มิกิ มัตสึบาระ
มิกิ มัตสึบาระ (ญี่ปุ่น: 松原 みき; โรมาจิ: Matsubara Miki, 28 พฤศจิกายน 1959 – 7 ตุลาคม 2004) เป็นนักร้องและนักแต่งเพลงชาวญี่ปุ่น เป็นที่รู้จักมากจากเพลงเดบิวต์ของเธอ "มาโยนากะโนะโดอะ (สเตย์วิธมี)"[2]
มิกิ มัตสึบาระ | |
---|---|
松原 みき | |
เกิด | 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1959[1] คิชิวาดะ จังหวัดโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น[1] |
เสียชีวิต | 7 ตุลาคม ค.ศ. 2004[1] ซาไก จังหวัดโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น | (44 ปี)
ชื่ออื่น | ซูจี มัตสึบาระ (ญี่ปุ่น: スージー・松原) |
อาชีพ | นักร้อง, นักแต่งเพลง, พิธีกรรายการโทรทัศน์ |
ส่วนสูง | 1.58 เมตร (5 ฟุต 2 นิ้ว) |
คู่สมรส | มาซากิ ฮนโจ (?-2004) |
อาชีพทางดนตรี | |
แนวเพลง | เจป็อป, ซิตีป็อป, แจ๊ส |
เครื่องดนตรี | เสียงร้อง, เปียโน, คีย์บอร์ด |
ช่วงปี | 1979–2001[1] |
ค่ายเพลง | โพนีแคนยอน |
ชีวิตช่วงต้น
แก้มัตสึบาระเกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 1959 มีน้องสาวหนึ่งคน พ่อของเธอเป็นสมาชิกคณะกรรมการบริหารของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง[3] ส่วนแม่ของเธอเป็นนักร้องแจ๊สประจำวงแจ๊สและตลก เครซีแคตส์ มัตสึบาระเริ่มเรียนเปียโนเมื่ออายุได้สามปี และต่อมาได้คุ้นชินกับดนตรีแจ๊สมาก สมัยมัธยมศึกษาตอนต้น เธอสนใจในดนตรีร็อกและเช้าร่วมวงดนตรีร็อก "คูเรอิ" (Kurei) ต่อมาในปี 1975 สมัยเธอเรียนมัธยมปลาย เธอได้เข้าเป็นมือคีย์บอร์ดประจำวง "โยชิโนยะแบนด์" (Yoshinoya Band) ซึ่งเล่นดนตรีอยู่ที่ไลฟ์เฮาส์ ทากุทากุ (Takutaku) ในเกียวโต สมัยเรียน เธอมักได้รับการยอมรับว่าเป็นเด็กเรียนเก่ง และหลายคนคาดหวังให้เธอเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา อย่างไรก็ตามเธอมีแผนที่จะเป็นนักร้องอาชีพ[4] ในปี 1977 เมื่ออายุได้ 17 ปี ขณะยังเรียนมัธยมอยู่ เธอเดินทางเข้าโตเกียวด้วยตัวคนเดียวเพื่อเดบิวต์เป็นนักร้อง นักเปียโน ยูซูรุ เซระ (Yuzuru Sera) เคยระบุกับสื่อว่าเคยเห็นมัตสึบาระเล่นดนตรีและร้องเพลงไปตามที่ต่าง ๆ ในภูมิภาคคันโต โดยเฉพาะที่สถานแสดงดนตรีสด เบิร์ดแลนด์ ในย่านรปปงงิ[5]
อาชีพ
แก้มัตสึบาระเริ่มต้นอาชีพในสายดนตรีเมื่อปี 1979 และเป็นที่รู้จักทันทีจากเพลงเดบิวต์ของเธอ "มาโยนากะโนะโดอะ (สเตย์วิธมี)" ซึ่งต่อมาถูกคัฟเวอร์โดยนักดนตรีอีกจำนวนมาก[2][6][7][8] รวมถึง อากินะ นากาโมริ[9] เพลงนี้ขึ้นอันดับที่ 28 บนออริคอนชาร์ต[10]
