รถไฟใต้ดินดูไบ (อาหรับ: مترو دبي) เป็นระบบขนส่งทางรางในกรุงดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เปิดให้บริการ 2 เส้นทางคือ สายสีแดงและสายสีเขียว และโครงการอีก 3 เส้นทาง เป็นโครงสร้างทั้งใต้ดินและยกระดับ[3] ตัวรถไฟฟ้าและสถานีจะติดตั้งระบบเครื่องปรับอากาศ พร้อมประตูกั้นชานชาลา

รถไฟใต้ดินดูไบ
مترو دبي
รถไฟฟ้าดูไบ สายสีแดง
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ประเภทRapid transit
จำนวนสาย2 (เปิดให้บริการ)
3 (โครงการ)
จำนวนสถานี44 (เปิดให้บริการ)
3 (ยังไม่เปิด)
ผู้โดยสารต่อวัน350,000[1]
การให้บริการ
เริ่มดำเนินงาน9 กันยายน ค.ศ. 2009
ผู้ดำเนินงานSerco/Roads & Transport Authority
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง74.6 กิโลเมตร (46.4 ไมล์)
รางกว้าง1435 มิลลิเมตร สแตนดาร์ดเกจ
การจ่ายไฟฟ้ารางที่สาม 750 V DC[2]
ผังเส้นทาง


แผนที่เส้นทางรถไฟฟ้า ข้อมูลเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2011

เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง ได้ทำพิธีเปิดการเดินรถอย่างเป็นทางการ เมื่อเวลา 9 นาฬิกา 9 นาที 9 วินาที วันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 2009 โดยผู้ปกครองเมืองดูไบ[4] และเปิดเดินรถแบบขนส่งสาธารณะในเวลา 6 นาฬิกา วันถัดมา[5] รถไฟใต้ดินดูไบเป็นระบบขนส่งมวลชนความเร็วสูงแห่งแรกในคาบสมุทรอาหรับ[6] มีผู้โดยสารใช้บริการถึง 110,000 คนในช่วงเวลา 2 วันแรกที่เปิด คิดเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรทั้งเมือง[7] และในช่วง 3 เดือนแรก มีผู้โดยสารมาใช้บริการถึง 10 ล้านคน[8] เส้นทางรถไฟฟ้ามีโรงซ่อมบำรุงอยู่ 2 แห่ง[9]

กินเนสบุ๊ค ได้ลงบันทึกว่า เป็นระบบรถไฟฟ้าใต้ดินระบบอัตโนมัติที่มีระยะทางมากที่สุด ยาวถึง 75 กิโลเมตร (47 ไมล์)[10]

เส้นทาง แก้

เส้นทาง ปลายทาง วันกำหนดเปิดใช้งาน เริ่มก่อสร้าง วันเปิดใช้งานจริง ความยาว สถานี เวลาต่อเที่ยว[11] ความเร็วเฉลี่ย ราคา [12] ราคาต้อกิโลเมตร
สาย
สีแดง
Al Rashidiya -
Jebel Ali
กันยายน ค.ศ. 2009 สิงหาคม ค.ศ. 2005 [13] กันยายน ค.ศ. 2009 (10 สถานี)
เมษายน ค.ศ. 2010 (+19 สถานี)[14]
52.1 กม.
(ใต้ดิน 5 กม.)
29
(เปิดใช้งาน 28 สถานี)
68 – 69 นาที
(1 ชั่วโมงเศษ)
46& กม/ชม AED28.0b
US$7.6b [15]
AED375.3m
US$102.2m
สาย
สีเขียว
Etisalat -
Creek
มีนาคม ค.ศ. 2010[16] กรกฎาคม ค.ศ. 2006 [17] 9 กันยายน ค.ศ. 2011 [18] 22.5 กม. (ใต้ดิน 8 กม.) 18
(เปิดใช้งาน 16 สถานี)
38 – 39 นาที 35 กม/ชม
สายสีม่วง (โครงการ) ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ -
Al Maktoum International Airport
ภายใน ค.ศ. 2012 [16] ไม่มีความคืบหน้า [19] โครงการ 49 กม.[16] 8
(โครงการ) [16]
US$2.73bn [19] 55.7m
สายสีน้ำเงิน (โครงการ) ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ -
Al Maktoum International Airport
ภายใน ค.ศ. 2011 [20] ไม่มีความคืบหน้า [19] โครงการ 47 กม. [16] 18

