.8 × 17.9 นิ้ว
ยอมรับโดยทั่วไป แต่ยังมีบางความเห็นที่เห็นแย้ง
 
พระแม่มารีและพระบุตรกับนักบุญแอนน์
(The Virgin and Child with St. Anne)
c. ค.ศ. 1510
สีน้ำมันบนแผง
168 × 112 ซม, 66.1 × 44.1 นิ้ว
พิพิธภัณฑ์ลูฟร์, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส
ยอมรับโดยทั่วไป
 
บาคคัส
(Bacchus)
ค.ศ. 1510–ค.ศ. 1515
สีน้ำมันบนแผงวอลนัท ย้ายไปบนผ้าใบ
177 × 115 ซม
พิพิธภัณฑ์ลูฟร์, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส
ยังไม่เป็นที่ตกลง
เชื่อกันว่าเป็นงานลอกของภาพร่าง[1]
 
นักบุญจอห์นผู้ให้แบ็พทิสต์ (เลโอนาร์โด)
(St. John the Baptist)
ค.ศ. 1513–ค.ศ. 1516
สีน้ำมันบนแผงวอลนัท
69 × 57 ซม, 27.2 × 22.4 นิ้ว
พิพิธภัณฑ์ลูฟร์, ปารีส, ประเทศฝรั่งเศส
ยอมรับโดยทั่วไป
อันโนมิโน กัดดิอาโน เขียนว่าเลโอนาร์โดเขียนภาพนักบุญจอห์น เชื่อกันว่าเป็นงานชิ้นเอกชิ้นสุดท้าย[1]

งานที่เพิ่งบ่งว่าเป็นงานของเลโอนาร์โด แก้

ภาพ รายละเอียด ดัชนีการยอมรับว่าเป็นงานเขียนของเลโอนาร์โด
 
โทเบียสและเทวดา
(Tobias and the Angel)
ค.ศ. 1470–ค.ศ. 1480
สีฝุ่นบนไม้พอพพลา
หอศิลป์แห่งชาติ, ลอนดอน
อันเดรีย เดล เวอร์โรชชิโอและห้องเขียนภาพ (รวมทั้งเลโอนาร์โด?)
ภาพเขียนโดยเวอร์โรชชิโอเมื่อเลโอนาร์โดทำงานในห้องเขียนภาพมาร์ติน เค้มพ์ (Martin Kemp) เสนอว่าเลโอนาร์โดอาจจะเขียนบางส่วน, ที่น่าจะเป็นไปได้ที่สุดก็คือปลา เดวิด แอแล็น บราวน์แห่งพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติ, วอชิงตัน ดี.ซี. กล่าวว่าอาจจะวาดสุนัขด้วย
 
พระบุตรกอดนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์
(The Holy Infants Embracing)
c. ค.ศ. 1486–ค.ศ. 1490
มีหลายภาพที่เป็นของสะสมส่วนบุคคล
พระแม่มารีและพระบุตรกับนักบุญโจเซฟ
(Madonna and Child with St Joseph) หรือ Adoration of the Christ Child
สีฝุ่นบนแผง
สัดส่วน 87 ซม
หอศิลป์บอร์เกเซ, โรม, ประเทศอิตาลี
เดิมเชื่อว่าเขียนโดยฟรา บาร์โทโลเมโอ (Fra Bartolomeo) แต่หลังจากทำความสะอาดแกลเลอรี บอร์เกเซก็สันนิษฐานว่าเป็นงานเมื่อยังหนุ่มจากลายนิ้วมือที่พบที่คล้ายกับที่พบในภาพ “สตรีกับตัวเออร์มิน” แต่หลักฐานการสืบสวนไม่มีให้กับสาธารณะ[5]
แมรี แม็กดาเลน
(Mary Magdalene)
เพิ่งบ่งว่าเป็นงานของเลโอนาร์โดเมื่อไม่นานมานี้โดยคาร์โล เพเดร็ตติ ก่อนหน้านั้นเชื่อกันว่าเป็นงานเขียนของจิอัมเปียตริโน (Giampietrino) ผู้เขียนภาพคล้ายคลึงกันของ แมรี แม็กดาเลน[6] ข้อสันนิษฐานของคาร์โล เพเดร็ตติไม่เป็นที่ยอมรับกันในบรรดานักวิชาการ เช่นคาร์โล เบอร์เตลลิผู้กล่าวว่าไม่ใช่งานของเลโอนาร์โดและตัวแบบอาจจะเป็นลูเครเชียที่ดึงมีดออกแล้ว[7]

