รายชื่อฐานทัพอากาศไทย

รายชื่อของฐานทัพอากาศและกองบินของกองทัพอากาศไทย

ระหว่าง พ.ศ. 2497-2518 (สงครามเวียดนามหรือสงครามอินโดจีนครั้งที่สอง) รัฐบาลไทยอนุญาตให้คณะที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐ ประจำประเทศไทย (Joint United States Military Advisory Group - Thailand: JUSMAG-THAI จัสแม็ก-ไทย) ให้ทุนและดำเนินการการปรับปรุงฐานทัพอากาศไทยให้ทันสมัย ในข้อตกลงที่ไม่ได้ลงนาม ฐานทัพอากาศเหล่านี้จะดำเนินการโดยกองทัพอากาศสหรัฐ เพื่อจุดประสงค์เฉพาะในการโจมตีเวียดนามเหนือด้วยเครื่องบินประมาณ 500 ลำ ฐานเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากฐานทัพเรือใกล้กับท่าเรือน้ำลึกสัตหีบ ผู้เชี่ยวชาญทางการทหารอเมริกันจำนวนมากได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ที่สำนักงานจัสแม็ก-ไทยในกรุงเทพฯ โดยขณะนั้นมีทหารสหรัฐฯ มากถึง 45,000 นายประจำการในประเทศไทย

รายชื่อฐานทัพอากาศไทยตั้งอยู่ในประเทศไทย
โคราช
โคราช
ตาคลี
ตาคลี
อุบลฯ
อุบลฯ
อุดรฯ
อุดรฯ
หาดใหญ่
หาดใหญ่
สุราษฎร์ธานี
สุราษฎร์ธานี
เชียงใหม่
เชียงใหม่
ประจวบคีรีขันธ์
ประจวบคีรีขันธ์
พิษณุโลก
พิษณุโลก
กำแพงแสน
กำแพงแสน
โคกกระเทียม
โคกกระเทียม
ฐานทัพอากาศของกองทัพอากาศไทย

ประวัติ แก้

โครงสร้างการบังคับบัญชาของกองทัพอากาศไทยประกอบด้วยกองบัญชาการและห้าส่วนบัญชาการ ได้แก่ ส่วนบัญชาการ ส่วนกำลังรบ ส่วนส่งกำลังบำรุง ส่วนการศึกษา และและส่วนกิจการพิเศษ[1]

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 ประเทศไทยประสบกับอัตราการเติบโตที่รวดเร็วที่สุดประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา: มากกว่า 10% ต่อปีใน GNP และประมาณ 8% ต่อปีในผลผลิตจริง แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504-2509) ประสบผลสำเร็จ ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีมูลค่ารวมประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐจนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2513 ความช่วยเหลือทางทหารโดยตรงรวมเป็นเงินอีก 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเวลาเดียวกัน และต่อเนื่องในอัตรา 25–55 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ตามสถิติของรัฐบาลสหรัฐ ระหว่างปี พ.ศ. 2493 ถึง พ.ศ. 2530 สหรัฐ ได้ให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่ประเทศไทยมากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ด้วยโครงสร้างขนาดใหญ่ขององค์กร ทำให้ประเทศไทยเกิดความมั่งคั่งในทุกระดับของสังคม ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในด้านการก่อสร้างขนาดใหญ่ การสื่อสาร การคมนาคม และการป้องกันประเทศ หมวดหมู่ต่อไปนี้พบได้ในรายงานสรุปของสำนักงานตรวจสอบอิสระของรัฐสภาสหรัฐ เช่น หัวรถจักร, การบริการด้านปฏิบัติการการบิน, ทางหลวงกรุงเทพ-สระบุรี, ถนนสายใต้, สินเชื่อเพื่อการพัฒนา, การสนับสนุนทางเทคนิค, ตำรวจพลเรือน, วิทยุหมู่บ้าน, การพัฒนาการเกษตร, การดูแลสุขภาพในชนบท, น้ำดื่ม, มาลาเรีย, การจัดสรรไฟฟ้าในชนบท และโรงเรียนแพทย์เชียงใหม่ เป็นต้น

นอกจากนี้ มีการก่อสร้างถนนที่ทนทานทุกสภาพอากาศความยาว 315 กิโลเมตร (196 ไมล์) ในสายเหนือ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งประกอบไปด้วยสะพานและท่อระบายน้ำ 138 แห่ง มีค่าใช้จ่าย 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (174,000 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับอุปกรณ์บำรุงรักษา ต้องมีการฝึกอบรมบุคลากร 199 คน (ช่างเครื่อง 36 คน, ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดหา 6 คน, พนักงานควบคุมอุปกรณ์ 97 คน, คนขับรถ 60 คน))

