มู่หลาน (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2563)
มู่หลาน เป็นภาพยนตร์อเมริกันแนวสงครามย้อนยุค ผู้กำกับ คือ นิกี คาโร ผู้เขียนบท คือ เอลิซาเบธ มาร์ทิน, ลอเรน ไฮเนก, กับริก จัฟฟา และอะแมนดา ซิลเวอร์ และผู้อำนวยการผลิต คือ วอลต์ดิสนีย์พิกเชอส์ เป็นการนำตำนานจีนเรื่องฮวา มู่หลาน มาดัดแปลง ถ่ายทำในนิวซีแลนด์และจีนช่วงสิงหาคมถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 นักแสดงนำ คือ หลิว อี้เฟย์ เป็น มู่หลาน นักแสดงสมทบ คือ เจิน จื่อตัน, หลี่ เจี๋ย, อาน โย่วซิน, กง ลี่, และหลี่ เหลียนเจี๋ย
มู่หลาน | |
---|---|
![]() ใบปิดภาพยนตร์ | |
กำกับ | นิกี คาโร |
เขียนบท |
|
สร้างจาก | ตำนานฮวา มู่หลาน |
อำนวยการสร้าง |
|
นักแสดงนำ | |
กำกับภาพ | แมนดี วอล์กเกอร์ |
ตัดต่อ | เดวิด โคลสัน |
ดนตรีประกอบ | แฮร์รี เกร็กสัน-วิลเลียมส์[1] |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย | วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์โมชันพิกเชอส์ |
วันฉาย |
|
ความยาว | 115 นาที[2] |
ประเทศ |
|
ภาษา |
|
ทุนสร้าง | 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] |
ทำเงิน | 70.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[4][5] |
เดิม มู่หลาน มีกำหนดออกฉายวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ก่อนจะถูกเลื่อนวันฉายออกไป 3 ครั้ง ต่อมาวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ดิสนีย์ประกาศเลื่อนวันฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ออกไปอย่างไม่มีกำหนดเนื่องจากการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาที่กำลังดำเนินอยู่[6] แต่ท้ายที่สุดดิสนีย์ประกาศฉาย มู่หลาน ในสหรัฐผ่านทางสื่อส่งผ่านสัญญาณต่อเนื่องดิสนีย์+ ในวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2563[7] ขณะที่ในประเทศไทยเข้าฉายในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2563 ในโรงภาพยนตร์[8]
เนื้อเรื่อง
ประเทศจีนสมัยศักดินา มีสตรีนาม ฮวา มู่หลาน (花木蘭) มีอุปนิสัยกล้าบ้าบิ่น ซึ่งขัดต่อใจของบิดามารดาที่หวังว่า วันหนึ่งบุตรสาวจะได้สามีดี ๆ และบีบให้บุตรสาวเข้าพบแม่สื่อเพื่ออบรมการเป็นแม่ศรีเรือน แต่มู่หลานก่อความวุ่นวายในขณะรินน้ำชาให้แม่สื่อจึงถูกด่าทอว่า เป็นความอดสูของวงศ์ตระกูล
ขณะเดียวกัน ปู้ลี่ข่าน (布利可汗) ซึ่งได้ความอนุเคราะห์จากแม่มดเซียนเหนียง (仙娘) นำกำลังเมืองข่านโหรวหราน (柔然) รุกรานเข้ามาทางภาคเหนือ สมเด็จพระจักรพรรดิจึงทรงเรียกเกณฑ์ทหารไปรับศึก รับสั่งให้ทุกครอบครัวต้องส่งบุรุษอย่างน้อยหนึ่งคนเข้ากองทัพ เจ้าหน้าที่มาถึงหมู่บ้านของมู่หลานเพื่อเกณฑ์ชาย ฮวา โจว (花周) บิดาของมู่หลาน ซึ่งสูงวัยและสุขภาพย่ำแย่แล้ว จำต้องเข้ารับใช้บ้านเมืองเนื่องจากหาบุตรชายมิได้ มู่หลานเห็นว่าบิดาไปก็เป็นแต่ไปตาย จึงลักเกราะ ม้า และอาวุธของบิดาหลบหนีไปเข้ากองทัพแทนบิดา และได้เข้ารับการฝึกทหารของแม่ทัพต่ง (董將軍) โดยปลอมตนเป็นชายและใช้ชื่อว่า ฮวา จวิน (花军)
