ราฟาเอล ตรูฮิโย

อดีตประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐโดมินิกัน

ราฟาเอล เลโอนิดัส ตรูฮิโย โมลินา (สเปน: Rafael Leónidas Trujillo Molina; 24 ตุลาคม พ.ศ. 2434 – 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2504) เป็นอดีตประธานาธิบดีและผู้เผด็จการแห่งสาธารณรัฐโดมินิกัน[2] ดำรงตำแหน่งระหว่าง พ.ศ. 2473–2481 และ พ.ศ. 2485–2495 จนกระทั่งถูกลอบสังหารใน พ.ศ. 2504[3] ระหว่างเขาปกครองสาธารณรัฐโดมินิกันนั้น เขาปกครองในลักษณะเผด็จการทหาร และยังคงกุมอำนาจในประเทศทั้งที่เขาไม่ได้อยู่ในตำแหน่งประธานาธิบดีก็ตาม ซึ่งเขาครองอำนาจในสาธารณรัฐโดมินิกันทั้งสิ้น 31 ปี ซึ่งชาวโดมินิกันจะรู้จักกันดีในชื่อว่า ยุคตรูฮิโย (El Trujillato) เขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้นำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการสังหารชาวเฮติในสาธารณรัฐโดมินิกันไป 5,000–67,000 รายในเหตุการณ์สังหารหมู่พาร์สลีย์[4]

ราฟาเอล ตรูฮิโย
Rafael Trujilo
ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐโดมินิกัน
ดำรงตำแหน่ง
16 สิงหาคม พ.ศ. 2473 – 16 สิงหาคม พ.ศ. 2481
รองประธานาธิบดีราฟาเอล เอสเตรยา อูเรญญา (2473–2474)
ว่าง (2475–2477)
ฆาซินโต เปยาโน (2477–2481)
ก่อนหน้าราฟาเอล เอสเตรยา อูเรญญา (รักษาการ)
ถัดไปฮาซินโต เปย์นาโด
ดำรงตำแหน่ง
18 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 – 16 สิงหาคม พ.ศ. 2495
รองประธานาธิบดีไม่มี
ก่อนหน้ามานูเอล เด เฮซุส ตรองโกโซ
ถัดไปเอกตอร์ ตรูฮิโย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ราฟาเอล เลโอนิดัส ตรูฮิโย โมลินา

24 ตุลาคม พ.ศ. 2434
ซานกริสโตบัล สาธารณรัฐโดมินิกัน
เสียชีวิต30 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 (69 ปี)
ซานโตโดมิงโก สาธารณรัฐโดมินิกัน
ลักษณะการเสียชีวิตถูกลอบสังหาร
ที่ไว้ศพสุสานมองกอร์รูบิโอ มาดริด ประเทศสเปน
พรรคการเมืองพรรคโดมินิกัน
คู่สมรสอามินตา เลเดสมา อี เปเรซ (2456-2470)
บิเอนเบนิดา ริการ์โด อี มาร์ติ (2470-2478)
มาริอา เด โลส อังเฮเลส มาร์ติเนซ อี อัลบา (2480-2504)
บุตร8 คน เช่น รัมฟิสและอังเฮลิตา[1]
วิชาชีพ
  • ทหาร
  • นักธุรกิจ
ลายมือชื่อ

ตรูฮิโยมีทรัพย์สินราว 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือราว 23,936 ล้านบาท)[5] ในสมัยที่เขาดำรงตำแหน่งนั้น มีการตรวจพบการทุจริตทางการเมืองและการฉ้อราษฎร์บังหลวง ทั้งยังมีการเล่นพวกพ้องและเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องตัวเองเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เขายังเกือบถูกลอบสังหารมาแล้วหลายครั้ง[6] แต่ในที่สุดเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 เขาก็ได้ถูกลอบสังหารขณะกำลังนั่งรถยนต์ส่วนตัว โดยผู้ที่ลอบสังหารเขาคือคนสนิทของเขาเอง โดยมีสำนักข่าวกรองกลางของสหรัฐอยู่เบื้องหลังการลอบสังหารของเขา[7][8]

อ้างอิง

แก้
  1. Espinal Hernández, Edwin Rafael (21 February 2009). "Descendencias Presidenciales: Trujillo" (ภาษาสเปน). Instituto Dominicano de Genealogía. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2014. สืบค้นเมื่อ 15 April 2015.
  2. ชีวประวัติของราฟาเอลตรูฮิโย "ซีซาร์น้อยแห่งทะเลแคริบเบียน"
  3. "I shot the cruellest dictator in the Americas". BBC News. 2011. สืบค้นเมื่อ 19 June 2013.
  4. Capdevilla (1998)
  5. Rogozinski 258
  6. "Documentary Heritage on the Resistance and Struggle for Human Rights in the Dominican Republic, 1930-1961" (PDF).
  7. Kross, Peter (9 December 2018). "The Assassination of Rafael Trujillo". Sovereign Media. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-28. สืบค้นเมื่อ 17 January 2019.
  8. "The Kaplans of the CIA - Approved For Release 2001/03/06 CIA-RDP84-00499R001000100003-2" (PDF). Central Intelligence Agency. 24 November 1972. pp. 3–6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-12. สืบค้นเมื่อ 17 January 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้