มาโยนากะโนะโดอะ

มาโยนากะโนะโดอะ ~ สเตย์วิธมี (ญี่ปุ่น: 真夜中のドア〜Stay with Me หรือรู้จักในชื่อ Mayonaka no Door (Stay with Me)) เป็นซิงเกิลเดบิวต์ของนักร้องชาวญี่ปุ่น มิกิ มัตซูบาระ ปล่อยเมื่อ 5 พฤศจิกายน 1979 ก่อนจะได้รับความนิยมใหม่อีกครั้งในปี 2020 หรือ 41 ปีให้หลัง

"มาโยนากะ โนะ โดอะ (สเตย์วิธมี)"
ซิงเกิลโดยมิกิ มัตซูบาระ
จากอัลบั้มPocket Park
วางจำหน่าย5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1979 (1979-11-05)[1]
แนวเพลงซีตีป็อป[2]
ค่ายเพลงโพนีแคนยอน
ผู้ประพันธ์ดนตรีเท็ตซูจิ ฮายาชิ
ผู้ประพันธ์เนื้อเพลงโทกูโกะ มิอูระ
ลำดับซิงเกิลของมิกิ มัตซูบาระ
"มาโยนากะ โนะ โดอะ (สเตย์วิธมี)"
(1979)
"ไอ วะ เอเนอร์จี้"
(1979)

การประพันธ์และการปล่อย แก้

มัตซูบาระอัดเพลง "มาโยนากะโนะโดอะ" ครั้งแรกเมื่อเธออายุ 19 ปี สองปีก่อนที่เธอจะเดบิวต์ เธอย้ายออกจากบ้านเกิดที่โอซากะ ไป โตเกียว ผู้ประพันธ์ดนตรี เท็ตซูจิ ฮายาชิ แต่งทำนองขึ้นโดยใช้รูปแบบ "แนวใหม่" (new music) ที่ได้รับอิทธิพลมาจากดนตรีตะวันตก แนวเพลงใหม่นี้ต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อ ซิตีป็อป[3] ในบทสัมภาษณ์กับ เดอะเจแปนไตมส์ ฮายาชิชื่นชมเสียงร้องของนักร้องหน้าใหม่คนนี้ ระบุว่า: "เราไม่ได้คาดหวังว่าเธอจะร้องเพลงออกมาด้วยน้ำเสียงที่เป็นผู้ใหญ่อย่างมาก (a very mature voice) ไปไกลกว่าอายุของเธอ แต่ก็ยังคงความแจ๊ซ (jazzy)... และอาจถึงขั้นเซ็กซี (sexy)"[3]

เพลงนี้ถือว่าประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ด้วยอันดับสูงสุดที่ 28 บนออริคอนซิงเกิลส์ชาร์ต รวมถึงช่วยสร้างความนิยมและชื่อเสียงให้กับทั้งมัตซูบาระและฮายาชิ[4] ถึงแม้ต่อมามัตซูบาระจะมีผลงานเพลงอีกมากมายตลอดชีวิตในวงการดนตรีของเธอ แต่เพลง "มาโยนากะโนะโดอะ" ก็ได้รับการยกย่องให้เป็นผลงานชิ้นที่ดีที่สุดของเธอตลอดกาล[3][4]

ความนิยมระลอกใหม่ แก้

ในปลายปี 2020 "มาโยะนากาโนะโดอะ" ได้รับความนิยมระลอกใหม่จากผู้ฟังนานาชาติ นิตยสาร บิลบอร์ด ระบุว่าคลื่นลูกใหม่นี้มาจากนักร้องชาวอินโดนีเซีย Rainych ผู้ทำดนตรีคัฟเวอร์เพลงญี่ปุ่นเป็นปกติอยู่แล้ว ได้ปล่อยคัฟเวอร์เพลง "มาโยนากะโนะโดอะ" บนช่องยูทูบเมื่อเดือนตุลาคม ทำให้เพลงกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งในอินโดนีเซีย ก่อนจะแพร่กระจายไปทั่วโลก จากนั้นเพลงปรากฏบนชาร์ตยอดนิยมของบริการสตรีมดนตรี ทั้งสปอติฟาย และ แอปเปิลมิวสิก[2] ในช่วงเวลาเดียวกัน เพลงนี้ยังถูกนำไปใช้ประกอบเทรนด์บนสื่อติ๊กต็อก ซึ่งแสดงวิดีโอผู้คนเปิดเพลงนี้ขึ้นและมีคุณแม่ชาวญี่ปุ่นร้องตามโดยทันทีเมื่อได้ยิน[3][5]

อันดับ แก้

ชาร์ต ตำแหน่ง
สูงสุด
ญี่ปุ่น (ออริคอนซิงเกิลส์ชาร์ต)[4] 28

ดูเพิ่ม แก้

  • พลาสติกเลิฟ เพลงแนวซิตีป็อปอีกเพลงที่ได้รับความนิยมระลอกใหม่ในปี 2017

อ้างอิง แก้

  1. "Matsubara Miki (7-inch single Vinyl) "Mayonaka no Door / Stay With Me" Release in March 31st 2021". Pony Canyon Shop. สืบค้นเมื่อ July 19, 2021.
  2. 2.0 2.1 Matsunaga, Ryohei (December 21, 2020). "Global Popularity of 1979 City Pop Track 'Mayonaka no Door - Stay With Me' Explained". Billboard. สืบค้นเมื่อ July 19, 2021.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 St. Michel, Patrick (March 11, 2021). "How TikTok resurrected a Japanese pop star's defining hit". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ July 19, 2021.
  4. 4.0 4.1 4.2 Chan, Justin (January 8, 2021). "A Japanese song has unpredictably become a massive hit among TikTokers — and their parents". In The Know. Yahoo News. สืบค้นเมื่อ July 19, 2021.
  5. Zhang, Cat (February 24, 2021). "The Endless Life Cycle of Japanese City Pop". Pitchfork. สืบค้นเมื่อ July 19, 2021.