เมื่อกองทัพข่านรุกหน้ามาเรื่อย ๆ แม่ทัพต่งจำต้องยุติการฝึกและส่งกองกำลังออกไปรับหน้า ขณะออกศึกมู่หลานเผชิญหน้ากับแม่มดเซียนเหนียงผู้ทราบว่า แท้จริงแล้วมู่หลานเป็นหญิง และพยายามสังหารมู่หลาน แต่ไม่สำเร็จจึงหนีไป ส่วนมู่หลานได้กระทำให้หิมะถล่มเพื่อหยุดยั้งกองทัพข่าน แล้วขี่ม้ากลับค่ายไปช่วยนายทหารนาม เฉิน หงฮุย (陳洪輝) ทั้งสองได้ผูกมิตรภาพกัน แต่เนื่องจากทุกคนทราบแล้วว่า มู่หลานเป็นหญิง มู่หลานจึงได้รับคำสั่งให้กลับบ้านไปเสีย
ระหว่างทาง มู่หลานพบแม่มดเซียนเหนียงอีก แม่มดเผยว่า ที่ช่วยเมืองข่าน เพราะฝังใจที่ถูกผู้คนรังเกียจที่เป็นแม่มด และซึ้งใจที่ข่านปฏิบัติกับตนอย่างเท่าเทียม ทั้งว่า การโจมตีที่ผ่านมาเป็นแต่แผนเบนความสนใจ เพราะแผนที่แท้จริงของข่าน คือ บุกเข้าเมืองหลวงไปปลงพระชนม์พระจักรพรรดิแก้แค้นที่ประหารบิดาข่านแต่ครั้งก่อน มู่หลานจึงกลับไปแจ้งแก่กองทัพ แม้การกลับไปอาจมีโทษถึงชีวิตก็ตาม อย่างไรก็ดี แม่ทัพต่งเชื่อถือมู่หลาน และยอมให้นางร่วมภารกิจช่วยเหลือจักรพรรดิ
ที่พระราชวัง ข่านท้าให้จักรพรรดิมาสู้กันตัวต่อตัว ขณะที่ทหารองครักษ์ถูกแม่มดกำจัดสิ้นแล้ว และกองทัพข่านก็เตรียมเผาจักรพรรดิทั้งเป็น เมื่อกองกำลังของมู่หลานมาถึง ก็เบนความสนใจของชาวเมืองข่านด้วยกลวิธีต่าง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้มู่หลานบุกเข้าไปถวายอารักขา ข่านใช้เกาทัณฑ์ยิงมู่หลาน แต่แม่มดเกิดสงสาร จึงแปลงตนเป็นนกไปรับลูกศรแทนจนถึงแก่ความตาย มู่หลานได้รบกับข่าน ข่านทำลายกระบี่ประจำตระกูลของมู่หลาน แต่มู่หลานก็ทำลายชีวิตข่านได้สำเร็จ และไปปลดปล่อยจักรพรรดิจากพันธนาการ พระองค์ทรงเสนอให้นางเข้าเป็นราชองครักษ์ แต่นางทูลปฏิเสธและขอกลับคืนไปบ้านเดิม
เมื่อมู่หลานถึงบ้านแล้ว จักรพรรดิทรงให้แม่ทัพต่งนำกระบี่เล่มใหม่มาประทานแก่มู่หลาน ส่วนแม่ทัพก็เสนอเป็นการส่วนตัวให้มู่หลานเข้าเป็นทหารองครักษ์
นักแสดง
- หลิว อี้เฟย์ เป็น ฮวา มู่หลาน (花木蘭): บุตรสาวของฮวา หู ฝ่าฝืนประเพณีและกฎหมายโดยปลอมเป็นชายไปเป็นทหารแทนบิดาที่ป่วย (เสียงพากย์ไทยโดย พิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์)
- เจิน จื่อตัน เป็น แม่ทัพต่ง (董將軍): พี่เลี้ยงและครูฝึกของมู่หลาน เป็นหัวหน้าทหารหลวง
- หลี่ เจี๋ย เป็น ปู้ลี่ข่าน (布利可汗): ผู้นำนักรบชาวฮั่น ร่วมมือกับแม่มดเซียนเหนียงเพื่อแก้แค้นแทนบิดา