ส่วนต่อขยาย แก้

  • สายสีม่วง: เลียบถนน E44[21] ประกอบด้วยสถานี 8 สถานี อย่างไรก็ตาม โครงการก็ไม่ได้ถูกพิจารณา เนื่องที่ตั้งสถานีไม่เหมาะสม ทำให้ก่อสร้างไม่ได้
  • สายสีน้ำเงิน: เลียบถนน E31[21]
  • สายสีทอง: เดิมตั้งชื่อในปี ค.ศ. 2008 ว่า สายสีเหลือง แต่เปลี่ยนชื่อเป็น สายสีทอง เมื่อช่วงเดือนมกราคม ค.ศ. 2013 ที่ผ่านมา[16].
  • สายสีแดง (ส่วนต่อขยาย): 15.5 กิโลเมตร 6 สถานี เชื่อมต่อกับชายแดนจังหวัดอาบูดาบี ยังไม่กำหนดวันเปิดที่แน่นอน[22]
  • สายสีเขียว (ส่วนต่อขยาย): 11 กิโลเมตร[23]

รายชื่อสถานี แก้

 
สถานีราชิดิยะ
 
สถานีคาลิด บิน อัล วาลีด
 
ภายในขบวนรถไฟฟ้า ชั้นโกลด์
 
ภายในขบวนรถไฟฟ้า ชั้นธรรมดา
  • สายสีแดง:[24]
    • สถานีราชิดิยะ (มีโรงซ่อมบำรุง)
    • สถานีเอมิเรตส์แอร์ไลน์
    • สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง 3
    • สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง 1
    • สถานีอัล การ์หูด
    • สถานีเดย์ราซิตีเซ็นเตอร์
    • สถานีอัล ริกกา
    • สถานีสหภาพ (เปลี่ยนเส้นทางไปยังสายสีเขียวได้)
    • สถานีเบอร์จูแมน
    • สถานีอัล การามา
    • สถานีอัล จาลิฟิยา
    • สถานีเวิลด์ เทรด เซ็นเตอร์
    • สถานีเอมิเรตส์ทาวเวอร์
    • สถานีฟินานเชียล เซ็นเตอร์
    • สถานีดูไบ มอลล์
    • สถานีบูซินเนส เบย์
    • สถานีธนาคารนัวร์
    • สถานีเฟิร์สกัฟแบงค์
    • สถานีมอลล์ออฟเอมิเรตส์
    • สถานีชาราฟดีจี
    • สถานีดูไบ อินเทอร์เน็ต ซิตี
    • สถานีนักฮีล
    • สถานีดูไบ มารีนา
    • สถานีจูเมย์รา เลค ทาวเวอร์ ฟรี โซน
    • สถานีนักฮีลฮาเบอร์แอนด์ทาวเวอร์
    • สถานีอิบ์น บัตตูนา
    • สถานีเอนเนอร์จี
    • สถานีเดนูเบ
    • สถานีจัฟซา
  • สายสีเขียว:[25]
    • สถานีเอติซาลัต (T3)
    • สถานีอัล คิวซัส (T2)
    • สถานีดูไบ แอร์พอร์ต ฟรีโซน (T2)
    • สถานีอัล นาห์ดา (T2)
    • สถานีสนามกีฬา (T2)
    • สถานีอัล คิวดาห์ (T2)
    • สถานีอาบู เฮล (T2)
    • สถานีอาบู เบเกอร์ อัล ซิดดิก (T2)
    • สถานีซาลาห์ อัล ดิน (U)
    • สถานีสหภาพ (เปลี่ยนเส้นทางไปยังสายสีแดงได้)
    • สถานีเบนิยาสแสควร์ (U)
    • สถานีปาล์ม เดย์รา (U)
    • สถานีอัล แรส (U)
    • สถานีอัล กูไบบา (U)
    • สถานีเซอีดียา (U)
    • สถานีเบอร์จูแมน
    • สถานีออด เมทา (T2)
    • สถานีเฮลท์ แคร์ ซิตี (T2)
    • สถานีอัล เจดาฟ (T2)
    • สถานีครีก (T2)

