รอริงทเวนตีส์
รอริงทเวนตีส์ (อังกฤษ: Roaring Twenties, Roaring '20s) เป็นกระแสดนตรีและแฟชันที่เกิดขึ้นในโลกตะวันตกและวัฒนธรรมตะวันตกสมัยคริสต์ทศวรรษ 1920[1] เป็นช่วงรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและก้าวหน้าทางวัฒนธรรมในสหรัฐและยุโรป โดยเฉพาะนครใหญ่อย่างเบอร์ลิน[2] บัวโนสไอเรส[3][4] ชิคาโก[5] ลอนดอน[6] ลอสแอนเจลิส[7] เม็กซิโกซิตี[4] นครนิวยอร์ก[8] ปารีส[9] และซิดนีย์[10] ในฝรั่งเศสเรียกคริสต์ทศวรรษนี้ว่า อาเนฟอล (années folles, "ปีที่บ้าคลั่ง")[11] ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงพลวัตทางสังคม ศิลปะและวัฒนธรรมของยุคนี้ รอริงทเวนตีส์เป็นช่วงที่ดนตรีแจ๊สเฟื่องฟู อลังการศิลป์เจริญถึงขีดสุด[12] และเกิดวัฒนธรรมย่อยที่เรียกว่าแฟลปเปอร์ซึ่งปรับเปลี่ยนการแต่งกายของสตรีชาวบริติชและอเมริกัน[13][14]
รอริงทเวนตีส์ | |||
---|---|---|---|
ค.ศ. 1920 – 1929 | |||
โจเซฟีน เบเกอร์กำลังเต้นชาลส์ตัน | |||
สถานที่ | ส่วนใหญ่ในสหรัฐ (เกิดยุคสมัยคล้ายกันในโลกตะวันตก) | ||
เหตุการณ์สำคัญ | |||
|
รอริงทเวนตีส์เกิดขึ้นในนครใหญ่และแพร่หลายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยวาร์เรน จี. ฮาร์ดิง ประธานาธิบดีสหรัฐรณรงค์ "กลับสู่สภาวะปกติ" ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ค.ศ. 1920 จิตวิญญาณของยุคสมัยนี้มีความรู้สึกแปลกใหม่ต่อภาวะสมัยใหม่และออกจากกรอบจารีตเดิม ประชากรส่วนใหญ่เข้าถึงเทคโนโลยีอย่างรถยนต์ ภาพยนตร์และวิทยุ ขณะเดียวกันดนตรีแจ๊สและการเต้นรำได้รับความนิยมอย่างมากจนเกิดเป็นยุคแจ๊ส (Jazz Age)
ผู้คนในโลกตะวันตกช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 พัฒนาและใช้งานรถยนต์ โทรศัพท์ ภาพยนตร์ วิทยุและเครื่องใช้ไฟฟ้าในวงกว้าง การเดินอากาศรุดหน้าจนธุรกิจนี้เริ่มแพร่หลาย หลายชาติมีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม มีการแนะนำรูปแบบการดำเนินชีวิตใหม่ ๆ สื่อซึ่งมีส่วนในการขับเคลื่อนความต้องการของผู้บริโภคมุ่งสนใจผู้มีชื่อเสียงโดยเฉพาะนักแสดงภาพยนตร์และนักกีฬา และผู้หญิงมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งในรัฐประชาธิปไตยหลักหลายรัฐของสหรัฐ
รอริงทเวนตีส์ร่วมสมัยกับ โกลเดนทเวนตีส์ (Golden Twenties) ของเยอรมนี อันเป็นช่วงเวลาที่เศรษฐกิจประเทศเติบโต เสรีภาพแผ่ขยายในสังคมและการปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์และการทดลองทางศิลปะ[15] อย่างไรก็ตามเยอรมนีไม่สามารถชำระค่าปฏิกรรมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1920 สหรัฐจึงดำเนินแผนการดอวส์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและทำให้ค่าเงินเยอรมันมีเสถียรภาพมากขึ้น แต่เมื่อสหรัฐประสบเหตุการณ์ตลาดหลักทรัพย์วอลล์สตรีทตก ค.ศ. 1929 ทำให้เศรษฐกิจเยอรมนีและประเทศอื่น ๆ ที่ผูกพันกับสหรัฐผ่านแผนการดอวส์พลอยได้รับผลกระทบไปด้วย เหตุการณ์นี้ยังนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ซึ่งสร้างความเสียหายทั่วโลก และเป็นการสิ้นสุดของรอริงทเวนตีส์[16]
อ้างอิง
แก้- ↑ Konstantina, Antoniadou (2022-05-27). "Roaring Twenties - 15 Most Iconic Styles". The VOU (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-27. สืบค้นเมื่อ 2022-05-27.
- ↑ Anton Gill, A Dance Between Flames: Berlin Between the Wars (1994).
- ↑ Fraga, Enrique Alberto (February 16, 2020). "El rugido centenario de los años locos". La Nación (ภาษาสเปน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 24, 2022. สืบค้นเมื่อ May 25, 2022.
- ↑ 4.0 4.1 Elsey, Brenda (2011). Citizens and Sportsmen: Fútbol and Politics in Twentieth-Century Chile. University of Texas Press. p. 51. ISBN 9780292726307. สืบค้นเมื่อ May 25, 2022 – โดยทาง Google Books.
- ↑ Marc Moscato, Brains, Brilliancy, Bohemia: Art & Politics in Jazz-Age Chicago (2009)
- ↑ Hall, Lesley A. (1996). "Impotent ghosts from no man's land, flappers' boyfriends, or crypto‐patriarchs? Men, sex and social change in 1920s Britain". Social History. 21 (1): 54–70. doi:10.1080/03071029608567956.
- ↑ David Robinson, Hollywood in the Twenties (1968)
- ↑ David Wallace, Capital of the World: A Portrait of New York City in the Roaring Twenties (2011)
- ↑ Jody Blake, Le Tumulte Noir: modernist art and popular entertainment in jazz-age Paris, 1900–1930 (1999)
- ↑ Jack Lindsay, The roaring twenties: literary life in Sydney, New South Wales in the years 1921-6 (1960)
- ↑ Andrew Lamb (2000). 150 Years of Popular Musical Theatre. Yale University Press. p. 195. ISBN 978-0-300-07538-0.
- ↑ Madeleine Ginsburg, Paris fashions: the art deco style of the 1920s (1989)
- ↑ Pamela Horn, Flappers: The Real Lives of British Women in the Era of the Great Gatsby (2013)
- ↑ Angela J. Latham, Posing a Threat: Flappers, Chorus Girls, and Other Brazen Performers of the American 1920s (2000)
- ↑ Bärbel Schrader, and Jürgen Schebera. The" golden" twenties: art and literature in the Weimar Republic (1988)
- ↑ Paul N. Hehn (2005). A Low Dishonest Decade: The Great Powers, Eastern Europe, and the Economic Origins of World War II, 1930–1941. Continuum. p. 12. ISBN 978-0-8264-1761-9.