- อาน โย่วซิน เป็น เฉิน หงฮุย (陳洪輝): ชายหนุ่มมาดมั่นเด็ดเดี่ยว ถูกเกณฑ์เข้ากองทหารของแม่ทัพถัง เป็นคู่ปรับมู่หลาน ต่อมาเป็นเพื่อนร่วมรบและร่วมรัก
- กง ลี่ เป็น เซียนเหนียง (仙娘): แม่มดที่มีฤทธิ์และมุ่งร้าย ผู้ร่วมมือกับปู้ลี่ข่าน
- หลี่ เหลียนเจี๋ย เป็น จักรพรรดิ: พระมหากษัตริย์ผู้ปกครองจีนโดยธรรม รับสั่งให้เกณฑ์บุรุษครอบครัวละหนึ่งคนไปรบทัพฮั่น
- รอน หยวน เป็น เจียง (姜副官): รองหัวหน้าทหารหลวงผู้จงรักภักดี
- หมา จื้อ เป็น ฮวา โจว (花周): บิดาของมู่หลาน อดีตขุนศึกเลื่องชื่อ แม้ป่วยก็ถูกเรียกกลับเข้าประจำการ
- จ้าว เจียหลิง เป็น ฮวา หลี่ (花李): มารดาของมู่หลาน
- Xana Tang เป็น ฮวา ซิ่ว (花秀): น้องสาวของมู่หลาน
- จิมมี วอง เป็น Ling: นายทหารในหน่วยของแม่ทัพถัง
- Doua Moua เป็น Po: นายทหารในหน่วยของแม่ทัพถัง
- Chen Tang เป็น Yao: นายทหารในหน่วยของแม่ทัพถัง
- Utkarsh Ambudkar เป็น Skatch: นักต้มตุ๋น และสหายของ Ramtish
- Chum Ehelepola เป็น Ramtish: นักต้มตุ๋น และสหายของ Skatch
- เนลสัน ลี เป็น อัครมหาเสนาบดี: หัวหน้าเสนาบดีและองคมนตรี
- เจิ้ง เพ่ย์เพ่ย์ เป็น แม่สื่อ: สตรีเข้มงวดน่าเกรงขาม ทำหน้าที่จัดการสมรสและประเมินความเป็นไปได้ของการเป็นเจ้าสาว โดยเฉพาะของมู่หลาน
นอกจากนี้ มีรายงานว่า Jun Yu จะพากย์เสียงเป็นจิ้งหรีดของมู่หลาน[9]
ความขัดแย้ง
การคว่ำบาตร
เริ่มมีการเรียกร้องให้คว่ำบาตรภาพยนตร์เรื่องนี้ หลังจากที่หลิว อี้เฟย์ ผู้แสดงเป็นมู่หลาน แชร์โพสต์จากหนังสือพิมพ์ พีเพิลส์เดลี (People's Daily) ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งเป็นรูปฟู่ กั๋วหาว (付國豪) นักข่าวจากหนังสือพิมพ์ โกลบ็อลไทมส์ (Global Times) ของพรรคคอมมิวนิสต์ ถูกผู้ชุมนุมในการประท้วงต่อต้านรัฐบาล รุมทำร้าย และหลิว อี้เฟย์ ลงข้อความประกอบว่า ภาพดังกล่าวเป็นความอัปยศของฮ่องกง และตนสนับสนุนตำรวจฮ่องกง ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในระดับสากลว่า หลิว อี้เฟย์ สนับสนุนให้ตำรวจใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม มีการใช้แฮชแท็ก #BoycottMulan (คว่ำบาตรมู่หลาน) เพื่อต่อต้านภาพยนตร์เรื่องนี้ และแฮชแท็กดังกล่าวก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว[10][11][12]
สืบเนื่องจากเรื่องดังกล่าว หลิว อี้เฟย์ จึงไม่เข้าร่วมงาน ดี23 เอ็กซ์โป 2019 ซึ่งเปิดให้สาธารณชนได้ชมตัวอย่างภาพยตร์เรื่องนี้[13]
การถอดบทนายกองหลี่
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เจสัน ที. รีด (Jason T. Reed) ผู้อำนวยการผลิตภาพยนตร์นี้ แถลงว่า ได้ถอดบทของนายกองหลี่ (李少尉) ซึ่งเป็นคนรักของมู่หลานในฉบับแอนิเมชัน ออกจากฉบับภาพยนตร์ โดยกล่าวว่า การมีทหารอยู่ในภาพยนตร์ทำให้เป็นที่ลำบากใจอย่างยิ่ง[14] ถ้อยแถลงดังกล่าวเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในกลุ่มหลากหลายทางเพศซึ่งมองว่า ความรักระหว่างนายกองหลี่ กับมู่หลานที่ปลอมตัวเป็นชาย เป็นความรักแบบไบเซ็กชวล[15][16]
