ยุทธนาวีที่ทะเลคอรัล
ยุทธนาวีทะเลคอรัล เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 4-8 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 (พ.ศ. 2485) เป็นยุทธการทางทะเลที่สำคัญในสมรภูมิแปซิฟิกแห่งสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นและกองกำลังทางทะเลและอากาศของสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย ยุทธนาวีครั้งนี้เป็นการรบครั้งแรกที่มีการปะทะระหว่างเรือบรรทุกอากาศยาน เช่นเดียวกันครั้งแรกที่เรือรบของทั้งสองฝ่ายไม่เห็นซึ่งกันและกันหรือยิงใส่กันโดยตรง
ยุทธนาวีทะเลคอรัล | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สมรภูมิแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
เรือบรรทุกอากาศยาน เล็กซิงตัน ระเบิดในวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1942 หลังจากที่ได้รับความเสียหายจากการโจมตีของเรือบรรทุกอากาศยานญี่ปุ่นเมื่อหลายชั่วโมงก่อน | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย | ญี่ปุ่น | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
ชารล์ส ดับบลิว. นิมิทซ์ แฟรงค์ เจ. เฟล็ทเชอร์ โทมัส ซี. คิงเคด ออเบรย์ ฟิตช์ จอร์จ เบร็ตต์ ดักลาส แมกอาเธอร์ จอห์น เครซ |
อิโซะโระกุ ยะมะโมะโตะ ชิเงะโยะชิ อิโนะอุเอะ ทะเกะโอะ ทะกะงิ คิโยะฮิเดะ ชิมะ อะริโตะโมะ โกะโต ชูอิชิ ฮะระ ซะดะมิชิ คะจิโอะกะ | ||||||
กำลัง | |||||||
เรือบรรทุกอากาศยานประจำกองเรือ 2 ลำ, เรือลาดตระเวน 9 ลำ, เรือพิฆาต 13 ลำ, เรือบรรทุกน้ำมัน 2 ลำ, เรือบรรทุกเครื่องบินทะเล 1 ลำ, อากาศยานบนเรือบรรทุกอากาศยาน 128 ลำ[1] |
เรือบรรทุกอากาศยานประจำกองเรือ 2 ลำ, เรือบรรทุกอากาศยานเบา 1 ลำ, เรือลาดตะเวน 9 ลำ, เรือพิฆาต 15 ลำ, เรือกวาดทุ่นระเบิด 5 ลำ, เรือวางทุ่นระเบิด 2 ลำ, เรือขับไล่เรือดำน้ำ 2 ลำ, เรือปืน 3 ลำ, เรือบรรทุกน้ำมัน 1 ลำ, เรือบรรทุกเครื่องบินทะเล 1 ลำ, เรือขนส่ง 12 ลำ, เครื่องบิน 127 ลำ[2] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
เรือบรรทุกอากาศยานประจำกองเรือ 1 ลำถูกจมทิ้ง, เรือพิฆาต 1 ลำถูกจม, เรือบรรทุกน้ำมัน 1 ลำถูกจม, เรือบรรทุกอากาศยานประจำกองเรือ 1 ลำได้รับความเสียหาย, เครื่องบิน 69 ลำถูกทำลาย[3] เสียชีวิต 656 นาย[4] |
เรือบรรทุกอากาศยานเบา 1 ลำถูกจม, เรือพิฆาต 1 ลำถูกจม, เรือรบขนาดเล็ก 3 ลำถูกจม, เรือบรรทุกอากาศยานประจำกองเรือ 1 ลำได้รับความเสียหาย, เรือพิฆาต 1 ลำได้รับความเสียหาย, เรือรบขนาดเล็ก 2 ลำได้รับความเสียหาย, เรือขนส่ง 1 ลำได้รับความเสียหาย, เครื่องบิน 92 ลำถูกทำลาย[5] เสียชีวิต 966 นาย[6] |
กองทัพญี่ปุ่นต้องการที่จะสร้างเสริมของความแข็งแกร่งให้กับแนวป้องกันของตนเองในภูมิภาคแปซิฟิกใต้ จึงตัดสินใจเข้ารุกรานและยึดครองพอร์ตมอร์สบีในนิวกินีและเกาะทูลากิในหมู่เกาะโซโลมอนทางตะวันออกเฉียงใต้ แผนการรุกรานที่เรียกว่าปฏิบัติการณ์โม ประกอบด้วยหน่วยรบใหญ่หลายหน่วยจากกองเรือร่วมของญี่ปุ่น ที่มีเรือบรรทุกอากาศยานประจำกองเรือ 2 ลำและเรือบรรทุกอากาศยานเบา 1 ลำเพิ่อให้การสนับสนุนทางอาการให้กับกองเรือรุกราน ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเรือเอกชิเกโยชิ อิโนอุเอะ ทางฝ่ายสหรัฐฯ ที่ทราบแผนการรุกรานของญี่ปุ่นผ่านข่าวกรองสื่อสาร จึงส่งกองกำลังเรือบรรทุกอากาศยานเฉพาะกิจจากกองทัพเรือสหรัฐ 2 กองเรือและกองกำลังเรือลาดตระเวนร่วมของสหรัฐฯ และออสเตรเลียภายใต้การบังคับบัญชาของพลเรือเอกแฟรงค์ เจ. เฟล็ทเชอร์แห่งกองทัพเรืออเมริกัน เพื่อต่อกรกับการรุกรานของญี่ปุ่น
