บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด ดำเนินกิจการภายใต้ชื่อ มิว สเปซ คอร์ป เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนด้านการบินและอวกาศ และให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ก่อตั้งโดย วรายุทธ เย็นบำรุง ในปี พ.ศ. 2560 โดยมีเป้าหมายที่จะค้นคว้า วิจัย และพัฒนาการให้บริการดาวเทียม[1] รวมถึงจำหน่ายผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี พัฒนาเทคโนโลยีด้านการบินและอวกาศ และให้บริการด้านโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด
ประเภทธุรกิจเอกชน
อุตสาหกรรมอวกาศ
ก่อตั้ง21 มิถุนายน 2560 (7 ปี)
ผู้ก่อตั้งวรายุทธ เย็นบำรุง
สำนักงานใหญ่กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
13°46′41″N 100°32′36″E / 13.7780794°N 100.5433054°E / 13.7780794; 100.5433054
บริการ
พนักงาน
60
เว็บไซต์www.muspacecorp.com/th

บริษัทเริ่มด้วยทุนจดทะเบียน 3 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้ให้ใบอนุญาต 15 ปีแก่มิว สเปซ และเพิ่มอีก 5 ปีในการให้บริการด้านดาวเทียมภายในประเทศ[2]

มิว สเปซ ในช่วงแรกมุ่งมั่นที่จะนำเทคโนโลยีดาวเทียมมาใช้กับโครงการเครือข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ โดยเริ่มดำเนินกิจการ และค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับอวกาศ[3]

บริษัทได้ทำการทดลอง โดยส่งสัมภาระขึ้นไปยังสภาพแทบจะไร้แรงโน้มถ่วง (ไมโคร กราวิตี้) ไปยังอวกาศกับจรวดนิว เชพเพิร์ด ของบริษัทบลู ออริจินในเดือนกรกฎาคม 2561 [4] และเผยแพร่ภาพสามมิติของชุดอวกาศสำหรับนักบินอวกาศและการท่องอวกาศในเดือนกันยายน 2561[5] มิว เปซได้เซ็นสัญญากับบลู ออริจิน เพื่อส่งดาวเทียมขึ้นไปกับจรวดนิว เกล็น[6] และเซ็นสัญญากับบริษัท รีเลทิวิตี้ สเปซ เพื่อส่งดาวเทียมไปกับจรวดเทอร์ราน 1 ซึ่งสร้างด้วยเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติ[7]

มิว สเปซได้ดำเนินภารกิจการส่งสัมภาระหรือ Payload ร่วมกับบลู ออริจิน อย่างต่อเนื่อง ในการส่งสัมภาระและ อุปกรณ์ต่างๆ ขึ้นไปกับจรวดนิว เชพเพิร์ด ภายใต้ภารกิจ New Shepard Mission (NS-13) โดยในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2563 นั้นได้ทำการส่งเป็นครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นสัมภาระที่มีขนาดใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ประเทศไทยเคยมีการส่งวัตถุขึ้นไปในอวกาศ โดยได้รับความร่วมมือกับ องค์กรใหญ่ในประเทศหลายแห่ง เช่น บริษัท ทีโอที จำกัด (TOT) และภาคส่วนของสื่อและศิลปินจากหลากหลายองค์กร ตลอดจนกลุ่มเยาวชน เด็กรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่างๆ มาร่วมในครั้งนี้ด้วย[8]

ในเดือนกันยายน 2563 มิว สเปซลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)  เพื่อศึกษาและวิจัยความเป็นไปได้และโอกาสในการดำเนินธุรกิจเทคโนโลยีไร้สาย ดาวเทียมวงโคจรต่ำ (LEO)  รวมทั้งมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมอวกาศและบริการโทรคมนาคม 5G[9] ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 มิว สเปซและทีโอที ร่วมมือกันสร้างสถานีเกตเวย์หลายแห่ง โดยเริ่มที่กรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับการใช้งานของดาวเทียมวงโคจรต่ำ (Low Earth Orbit Satellite: LEO) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต[10]

มิว สเปซได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ แอร์บัส (Airbus Defence and Space SAS) บริษัทชั้นนำด้านการผลิตอากาศยานระดับโลก ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 โดยสาระสำคัญของความร่วมมือครั้งนี้ ครอบคลุมถึงภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจระยะไกล (Earth-observation) ระบบการเฝ้าระวังทางอวกาศ (Space Situational Awareness: SSA) กลุ่มดาวเทียมในวงโคจรระดับต่ำ (LEO satellite constellations) การสำรวจดาวเคราะห์ในอวกาศ (Planetary mission) และระบบนำทางด้วยดาวเทียม (Global Navigation Satellite Systems: GNSS)[11]

สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก

แก้

สำนักงานและสถานที่วิจัยของมิว สเปซในปัจจุบันตั้งอยู่ที่เขตพญาไท กรุงเทพฯ ส่วนการดำเนินการด้านการวิจัยและพัฒนาจะอยู่ที่โรงงานหมายเลข 00 บนถนนวิภาวดีรังสิต 64 ซึ่งเป็นโรงงานผลิตแห่งแรกของบริษัทฯ มิว สเปซยังมีโรงงานขนาดกลาง (โรงงานหมายเลข 01) ซึ่งตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต 64 เช่นเดียวกัน

สำนักงานส่วนภูมิภาค (Regional Office)

แก้

สำนักงานของมิว สเปซที่กรุงเทพฯ ตั้งขึ้นเมื่อกลางปี 2561ที่ตึกเพิร์ลบนถนนพหลโยธิน เขตพญาไท กรุงเทพฯ

โรงงานหมายเลข 00

แก้

ในเดือนธันวาคม 2563 มิว สเปซได้ก่อตั้งโรงงานขนาดเล็กด้วยเนื้อที่ประมาณ 200 ตารางเมตรเพื่อรองรับกำลังในการผลิตสำหรับพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยี ได้แก่ ชิ้นส่วนดาวเทียมและเทคโนโลยีอื่นๆ โรงงานแห่งนี้ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ห้อง Metal 3D printing ห้องคลีนรูม และห้องปฏิบัติการเคมี[12]

โรงงานหมายเลข 01

แก้

ในเดือนเมษายน 2564 มิว สเปซได้ก่อตั้งโรงงานแห่งใหม่ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าเดิม 10 เท่า ด้วยเนื้อที่ 2202 ตารางเมตร โรงงาน 01 สร้างขึ้นเพื่อพัฒนา ทดสอบ และผลิตชิ้นส่วนดาวเทียมเพื่อใช้ภายในบริษัทฯ และสำหรับลูกค้า โรงงานแห่งใหม่ แบ่งออกเป็น 6 โซน ได้แก่ ห้องปฏิบัติการเคมี ห้องยานอวกาศ ห้องดาวเทียม ห้องหุ่นยนต์ ห้องมอเตอร์ และห้องระบบพลังงาน[13]

เทคโนโลยี

แก้

ดาวเทียมสื่อสาร

แก้

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติได้ให้ใบอนุญาตแก่มิว สเปซ จนถึงปีพ.ศ. 2575 สำหรับการดำเนินกิจการดาวเทียมและให้บริการในประเทศไทย[2] ในปี 2561 มิว สเปซ เริ่มติดตั้งอุปกรณ์ด้วยแผนที่จะใช้งานดาวเทียมของบริษัทเอสอีเอส เพื่อให้บริการบรอดแบนด์ในประเทศไทยแก่โครงการภาครัฐ[14][15]

มิว สเปซ และบริษัทโทรคมนาคมของประเทศไทยได้ลงนามในโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาศูนย์ให้บริการข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตบนอวกาศ (Space IDC) เพื่อให้บริการศูนย์ข้อมูลและเซิร์ฟเวอร์บนอวกาศ[16][17]

บริษัทฯ ได้บรรลุข้อตกลงปล่อยดาวเทียมออกไปยังวงโคจรค้างฟ้ากับบลู ออริจิน ในปีพ.ศ. 2561[18]

การส่งสัมภาระขึ้นไปยังอวกาศ

แก้

จรวดนิว เชิพเพิร์ด ของบลู ออริจิน

แก้

มิวสเปซดำเนินภารกิจการส่งสัมภาระหรือPayload ร่วมกับบลูออริจิน อย่างต่อเนื่องในการส่งสัมภาระและ อุปกรณ์ต่างๆขึ้นไปกับจรวด New Shepard ภายใต้ภารกิจ New Shepard Mission (NS-13) วัตถุภายในสัมภาระที่ส่งขึ้นไปบนอวกาศ มีตั้งแต่อุปกรณ์ห้ามเลือดแบบซิลิโคนที่ใช้ในโรงพยาบาล ท่อนาโนคาร์บอน อาหารในถุงสูญญากาศ และวัตถุอื่นๆ โดยมิว สเปซได้ทำการส่งสัมภาระขึ้นไปในอวกาศกับจรวด นิว เชพเพิร์ดของบลู ออริจินถึง 4 ครั้งภายใน 3 ปีตั้งแต่ปี 2561-2563 จุดประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักให้กับสาธารณะชนเกี่ยวกัสภาพบสภาพแทบจะไร้แรงโน้มถ่วง (ไมโคร กราวิตี้) บนอวกาศ  ในช่วงกลางปี 2563 มิว สเปซยังได้ส่งสัมภาระที่มีขนาดใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ประเทศไทยเคยมีการส่งวัตถุขึ้นไปในอวกาศ ซึ่งภายในประกอบไปด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เซ็นเซอร์ และวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ โดยได้รับความร่วมมือจากองค์กรใหญ่ในไทยหลายแห่ง เช่น บริษัท ทีโอที จำกัด นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนของสื่อ และศิลปินจากหลากหลายองค์กร ตลอดจนกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่างๆ มาร่วมในครั้งนี้ เพื่อส่งการทดลองขึ้นไปยังอวกาศสำหรับการศึกษาเกี่ยวกับไร้น้ำหนักและการทำความเข้าใจการเก็บรักษาข้อมูลดีเอ็นเอ[19]