เจสัน ที. รีด กล่าวว่า เบื้องต้นประหลาดใจที่ได้เสียงตอบรับดังกล่าว แต่ก็ยอมรับว่า ตัวละครนายกองหลี่นี้เป็น "ตัวแทนของกลุ่มหลากหลายทางเพศ" ไปแล้ว[17] ทั้งชี้แจงว่า ได้นำตัวละครใหม่สองตัวมาใส่แทนนายกองหลี่ คือ แม่ทัพต่ง กับเฉิน หงฮุย[15][17]
การไม่ใช้คนเอเชียกำกับ
ดิสนีย์ถูกวิพากษ์วิจารณ์ที่ใช้คนผิวขาวเป็นผู้กำกับภาพยนตร์นี้ แทนที่จะใช้ชาวเอเชีย เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว นิกี คาโร (Niki Caro) ผู้รับหน้าที่กำกับภาพยนตร์ แถลงในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ว่า แม้ภาพยนตร์นี้จะเป็นเรื่องจีนและดำเนินเรื่องในวัฒนธรรมกับประวัติศาสตร์จีน แต่ก็มีวัฒนธรรมอื่นเจือปนอยู่ด้วย ซึ่งก็คือวัฒนธรรมของดิสนีย์ ใครก็ตามที่มากำกับต้องคุมได้ทั้งสองวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเหตุให้ตนได้รับตำแหน่งผู้กำกับ[18]
การถ่ายทำในซินเจียง
ภาพยนตร์ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ที่ถ่ายทำในซินเจียงอันเป็นที่ตั้งค่ายกักกันชาวเติร์ก และท้ายภาพยนตร์ ดิสนีย์ยังขึ้นข้อความขอบคุณหน่วยงานราชการจีนหลายแห่ง รวมถึงคณะกรรมการท้องถิ่นหลายคณะของพรรคคอมมิวนิสต์จีน กับสำนักความมั่นคงสาธารณะ (public security bureau) ซึ่งควบคุมค่ายกักกันดังกล่าว[19][20]
จอช ฮอว์ลีย์ (Josh Hawley) สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐ มีหนังสือเรียกให้บ็อบ ชาเพก (Bob Chapek) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของดิสนีย์ ชี้แจงว่า รัฐบาลจีนเกี่ยวข้องอย่างไรในภาพยนตร์นี้[21] และมูลนิธิสิทธิมนุษยชน (Human Rights Foundation) มีหนังสือถึงบ็อบ ชาเพก ให้ดิสนีย์แถลงประณามการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้ชัดเจน และพิจารณาบริจาครายได้ของภาพยนตร์เพื่อการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในซินเจียง[21]
รอยเตอส์รายงานว่า หลังจากที่ภาพยนตร์ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในระดับสากลโดยมีประเด็นเชื่อมโยงกับซินเจียง รัฐบาลจีนได้ห้ามสื่อมวลชนในประเทศเสนอข่าวเกี่ยวกับภาพยนตร์นี้[22]
อ้างอิง
- ↑ "Harry Gregson-Williams to Score Disney's 'Mulan' Live-Action Movie". Film Music Reporter. สืบค้นเมื่อ August 24, 2018.
- ↑ "MULAN (12A) - BFI". British Board of Film Classification. March 12, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 29, 2020. สืบค้นเมื่อ June 26, 2020.