ในวันที่ 3-4 พฤษภาคม กองกำลังญี่ป่นเข้ารุกรานและยึดครองเกาะทูลากิได้สำเร็จ แม้ว่าเรือรบสนับสนุนหลายลำของญึ่ปุ่นจะถูกจู่โจมโดยไม่ให้ตั้งตัวและถูกจมโดยเครื่องบินจากเรือบรรทุกอากาศยานประจำกองเรือสหรัฐฯ ยอร์คทาว์น เมื่อทางญี่ปุ่นทราบว่ามีเรือบรรทุกอากาศยานของสหรัฐฯ อยู่ในบริเวณ จึงส่งเรือบรรทุกเครื่องบินประจำกองเรือของตนไปยังทะเลคอรัล เพื่อค้นหาและทำลายกองกำลังทางเรือของฝ่ายสัมพันธมิตร เริ่มตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม กองกำลังเรือบรรทุกเครื่องบินของทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนการโจมตีทางอากาศอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาสองวัน ในวันแรก ฝ่ายสหรัฐฯ จมเรือบรรทุกอากาศยานเบาของญี่ปุ่น โชโฮ ในขณะที่ฝ่ายญี่ปุ่นจมเรือพิฆาตของสหรัฐ และสร้างความเสียหายอย่างหนักกับเรือบรรทุกน้ำมันประจำกองเรือ (และถูกจมทิ้งในเวลาต่อมา) วันต่อมา เรือบรรทุกอากาศยานประจำกองเรือญี่ปุ่น โชคาคุ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก และเรือบรรทุกอากาศยานประจำกองเรือสหรัฐฯ เล็กซิงตัน ได้รับความเสียหายในระดับวิกฤต (และถูกจมทิ้งในเวลาต่อมา) ในขณะที่เรือยอร์คทาว์นก็ได้รับความเสียหาย ด้วยทั้งสองฝ่ายต่างก็สูญเสียกองกำลังอย่างหนักทั้งอากาศยานและเรือบรรทุกอากาศยานที่ได้รับความเสียหายหรือถูกจม กองเรือของทั้งสองฝ่ายจึงยุติการปะทะและถอนกำลังจากบริเวณการรบ เนื่องจากสูญเสียความคุ้มครองทางอากาศ นายพลเรืออิโนอุเอะจึงเรียกกองเรือรุกรานพอร์ตมอร์สบีกลับ เพื่อพยายามใหม่ในคราวหลัง
แม้การรบครั้งนี้จะเป็นชัยชนะทางยุทธวิธีของฝ่ายญี่ปุ่นในแง่ของจำนวนเรือที่ถูกจม ท้ายที่สุดแล้วการรบครั้งนี้กลับเป็นชัยชนะทางยุทธศาสตร์ของฝ่ายสัมพันธมิตรเพราะหลายเหตุผลด้วยกัน ยุทธการครั้งนี้เป็นยุทธการแรกตั้งแต่เริ่มสงครามที่การรุกครั้งสำคัญของญี่ปุ่นถูกสกัดโดยฝ่ายพันธมิตร ที่สำคัญ เรือบรรทุกอากาศยานประจำกองเรือญี่ปุ่น โชคาคุ ได้รับความเสียหาย ในขณะที่เรือบรรทุกอากาศยานประจำกองเรือญี่ปุ่น ซุยคาคุ ประสบกับภาวะขาดอากาศยานรบ ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมยุทธนาวีที่มิดเวย์ ที่เกิดขึ้นในเดือนถัดมาได้ ส่งผลให้จำนวนอากาศยานของทั้งสองฝ่ายในการรบครั้งนั้นมีความสูสี และเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้กองทัพสหรัฐฯ ได้รับชัยชนะ การสูญเสียเรือบรรทุกอากาศยานเป็นจำนวนมากที่มิดเวย์ทำให้ญี่ปุ่นไม่สามารถรุกรานพอร์ตมอร์สบีจากทางทะเล สองเดือนต่อมา ฝ่ายสัมพันธมิตรชิงความได้เปรียบจากความอ่อนแอทางยุทธศาสตร์ของญี่ปุ่นในภูมิภาคแปซิฟิกใต้ที่เกิดจากการรบครั้งก่อนๆ และเริ่มดำเนินการทัพกัวดัลคะแนล และการทัพนิวกินี จนสามารถเจาะทะลุแนวป้องกันของญี่ปุ่นในภูมิภาคแปซิฟิกใต้ได้สำเร็จ และเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลให้ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่สองในที่สุด
อ้างอิง
แก้- ↑ Lundstrom, Pearl Harbor to Midway, p. 190.
- ↑ Lundstrom, Pearl Harbor to Midway, p. 188; Millot, p. 154; Cressman (p.93).
- ↑ Wilmott (1983), p. 286; Crave, p. 449; Gillison, pp. 518–519; Salecker, p.181.
- ↑ Phillips; ONI, pp. 25–45.
- ↑ Lundstrom, Guadalcanal Campaign, p.92; Wilmott (1983), p.286; Millot, p.160.
- ↑ Peattie, pp. 174–175; Gill, p. 44; Tully, "IJN Shoho" and "IJN Shokaku".