ยุทธการที่ทาลัส

ยุทธการที่ทาลัส (จีน: 怛羅斯戰役; พินอิน: Dáluósī Zhànyì; อาหรับ: معركة نهر طلاس, อักษรโรมัน: Maʿrakat nahr Ṭalās; เปอร์เซีย: نبرد طراز, อักษรโรมัน: Nabard-i Tarāz) เป็นการสู้รบระหว่างรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ร่วมมือกับจักรวรรดิทิเบตเข้าต่อกรกับราชวงศ์ถังของจีนสมัยถังเฉวียนจงฮ่องเต้ ยุทธการนี้เกิด ณ เอเชียกลางในปี ค.ศ. 751 สนามรบนี้นักประวัติศาสต์ยังไม่สามารถระบุได้ว่าอยู่ ณ ที่ใดแต่เชื่อว่าอยู่ใกล้พรมแดนประเทศคาซัคสถานและประเทศคีร์กีซสถาน ริมฝั่งเแม่น้ำ Talas ในปัจจุบัน

ยุทธการที่ทาลัส
ส่วนหนึ่งของ การพิชิตทรานส์ออกเซียนาโดยมุสลิม
วันที่พฤษภาคม–กันยายน ค.ศ. 751
สถานที่
ผล อับบาซียะฮ์ชนะ
คู่สงคราม
รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์
จักรวรรดิทิเบต
ทหารรับจ้างชาวคาร์ลุก[1]
จักรวรรดิถัง
ทหารรับจ้างชาวคาร์ลุก[2]
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
อัสซัฟฟาห์
แอบูมูสลีม
ซิยาด อิบน์ ศอเลียะห์[3]
เกา เซียนจือ
หลี่ ซี่เย่
ต้วน ซิ่วฉือ[3]
กำลัง
30,000–50,000 นาย[4] 30,000–50,000 นาย[5] 91,000 นาย[6][7]
ความสูญเสีย
ไม่ทราบ 20,000–50,000 นาย

หลังพิชิตจักรวรรดิแซสซานิดได้ในปี ค.ศ. 651 ราชวงศ์มุสลิมอุมัยยะฮ์ได้แผ่อำนาจเข้ามาในเอเชียกลางและปะทะกับชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม รวมถึงราชวงศ์ถังที่ครอบครองดินแดนในเอเชียกลางเช่นกัน ในปี ค.ศ. 715 จีนส่งทหารไปช่วยกษัตริย์อิคชิดแห่งเฟอร์กานายึดบัลลังก์คืนจากอลูตาร์ กษัตริย์องค์ใหม่ที่ได้รับหนุนจากอุมัยยะฮ์ สองปีต่อมา ทัพอุมัยยะฮ์ถูกทัพจีนตีแตกหลังล้อมเมืองอัคซู ต่อมาในปี ค.ศ. 750 อัส-ซัฟฟะห์แห่งราชวงศ์อับบาซียะฮ์โค่นล้มราชวงศ์อุมัยยะฮ์ได้สำเร็จ ก่อนจะส่งทหารไปที่เอเชียกลางเพื่อปกป้องดินแดน[8]

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 751 ทัพอับบาซียะฮ์พบกับทัพราชวงศ์ถังที่ริมฝั่งแม่น้ำทาลัส โดยฝ่ายอับบาซียะฮ์มีกำลังสนับสนุนจากทิเบต ในขณะที่ฝ่ายกองทัพถังนำโดยแม่ทัพ เกาเซียนจื่อ (แม่ทัพกองกำลังอันซี Anxi รักษาดินแดนตะวันตก) มีกองทัพจากเมืองเฟอร์กานาและทหารรับจ้างชาวคาร์ลุครวมกันประมาณ 30,000 นาย (ทัพถัง 10,000 นาย คาร์ลุค 20,000 นาย) แหล่งข้อมูลหลายแหล่งบันทึกถึงกำลังพลที่ต่างกัน โดยบางแหล่งประเมินทัพทั้งสองฝ่ายไว้สูงถึง 100,000 นาย ซึ่งอาจเป็นการกล่าวเกินจริง ทั้งสองฝ่ายตั้งทัพโดยมีพลธนูและพลหอกอยู่ด้านหน้าและมีทหารม้าด้านข้าง ทั้งสองฝ่ายผลัดกันแพ้ชนะเป็นเวลา 3 วัน ก่อนที่วันที่ 4 ทัพจีนแตกพ่ายเนื่องจากถูกทหารชาวคาร์ลุคที่แปรพักตร์โจมตีด้านข้างและถูกทัพอับบาซียะฮ์ตีขนาบจากด้านหน้า[9]

หลังยุทธการนี้ ฝ่ายอับบาซียะฮ์มีโอกาสรุกเข้าเอเชียกลางมากขึ้น ในขณะที่ฝ่ายทัพถังต้องถอยร่นกลับไปที่เมืองโชวสือ (Qiuci) เพื่อเตรียมตัวโต้กลับอีกครั้ง แต่เหตุการไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อส่วนกลางได้เรียกกองกำลังกลับไปเมืองหลวง เพื่อนำกำลังไปรบกับกบฏอันลูชานที่มีต้นกำเนิดในตอนเหนือของจีน การขยายอำนาจในเอเชียกลางของอับบาซียะฮ์ทำให้ราชวงศ์นี้รับวัฒนธรรมและวิทยาการใหม่ ๆ เข้ามา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตกระดาษจากจีน[10]

อ้างอิง แก้

  1. ในช่วงสงครามแปรพักตร์เข้าฝ่ายอับบาซียะฮ์
  2. ในช่วงสงครามแปรพักตร์เข้าฝ่ายอับบาซียะฮ์
  3. 3.0 3.1 Bai, Shouyi (2003), 中囯回回民族史 (A History of Chinese Muslims, vol. 2, Beijing: Zhonghua Book Company, pp. 224–225, ISBN 7-101-02890-X
  4. Hugh Kennedy (17 June 2013). The Armies of the Caliphs: Military and Society in the Early Islamic State. Routledge. pp. 96–99. ISBN 978-1-134-53113-4.
  5. Barthold, William (2003), Turkestan down to the Mongol invasion, London: Oxford University Press, p. 196
  6. Muhamad Olimat (2013). China and the Middle East: From Silk Road to Arab Spring. Routledge. p. 9. ISBN 978-1-85743-631-0.
  7. Graff, David A. (2017). THE REACH OF THE MILITARY: TANG. Journal of Chinese History. 1 (02): 243–268. doi:10.1017/jch.2016.35. ISSN 2059-1632.
  8. Szczepanski, Kallie (July 13, 2018). "Battle of Talas River". ThoughtCo. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
  9. Putz, Catherine (January 8, 2016). "The Battle That Kept the Chinese Out of Central Asia". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
  10. Andrews, Stefan (March 6, 2017). "The art of papermaking was first invented by the Chinese Han Dynasty two thousand years ago". The Vintage News. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.

42°31′30″N 72°14′0″E / 42.52500°N 72.23333°E / 42.52500; 72.23333