- ↑ Pallotta, Frank (February 14, 2020). "Disney's 'Mulan' was supposed to be a big hit in China. The coronavirus could threaten that". CNN Business. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 14, 2020. สืบค้นเมื่อ February 22, 2020.
- ↑ "Mulan (2020)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ November 8, 2020.
- ↑ "Mulan (2020)". The Numbers. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 21, 2020. สืบค้นเมื่อ November 8, 2020.
- ↑ ธนากร สุนทร (July 24, 2020). "A Quiet Place 2 เลื่อนไปฉายปี 2021, Mulan เลื่อนไปไม่มีกำหนด, ส่วนภาคต่อ Avatar และไตรภาคใหม่ Star Wars เปลี่ยนวันฉายใหม่เช่นกัน". The Standard. สืบค้นเมื่อ July 24, 2020.
- ↑ Cholsiripong, Thongchai (August 5, 2020). "เลื่อนต่อไปไม่ไหวแล้ว Disney เตรียมปล่อยหนัง Mulan เวอร์ชันคนแสดง ผ่านสตรีมมิ่ง Disney+ แบบชนโรง". Brand Inside. สืบค้นเมื่อ August 5, 2020.
- ↑ เก้า มีนานนท์ (August 5, 2020). "ระวัง…สิ้นสุดทางเลื่อน Mulan เตรียมเข้าฉายในไทย 3 กันยายนนี้". The Standard. สืบค้นเมื่อ August 5, 2020.
- ↑ Liptak, Andrew (July 7, 2019). "Watch the first trailer for Disney's live-action remake of Mulan". The Verge. สืบค้นเมื่อ July 7, 2019.
- ↑ Ramzy, Austin (August 14, 2019). "Soul Searching Among Hong Kong Protesters After Chaos at Airport". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 18, 2019. สืบค้นเมื่อ August 16, 2019.
- ↑ Yeung, Jessie (August 16, 2019). "Hong Kong protesters call for 'Mulan' boycott after star went public in support of police". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 18, 2019. สืบค้นเมื่อ August 16, 2019.
- ↑ "Liu Yifei: Mulan boycott urged after star backs HK police". BBC. August 16, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 18, 2019. สืบค้นเมื่อ August 16, 2019.
- ↑ Nissen, Dano (August 24, 2019). "'Mulan' Star Crystal Yifei Liu Skips D23 Amid International Controversy". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 23, 2019. สืบค้นเมื่อ October 26, 2019.
- ↑ Szany, Wendy Lee (February 27, 2020). "'Mulan': Why Captain Li Shang Isn't in the Live-Action Remake". Collider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 29, 2020. สืบค้นเมื่อ March 2, 2020.
- ↑ 15.0 15.1 Maleh, Linda (February 28, 2020). "Disney Blames #MeToo For Li Shang's Absence From 'Mulan' In New Controversy". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 29, 2020. สืบค้นเมื่อ March 2, 2020.
- ↑ "Mulan: Disney drop character following #MeToo movement". BBC News. March 2, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 2, 2020. สืบค้นเมื่อ March 2, 2020.
- ↑ 17.0 17.1 Rearick, Lauren (February 28, 2020). "Mulan" Love Interest Li Shang Was Reportedly Split Into Two Characters Because of MeToo". Teen Vogue. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 3, 2020. สืบค้นเมื่อ March 2, 2020.
- ↑ Ford, Rebecca (February 26, 2020). "Inside Disney's Bold $200M Gamble on 'Mulan': "The Stakes Couldn't Be Higher"". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 26, 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-09-09.
- ↑ Kuo, Lily (September 7, 2020). "Disney remake of Mulan criticised for filming in Xinjiang". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 7, 2020. สืบค้นเมื่อ September 7, 2020.
- ↑ "Disney criticised for filming Mulan in China's Xinjiang province". BBC News. September 7, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 8, 2020. สืบค้นเมื่อ September 7, 2020.
- ↑ 21.0 21.1 Bond, Paul (11 September 2020). "As Mulan Opens in China, Disney is Under Fire From All Sides in America". Newsweek (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 September 2020.
- ↑ "Exclusive: China bars media coverage of Disney's "Mulan" after Xinjiang backlash - sources". Reuters. September 10, 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 10, 2020. สืบค้นเมื่อ September 10, 2020.