การให้บริการสัญญาณ 5G

แก้

มิว สเปซให้บริการการออกแบบและวางระบบแบบครบวงจรสำหรับเครือข่าย 5G สำหรับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริการต่างๆ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานของสัญญาณ 5G (สายอากาศ และอุปกรณ์เครือข่าย) อุปกรณ์ของผู้ใช้งานเครือข่าย 5G (อุปกรณ์ปลายทางสำหรับหุ่นยนต์ และเครื่องจักร) ซอฟต์แวร์สำหรับกรณีใช้งานแบบเฉพาะ (อุปกรณ์ทดสอบสัญญาณ 5G และอุปกรณ์วิเคราะห์สัญญาณ 5G) และการติดตั้ง (สถานีฐานและการประมวลผลข้อมูลให้แสดงผลเร็วใกล้เคียงกับความเร็วของเครือข่ายหรือแหล่งข้อมูล)

ความร่วมมือ

แก้
 
ภาพภายในถ้ำหลวง

ภารกิจช่วยเหลือที่ถ้ำหลวง

แก้

มิว สเปซรวบรวมทีมวิศวกรเพื่อเข้าช่วยเหลือในภารกิจการกู้ภัยเด็ก 12 คน และโค้ชที่ติดอยู่ภายในถ้ำหลวง ที่ประเทศไทย บริษัทได้ร่วมมือกับ กูเกิ้ล และเทคโนโลยีสภาพอากาศต่างๆ ที่คอยให้ข้อมูลการพยากรณ์สภาพอากาศแก่ทีมกู้ภัย[20]

อีลอน มัสก์ ผู้ก่อตั้งบริษัท บอริ่ง คอมพานี ก็ได้เสนอความช่วยเหลือ และแนะนำแผนการกู้ภัยของเขาผ่านทางทวิตเตอร์ กับเจมส์ เย็นบำรุง ผู้ก่อตั้งมิว สเปซ[21] ต่อมาอีลอนได้บินมาที่ประเทศไทยด้วยเครื่องบินส่วนตัว และมอบเรือดำน้ำขนาดสำหรับเด็กที่ทีมวิศวกรของเขาได้พัฒนาขึ้นมาสำหรับภารกิจการกู้ภัยนี้ อย่างไรก็ตามหน่วยงานของไทยตัดสินใจที่จะไม่นำเรือดำน้ำนั้นมาใช้งาน[22]

อ้างอิง

แก้
  1. https://mgronline.com/business/detail/9610000024726
  2. 2.0 2.1 https://www.modify.in.th/21060
  3. https://www.isranews.org/isranews-pr-news/63160-corp.html
  4. https://voicetv.co.th/read/ryHfJWkE7
  5. http://news.siamphone.com/news-38121.html
  6. "Mu Space startup signs on as 3rd customer for Blue Origin's New Glenn". The Enterprise Orbit (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-09-27.
  7. Howell, Elizabeth. "A 3D-Printed Rocket Will Launch A Thai Satellite Into Space". Forbes (ภาษาอังกฤษ).
  8. Thailand, The Story (2020-09-01). "'มิว สเปซ' จับมือพันธมิตร เตรียมส่งอุปกรณ์ทดลองสู่อวกาศ | The Story Thailand".
  9. "ทีโอที จับมือ มิว สเปซ ลุยเทคโนโลยีอวกาศ มองดาวเทียมวงโคจรต่ำ ตอบโจทย์ดิจิทัลในอนาคต". www.thairath.co.th. 2020-09-24.
  10. https://www.thansettakij.com/content/tech/462017
  11. "'มิว สเปซ'เซ็น MOU 'แอร์บัส' พัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศไทย". dailynews. 2021-02-11.
  12. https://siamrath.co.th/n/207453
  13. https://www.matichon.co.th/publicize/news_2419640
  14. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-19. สืบค้นเมื่อ 2019-01-28.
  15. https://mgronline.com/business/detail/9610000024726
  16. https://www.thereporter.asia/th/2020/12/28/space-idc/
  17. https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9630000107972
  18. https://www.bbc.com/thai/thailand-43382480
  19. https://www.khaosod.co.th/pr-news/news_3180491
  20. http://www.adslthailand.com/post/%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A7-%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%8B-%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8-blue-origin-%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99[ลิงก์เสีย]
  21. http://www.mcot.net/view/5b3eb976e3f8e4f609861a9a
  22. https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000068803

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้