งานที่หายไป แก้

ภาพ รายละเอียด ข้อสังเกต
เมดูซา
(Medusa)
งานที่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่บรรยายโดยวาซาริ
เทวดาจากการประกาศของเทพ
(Angel of the Annunciation)
ราว ค.ศ. 1503
ภาพบรรยายโดยวาซาริ ภาพร่างยังหลงเหลืออยู่กับงานการศึกษา “ยุทธการอันเกียริ” และอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่บาเซล[8]
 
ยุทธการอันเกียริ
(The Battle of Anghiari)
ค.ศ. 1505
งานจิตรกรรมฝาผนังที่ยังเหลืออยู่ของเลโอนาร์โดพบใน Salone dei Cinquecento ในพาลัซโซเวคคิโอ (Palazzo Vecchio) ที่ฟลอเรนซ์
  • “ยุทธการอันเกียริ” โดย ปีเตอร์ พอล รูเบนส์ ชอล์คดำ, หมึกเน้นด้วยสีขาวตะกั่ว เขียนเพิ่ม (over-paint) ด้วยสีน้ำ 54.2 x 63.7 ซม พิพิธภัณฑ์ลูฟร์
 
เลดาและหงส์
(Leda and the Swan)
1508
ภาพเขียนนี้มีด้วยกัน 8 กอปปี้ที่รวมทั้ง:
  • เซซาเร เชสโต, “เลดาและหงส์” สีน้ำมันบนไม้, 69.5 x 73.7 ซม คฤหาสน์วิลตัน, วิลท์เชอร์, อังกฤษ
  • นิรนาม, “เลดาและหงส์” สีฝุ่นบนไม้, 115 x 86 ซม แกลเลอรี บอร์เกเซ, โรม, อิตาลี

อ้างอิง แก้

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 เดลลา เคียซา, แอนเจลา อ็อตติโน (ค.ศ. 1967), รายนามภาพเขียนของเลโอนาร์โด ดา วินชีฉบับสมบูรณ์, เพ็นกวิน, ISBN 0-1400-8649-8 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  2. จอร์โจ วาซารี, “ชีวิตศิลปิน”, ค.ศ. 1568; ฉบับแปลของเพ็นกวินคลาสลิคโดยจอร์จ บุล ค.ศ. 1965, ISBN 0-14-044164-6
  3. อราสส์, แดเนียล (ค.ศ. 1997), เลโอนาร์โด ดา วินชี, โคเน็คคี & โคเน็คคี, ISBN 1 56852 1987 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  4. "การจับกุมหลังจากพบภาพดา วินชิ". 4 ตุลาคม ค.ศ. 2007. {{cite news}}: ข้อความ "BBC News" ถูกละเว้น (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  5. แอริ, โซฟี (16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005). 00.html "ลายมือทำให้เลโอนาร์โดอยู่ในกรอบ". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2007-09-27. {{cite news}}: ตรวจสอบค่า |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  6. "พบงานเลโอนาร์โด? นักประวัติศาสตร์กล่าวว่าอาจจะเป็นได้". Universal Leonardo. สืบค้นเมื่อ 2007-09-27.
  7. เบอร์เตลลิ, คาร์โล (19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005). "Due allievi non fanno un Leonardo" (ภาษาอิตาลี). Il Corriere della Sera. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-26. สืบค้นเมื่อ 2007-09-27. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  8. เชียร์แมน, จอห์น (ค.ศ. 1992), Only Connect...: Art and the Spectator in the Italian Renaissance, อ็อกฟอร์ด: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด, p. 33 {{citation}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)

ดูเพิ่ม แก้