ฐานบินโคราช

ฐานทัพอากาศในจังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย

ฐานบินโคราช[2] หรือ ท่าอากาศยานกองบิน 1 นครราชสีมา (อังกฤษ: Korat Royal Thai Air Force Base) (ICAO: VTUN) ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา[3] เป็นที่ตั้งของกองบิน 1 นครราชสีมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพอากาศ ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 250 กิโลเมตร บริเวณทางตอนใต้ของตัวเมืองนครราชสีมา ซึ่งในช่วงสงครามเวียดนาม ท่าอากาศยานนี้ถูกใช้เป็นฐานทัพของทหารสหรัฐในประเทศไทย

ฐานบินโคราช
ค่ายเฟรนชิฟ
ส่วนหนึ่งของกองทัพอากาศไทย
นครราชสีมา
ภาพถ่ายทางอากาศของกองบินโคราช 23 กรกฎาคม 2530
พิกัด14°56′01″N 102°04′47″E / 14.93361°N 102.07972°E / 14.93361; 102.07972
ประเภทฐานบินปฏิบัติการหลัก
ข้อมูล
เจ้าของกองทัพอากาศไทย
ผู้ดำเนินการกองทัพอากาศไทย
กองทัพอากาศสหรัฐ
ควบคุมโดยสหรัฐ ทัพอากาศแปซิฟิก (พ.ศ. 2507–2519)
ไทย กองทัพอากาศไทย (พ.ศ. 2498–2507; 2519–ปัจจุบัน)
ประวัติศาสตร์
สร้าง2498 (2498)
การใช้งานพ.ศ. 2498–ปัจจุบัน
การต่อสู้/สงครามสงครามเวียตนาม
ข้อมูลสถานี
กองทหารรักษาการณ์สหรัฐ ทัพอากาศที่ 13 (PACAF)
ไทย กองบิน 1 นครราชสีมา
ผู้เข้าถือครองกองกำลังที่ปรึกษาสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2507–2508)
กองบินรบทางยุทธวิธีที่ 6234 (ชั่วคราว) (พ.ศ. 2508–2509)
กองบินรบทางยุทธวิธีที่ 388 (พ.ศ.2509–2519)
กองบินรบทางยุทธวิธีที่ 354 (ประจำการเทนแนนต์) (พ.ศ. 2515–2517)
กองบินรบทางยุทธวิธีที่ 347 (เทนแนนต์) (พ.ศ. 2517–2518)
ข้อมูลลานบิน
ข้อมูลระบุICAO: VTUN
ความสูง728 ฟุต (222 เมตร) เหนือระดับ
น้ำทะเล
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาวและพื้นผิว
06/24 9,843 ฟุต (3,000 เมตร) คอนกรีต
Source: DAFIF[1]

ท่าอากาศยานแห่งนี้เคยให้บริการเชิงพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2529[4] แต่หลังจากนั้นปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์ลง หลังจากเปิดท่าอากาศยานนครราชสีมา ปัจจุบันใช้ในด้านการทหารเท่านั้น

ประวัติ

แก้

กองบิน 1 ดอนเมือง

แก้

กองบิน 1 นครราชสีมามีประวัติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2461 เดิมเรียกว่ากองบินใหญ่ทหารบกที่ 1 ขึ้นกับกรมอากาศยานทหารบก ตั้งอยู่ที่ท่าอากาศยานดอนเมืองฝั่งตะวันตก (บริเวณอาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 ในปัจจุบัน)

จากนั้นในปี พ.ศ. 2464 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นกองโรงเรียนการบินที่ 1 หลังจากนั้นได้มีประกาศพระราชกฤษฎีกาการจัดหน่วยในกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2479 ลงวันที่ 15 เมษายน 2479 ให้เปลี่ยนชื่อเป็นกองบินน้อยที่ 1 และถือเป็นวันสถาปนากองบิน 1 ตั้งแต่นั้นมา ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกองบิน 1ในวันที่ 1 ตุลาคม 2506

สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น

แก้
 
แผนที่ท่าอากาศยานกองบิน 1 นครราชสีมา ในปี พ.ศ. 2516

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศญี่ปุ่น ได้สร้างลานบิน ณ พื้นที่ที่ตั้งของกองบิน 1 ในปัจจุบัน เพื่อใช้เป็นฐานกองกำลังหนุนสำหรับกองกำลังของญี่ปุ่นในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จบ ประเทศไทยได้เอาพื้นที่ลานบินคืน โดยกองทัพอากาศได้ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่แล้วต่อจากญี่ปุ่น

กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา

แก้

กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา เป็นกองบินสังกัดกองทัพอากาศไทย มีหน่วยขึ้นตรงอยู่คือ ฝูงบิน 102 และ ฝูงบิน 103 เป็นฝูงบินขับไล่หลักของกองทัพอากาศไทย ในวันที่ 24 ตุลาคม 2519 กองบิน 1 ได้ย้ายกองบินมาประจำอยู่ที่ท่าอากาศยานกองบิน 1 นครราชสีมา จนถึงปัจจุบัน[5] โดยในช่วงสงครามเย็น สหรัฐอเมริกาได้เข้ามาขอใช้พื้นที่ของกองบิน 1 ในการทำสงครามกับประเทศเวียดนามเหนือ จนกระทั่งจบสงครามเวียดนาม

หน่วยในฐานบิน

แก้

หน่วยบินที่วางกำลังในฐานบินโคราชที่วางกำลังอยู่ในปัจจุบัน ประกอบไปด้วย

กองทัพอากาศ

แก้

กองบิน 1

แก้

กองบิน 2

แก้
  • หน่วยบิน 2031 ฝูงบิน 203[6]

หน่วยสมทบ

แก้

หน่วยสมทบที่วางกำลังในฐานบินโคราช ได้แก่[7]

  • ศูนย์การสงครามทางอากาศ
  • กองบัญชาการควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ
    • ศูนย์สนับสนุนทางอากาศโดยตรงที่ 2
  • หน่วยบินฝนหลวง

โคปไทเกอร์

แก้

การฝึกผสมโคปไทเกอร์ (Multi-Lateral Exercise Cope Tiger) ถือได้ว่าเป็นการฝึกผสมทางอากาศ ที่มีการสนธิกำลังทางอากาศใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการนำกำลังทางอากาศจาก 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการฝึก มีการพัฒนารูปแบบการฝึกให้เข้ากับสถานการณ์การสู้รบในปัจจุบัน จะมีการสมมติสถานการณ์เสมือนจริง ทั้งด้านการควบคุมและสั่งการ การฝึกยุทธวิธีการรบระหว่างเครื่องบินรบต่างแบบ การฝึกโจมตีทางอากาศต่อเป้าหมายภาคพื้นดินที่มีการต่อต้านจากกอาวุธของหน่วยต่อสู้อากาศยานภาคพื้น การฝึกด้านการข่าวกรองยุทธวิธีโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ และการให้การสนับสนุนของหน่วยสนับสนุนต่างๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของหน่วยบิน และหน่วยต่อสู้อากาศยานที่เข้าร่วมการฝึก และเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศผสม อีกทั้งยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างมิตรประเทศ ที่เข้าร่วมการฝึกอีกด้วย[8]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Airport information for VTUN". World Aero Data. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-05.{{cite web}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) Data current as of October 2006. Source: DAFIF.
  2. "ประกาศกองทัพอากาศ เรื่อง กำหนดชื่อเรียกฐานที่ตั้งหน่วยบินต่าง ๆ". เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา แบบธรรมเนียมทหาร พ.ศ. 2567 (PDF). กรมสารวรรณทหารอากาศ. 2567. p. 329. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-05-31. สืบค้นเมื่อ 2024-05-31.
  3. ท่าอากาศยานและสถานีควบคุมจราจรทางอากาศจาก กสทช.
  4. ประวัติความเป็นมา ท่าอากาศยานนครราชสีมาของกรมท่าอากาศยาน
  5. ประวัติความเป็นมากองบิน 1[ลิงก์เสีย]
  6. "ระทึก ฮ.ขัดข้องลงจอดฉุกเฉินกลางไร่อ้อยที่ห้วยแถลง". www.sanook.com/news. 2010-01-19.
  7. "หน่วยขึ้นตรง | Home of the Tiger". กองบิน 1 (นครราชสีมา).
  8. การฝึกผสมโคปไทเกอร์[ลิงก์เสีย]