หลังสงครามยุติ แก้

 
ฐานทัพอากาศโคราชในปี พ.ศ. 2530

การสิ้นสุดของสงครามส่งผลให้บุคลากรและอุปกรณ์ของสหรัฐ ทั้งหมดถูกถอดออกภายในปี พ.ศ. 2519 ตามคำร้องขอของไทย กองทัพอากาศไทยพบว่ามีค่าใช้จ่ายสูงเกินไปในการปฏิบัติการ ยกเว้นที่ฐานบินโคราชและตาคลี โดยโครงสร้างทางการบินอีกหลายรายการถูกส่งต่อการดูแลไปยังกรมการบินพลเรือน

สรุปความช่วยเหลือจากสหรัฐ แก้

ข้อมูลต่อไปนี้นำมาจากรายงานสรุปของหน่วยงานบริหารความช่วยเหลือของสหรัฐ (USOM) ในประเทศไทย ลงวันที่ พ.ศ. 2511 พบที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยคอร์เนล ชื่อว่า "Pamphlet HC Thailand 370" 3-1924-007-619-574

AID (หน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ) ให้ความช่วยเหลือ ตลอดปีงบประมาณ 1968 (ล้านดอลลาร์)

  • แกรนต์ 431; เงินกู้ยืม 64; ภูมิภาค 34: รวม 529
  • เจ้าหน้าที่: อเมริกัน 460 คน ไทย 660 คน
  • การอบรม : คนไทย 6,300 คน ส่งไปต่างประเทศ พ.ศ. 2494-68 ไปศึกษาด้าน เกษตรกรรม 1,490 คน; การศึกษา 1,341; สุขภาพ 969; การบริหารราชการ 824; ตำรวจพลเรือน 435; การพัฒนาชุมชน 501; การขนส่ง 287; อุตสาหกรรม 202; แรงงาน 28; โครงการแม่น้ำโขงและป่าโมง 16; ทั่วไป, 218.

ตัวชี้วัดการพัฒนา ไต้หวัน vs ไทย: GNP 234/141, กำลังไฟฟ้าต่อหัว 680/58, อัตราการรู้หนังสือ 72/70, ผู้อยู่อาศัยต่อแพทย์ 1500/7300, ถนนต่อ 1,000 ตารางไมล์ 590/40, ความหนาแน่นของประชากร 1,010/170,

ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติไทย (GNP) คงที่ 1965 ล้านดอลลาร์สหรัฐ: 2504/2925, 2505/3082, 2506/3386, 2507/3590, 2508/3907, 2509/4339, 2510/4551

ฐานทัพอากาศปัจจุบัน แก้

ปัจจุบันกองทัพอากาศได้แบ่งระดับของฐานทัพอากาศออกเป็น 1 ฐานทัพอากาศ และฐานบินอีก 4 ระดับ ประกอบไปด้วย ฐานทัพอากาศ ฐานบินปฏิบัติการหลัก ฐานบินปฏิบัติการหน้า[2] ฐานบินปฏิบัติการกิจพิเศษ[3] และฐานบินปฏิบัติการสำรอง[2] ซึ่งจะจำแนกได้ตามที่มีการเปิดเผยข้อมูล ดังนี้

ฐานทัพอากาศ แก้

ฐานบินปฏิบัติการหลัก แก้

ฐานบินปฏิบัติการหน้า แก้

ฐานบินปฏิบัติการกิจพิเศษ แก้

ฐานบินปฏิบัติการสำรอง แก้

จำนวน 8 ฐานบิน[2]

สนามบินเฉพาะกิจ แก้

จำนวน 2 สนามบิน[2]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  • JSTOR: Asian Survey: Vol 13,No. 5 (May, 1973) pp. 441–457 United States Military Spending and the Economy of Thailand, George J. Viksnins
  1. "Royal Thai Air Force Organization". rtaf.mil.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-28. สืบค้นเมื่อ 16 May 2020.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "Royal Thai Air Force | ยุทโธปกรณ์ในกองทัพอากาศไทย". thaiarmedforce. 2019-05-02.
  3. "วิสัยทัศน์ พันธกิจ | กองทัพอากาศ". welcome-page.rtaf.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "วิสัยทัศน์ ภารกิจ | กองบิน 5 กองทัพอากาศ". wing5.rtaf.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "วิสัยทัศน์ ภารกิจ | กองบิน 46". wing46.rtaf.mi.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้