ยุทธการที่แม่น้ำยาลู่

ยุทธการที่แม่น้ำยาลู่ (ญี่ปุ่น: 鴨緑江会戦โรมาจิโอเริยะกุ โคไกเซ็ง, รัสเซีย: Бой на реке Ялу) เป็นการปะทะระหว่างกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นกับกองทัพจักรวรรดิรัสเซียในระหว่างสงครามรัสเซีย–ญี่ปุ่น ค.ศ. 1904 การปะทะเกิดขึ้นที่บริเวณแม่น้ำยาลู่ ใกล้กับหมู่บ้านอุยจู (ในเกาหลีเหนือในปัจจุบัน) ซึ่งขณะนั้นเป็นชายแดนระหว่างเกาหลีกับแมนจูเรีย (เกาหลี-จีน)

ยุทธการที่แม่น้ำยาลู่
ส่วนหนึ่งของ สงครามรัสเซีย–ญี่ปุ่น

กองทหารญี่ปุ่นกำลังข้ามแม่น้ำยาลู่
วันที่30 เมษายน – 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1904
สถานที่
ใกล้กับอุยจู (เกาหลีเหนือในปัจจุบัน) ชายแดนเกาหลี-แมนจูเรีย
ผล ชัยชนะของญี่ปุ่น
คู่สงคราม
จักรวรรดิญี่ปุ่น จักรวรรดิญี่ปุ่น รัสเซีย จักรวรรดิรัสเซีย
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
พลตรี คุโระกิ ทะเมะโมะโตะ พลโท มีฮาอิล ซาซูลิช
พลโท นีโคไล คาชตาลินสกี
กำลัง
42,000 นาย about 25,000 นาย
ความสูญเสีย
1,036 ตาย-บาดเจ็บหรือสูญหาย 593 ตาย
1,101 เจ็บ
478 สูญหาย[1]

ยุทธการเริ่มขึ้นเมื่อเวลา 21:45น. ของคืนวันที่ 25 เมษายน 1904 เมื่อสองกองพันทหารของกองพลทหารราบที่ 2 ของญี่ปุ่น ได้เข้ายึดเกาะสองแห่งกลางแม่น้ำยาลู่ไว้โดยไม่มีการปะทะ และมีทหารกองหนุนมาเสริมอีกเวลาตีสี่ของวันที่ 26 ในรุ่งเช้าฝ่ายญี่ปุ่นเริ่มการต่อสะพานข้ามแม่น้ำความยาว 1.49 กิโลเมตร ซึ่งหนึ่งในสามประกอบขึ้นจากทุ่นลอยเหล็กซึ่งสร้างไว้ล่วงหน้าและส่วนที่เหลือใช้ไม้ที่หาได้จากแถวนั้น[2] เมื่อฝ่ายญี่ปุ่นต่อสะพานถึงกลางแม่น้ำแล้ว พลตรีคุโระกิก็ได้มีแผนลวงฝ่ายรัสเซีย โดยการให้เรือปืนญี่ปุ่นโจมตีพวกคอสแซคของรัสเซียที่ปากแม่น้ำ ซึ่งทำให้พลโทซาซูลิชเชื่อว่า ญี่ปุ่นจะเข้าโจมตีแถวนั้นและทำให้เขาไปตั้งมั่นอยู่ที่นั่น (บริเวณเมืองอันตง) ขณะเดียวกัน พลตรีคุโระกิได้ฝึกซ้อมกองทหารกองใหม่ขึ้นและส่งไปตั้งค่ายในจุดยุทธศาสตร์ พลโทคาชตาลินสกีทราบเรื่องนี้เข้าจึงได้เขียนจดหมายไปเตือนซาซูลิชว่า ที่ตั้งของซาซูลิชกำลังอยู่ในอันตรายที่จะถูกตีขนาบข้าง แต่จดหมายฉบับนั้นก็ถูกเมินเฉย เขายังคงตั้งมั่นอยู่ที่อันตง

พลโทซาซูลิช (ซ้าย) และพลตรีคุโระกิ (ขวา) พลโทซาซูลิช (ซ้าย) และพลตรีคุโระกิ (ขวา)
พลโทซาซูลิช (ซ้าย) และพลตรีคุโระกิ (ขวา)

ในที่สุดการโจมตีก็เริ่มขึ้น การวางแผนผิดพลาดของรัสเซียประกอบกับการที่ญี่ปุ่นมีปืนใหญ่ ฮาวอิสเซอร์ 4.7 นิ้วจากเยอรมัน ก็ทำให้รัสเซียตกอยู่ในสถานะเพลี่ยงพล้ำ อย่างไรก็ตาม นายพลรัสเซียก็ไม่คิดยอมแพ้ ถึงขนาดมีโทรเลขไปถวายพระเจ้าซาร์ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กว่า ใกล้จะได้รับชัยชนะในเร็วๆนี้ และนายพลซาซูลิชยังเมินต่อคำสั่งให้ถอนกำลังทหารของพลเอก อะเลคเซย์ กูโรแพทกิน รัฐมนตรีการสงคราม ท้ายที่สุด เมื่อหองทหารของเขาเริ่มถูกญี่ปุ่นตีวงล้อมเรื่อยๆ ซาซูลิชไม่เหลือทางเลือกจึงนำทหารส่วนหนึ่งล่าถอยขึ้นเหนือไป ปล่อยให้ทหารรัสเซียที่เหลือถูกตีขนาบและพ่ายแพ้

ยุทธการที่แม่น้ำยาลู่ถือเป็นการปะทะทางบกที่สำคัญ การที่ญี่ปุ่นได้รับชัยชนะในศึกครั้งนี้ได้ทำลายความคิดของกองพลประจำภาคตะวันออกของรัสเซียที่ว่า ญี่ปุ่นเป็นศัตรูที่เอาชนะได้ง่าย

อ้างอิง

แก้
  1. Russian Main Military Medical Directorate (Glavnoe Voenno-Sanitarnoe Upravlenie) statistical report. 1914.
  2. Connaughton, p.56
  • Connaughton, Richard (2003). Rising Sun and Tumbling Bear. Cassell. ISBN 0-304-36657-9
  • Kowner, Rotem (2006). Historical Dictionary of the Russo-Japanese War. Scarecrow. ISBN 0-8108-4927-5
  • Nish, Ian (1985). The Origins of the Russo-Japanese War. Longman. ISBN 0-582-49114-2