รถไฟฟ้า แก้

 
ขบวนรถไฟฟ้าทดสอบวิ่ง

ขบวนรถไฟฟ้าที่ใช้วิ่งทั้งสองเส้นทาง ผลิตโดยบริษัทหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น[26] รถไฟฟ้าชุดแรกนำเข้าเมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 2008[26] มีที่นั่งและที่ยืนรวม 643 ที่ แบ่งเป็นที่นั่งสามชั้น ได้แก่

  1. ชั้นโกลด์คลาส[27]
  2. ชั้นสุภาพสตรีและเด็ก[27]
  3. ชั้นประหยัด[27]

รถไฟฟ้ารับกระแสไฟฟ้าจากรางที่สาม นอกจากนี้บนขบวนรถยังมีเจ้าหน้าที่คุมรถ สำหรับกรณีฉุกเฉินอีกด้วย[28]

การปรากฏในสื่อต่าง ๆ แก้

เกม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-27. สืบค้นเมื่อ 2013-05-25.
  2. "Specifications: Dubai Metro – Most Advanced Urban Rail Systems". Railway-Technology.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2011. สืบค้นเมื่อ 14 September 2009.
  3. Roads & Transport Authority, UAE
  4. "Dubai Metro Opens On Time But Over Budget". Sky News. 2009-09-09.
  5. "Dubai metro unlikely to speed business growth". Ameinfo. 2009-09-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-09. สืบค้นเมื่อ 2013-05-25.
  6. "Will metro change Dubai car culture?". BBC News. 2009-09-11.
  7. TheNational.ae
  8. "RTA.ad". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-28. สืบค้นเมื่อ 2013-05-25.
  9. "Designers transfer Hong Kong know-how to Dubai's new metro". scmp.com.
  10. "Dubai in Guinness for longest driverless metro". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-28. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.
  11. "Train Times and Landmark Flyer, RTA UAE" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-11-01. สืบค้นเมื่อ 2013-05-25.
  12. Based on exchange rate US$1 = AED3.672
  13. "Red Line, RTA UAE". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-03. สืบค้นเมื่อ 2013-05-25.
  14. Dubai Metro Red Line now complete (เว็บไซต์ถูกตั้งค่าเป็นสแปม)
  15. "Changes to Metro put cost up by Dh12bn". The National. 2009-08-31.
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 16.5 "Blue and Purple Lines unlikely in next five years". Railway-Technology.com. สืบค้นเมื่อ 2011-09-18.
  17. Emirati Law
  18. "Dubai Metro makes a mark". Gulf News. 2011-09-10.
  19. 19.0 19.1 19.2 "Blue and Purple Lines unlikely in next five years". Arabian Supply Chain. 2011-09-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-20. สืบค้นเมื่อ 2013-05-25.
  20. "Plans for Dubai's third metro track finalised". Gulf News. 2006-05-24.
  21. 21.0 21.1 Dubain-online.com
  22. ArabianBusiness.com
  23. Business24-7.ae
  24. Dubai Rapid Link Consortium – Approved Red Line Project Model dtd. 5 Nov. 2006
  25. Dubai Rapid Link Consortium – Approved Green Line Project Model dtd. 19 Nov. 2006
  26. 26.0 26.1 First Dubai metro train arrives เก็บถาวร 2010-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Railway Gazette International 2008-03-14, retrieved 2008-03-15.
  27. 27.0 27.1 27.2 "At a glance:Dubai Metro". Gulf News. 2007-03-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-01. สืบค้นเมื่อ 2008-05-30.
  28. Trained wardens will help people on Dubai Metro เก็บถาวร 2014-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Khaleej Times 2007-04-16

แหล่งข้อมูลอื่น แก้