ยฺวิ้นเยิ้งในภาษาจีนกวางตุ้ง ยฺเวียนยังในภาษาจีนกลาง (จีน: 鴛鴦; พินอิน: Yuānyāng; ยฺหวิดเพ็ง: jyun1 joeng1) กาแฟผสมชา หรือโกปีชัมในภาษามลายู (มลายู: kopi cham)[3] เป็นเครื่องดื่มที่นิยมดื่มในฮ่องกง มีส่วนผสมได้แก่กาแฟสามส่วนและชานมฮ่องกงเจ็ดส่วน นิยมดื่มทั้งแบบร้อนและเย็น[4] แต่เดิมจะมีจำหน่ายเฉพาะในไต่ไผ่ตงหรือร้านอาหารแบบเปิดโล่ง และในจ่าจ๊านแท้งหรือร้านกาแฟเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีจำหน่ายตามร้านอาหารทั่วไป[5][6]

ศัพทมูลวิทยา แก้

ชื่อยฺวิ้นเยิ้งหรือยฺเวียนยังแปลว่าเป็ดแมนดาริน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงความรักแท้ในวัฒนธรรมจีนเนื่องจากเป็ดแมนดารินจะครองคู่เพียงคู่เดียวตลอดชีวิต และเป็ดแมนดารินตัวผู้กับตัวเมียแตกต่างอย่างชัดเจน[7] ซึ่งเป็นลักษณะที่คล้ายกับการรวมเอาของสองสิ่งที่แตกต่างกันเข้าด้วยกัน[4]

ต้นกำเนิด แก้

 
โกปีชัมในประเทศมาเลเซีย

ร้านไต่ไผ่ตงชื่อหล่านฟ้องยหวิ่น (จีน: 蘭芳園; ยฺหวิดเพ็ง: laan4 fong1 jyun4)[8]อ้างว่าเจ้าของร้านเป็นผู้คิดค้นสูตรยฺวิ้นเยิ้งและสูตรชานมแบบฮ่องกงใน ค.ศ. 1952[9] แม้ว่าจะไม่มีการยืนยันว่าเจ้าของร้านหล่านฟ้องยหวิ่นเป็นผู้คิดสูตรยฺวิ้นเยิ้งก็ตาม แต่มีการอ้างถึงสูตรชานมของร้านหล่านฟ้องยหวิ่นในบันทึกการประชุมสภานิติบัญญัติฮ่องกง[10]

การดัดแปลง แก้

สตาร์บัคส์ แก้

ในช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 2010 ร้านกาแฟสตาร์บัคส์ในฮ่องกงและมาเก๊าจำหน่ายยฺวิ้นเยิ้งแบบแฟรปปุชชีโน[11] โดยใช้ชื่อเมนูว่า "Yuen Yeung Frappuccino Blended Cream"[12]

ยฺวิ้นเยิ้งสำหรับเด็ก แก้

ยฺวิ้นเยิ้งสำหรับเด็กหรือหยี่ถ่งยฺวิ้นเยิ้ง (จีน: 兒童鴛鴦; ยฺหวิดเพ็ง: ji4 tung4 jyun1 joeng1) ซึ่งไม่มีกาเฟอีนทำจากเครื่องดื่มมอลต์สองชนิดผสมกันได้แก่ฮอร์ลิกส์และโอวัลติน ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่มีจำหน่ายในจ่าจ๊านแท้งทั่วไปในฮ่องกง[13]

อ้างอิง แก้

  1. "Yuenyeung Coffee with Tea". The University of Hong Kong. สืบค้นเมื่อ 9 March 2021.
  2. Tam, Arthur (12 August 2019). "Coffee or tea? Order a yuen yeung – the off-menu, half-half hybrid served at cafes across Hong Kong". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 9 March 2021.
  3. "Teh & Kopi". July 23, 2007.
  4. 4.0 4.1 ""Yuanyang" exhibition showcases the contemporary ceramic art" (Press release). HKSAR Leisure and Cultural Services Department. 2003-02-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-24. สืบค้นเมื่อ 2007-01-12.
  5. "What is Yuen Yeung, Coffee & Milk Tea?". Coffeelnformer. สืบค้นเมื่อ 9 March 2021.
  6. "Cha Chaan Teng: Our Hong Kong–Style Tea Restaurant". City University of Hong Kong. สืบค้นเมื่อ 9 March 2021.
  7. "教育部國語辭典:鴛鴦". Ministry of Education, Taiwan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-05-01. สืบค้นเมื่อ 2007-01-14.
  8. "Lan Fong Yuen (Central)". OpenRice Hong Kong.
  9. "Brand Story_LAN Fong Yuen milk tea". www.hklanfongyuen.com.
  10. "OFFICIAL RECORD OF PROCEEDINGS Wednesday, 19 December 2007" (PDF). สภานิติบัญญัติฮ่องกง (ภาษาอังกฤษ). สภานิติบัญญัติฮ่องกง. 2007-12-19. สืบค้นเมื่อ 2021-11-30.
  11. Michael Taylor (8 October 2010). "Starbucks Takes on Hong Kong Tastes (Part 2)". accidentaltravelwriter.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-30. สืบค้นเมื่อ 29 October 2012.
  12. Starbucks Hong Kong: "Escape This Summer With a Taste of Home" September 16, 2010
  13. Lew, Josh. "Coffee or tea? With this drink, you get both". mnn.com. Narrative Content Group. สืบค้นเมื่อ 24 August 2019.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ยฺวิ้นเยิ้ง