หลังปล่อยเพลง "Neat na gogo san-ji" เธอได้กลายเป็นหนึ่งในนักร้องที่เป็นที่รู้จักทั่วไปในเวลานั้น มีโอกาสได้แสดงดนตรีตามเทศกาลและคอนเสิร์ตต่าง ๆ รวมถึงเคยมีเพลงที่ถูกนำไปใช้ในโฆษณาของชิเซโด ในเวลาไม่ถึงสองปีนับจากเธอเดบิวต์[11] เธอได้รับรางวัลศิลปินหน้าใหม่จำนวนมาก[1] รวมถึงเธอได้ตั้งวงดนตรีของตัวเองในชื่อ ด็อกเตอร์วู (Dr. Woo)[12]
การเจ็บป่วยและเสียชีวิต
แก้ในช่วงปลายปี 2000 มัตสึบาระส่งอีเมลให้กับคนรอบตัวเธอ รวมถึงบริษัทและสมาชิกของด็อกเตอร์วู ว่าเธอจะยุติอาชีพในสายดนตรี และจะขาดการติดต่อนับจากนั้น[13] เธอหายตัวไปจากสายตาของสาธารณชนนับจากนั้น ในปี 2001 ได้มีการเปิดเผยว่ามัตสึบาระได้รับการวินิจฉัยว่ากำลังป่วยด้วยมะเร็งระยะสุดท้าย เธอใช้ชีวิตช่วงปีท้าย ๆ ของเธอไปกับการต่อสู้กับโรคมะเร็ง[13]
มิกิ มัตสึบาระ เสียชีวิตในวันที่ 7 ตุลาคม 2004 อายุ 44 ปี ด้วยภาวะแทรกซ้อนจากมะเร็งปากมดลูก[14][15] โดยการเสียชีวิตของเธอถูกประกาศสู่สาธารณชนในสองเดือนถัดมา[13]
มรดก
แก้หลังกระแสความนิยมในดนตรีซิตีป็อปกลับมาอีกครั้งในศตวรรษที่ 21[16] โดยเฉพาะช่วงทศวรรษ 2010s[17] มัตสึบาระในฐานะนักร้องและนักแต่งเพลงแนวซิตีป็อปก็ได้รับความนิยมกลับมาอีกครั้งในระดับโลก โดยเฉพาะจากเพลง "มาโยนากะโนะโดอะ ~ สเตย์วิธมี" ซึ่งมีกระแสความนิยมขึ้นมาอีกครั้งทั้งในแถบตะวันตกและเอเชียในปี 2020[16] บิลบอร์ดเจแปน ระบุว่านี่เป็นผลจากยูทูบเบอร์ชาวอินโดนีเซีย Rainych ที่ทำให้เพลงนี้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง หลังฉบับคัฟเวอร์ได้อัปโหลดขึ้นบนยูทูบในช่องของเธอที่มียอดผู้ติดตามกว่า 1.3 ล้านคน[18] ในแพลทฟอร์มสตรีมดนตรีทั้งแอปเปิลมิวสิค และ สปอทิฟาย ล้วนพบว่าเพลงนี้กลับมาได้รับความนิยม เช่นในอเมริกาเหนือที่เพลงนี้กลายเป็น "'เพลงฮิตอย่างเห็นได้ชัด' บนการจัดอันดับของบริการสตรีมดนตรีต่าง ๆ" และ "พุ่งทะยานสู่อันดับหนึ่งบนไวรอลชาร์ตของสปอทิฟาย"[18][16]
ผลงานดนตรี
แก้สตูดิโออัลบั้ม
แก้ปี | อัลบัม | ค่าย |
---|---|---|
1980 | Pocket Park | See・Saw |
Who Are You? | ||
1981 | Cupid | |
1982 | Myself | |
彩 | ||
1983 | Revue | |
1984 | Blue Eyes (cover album) | |
Cool Cut | ||
1985 | Lady Bounce | |
1987 | Dirty Pair (Original Soundtrack) | Victor |
1988 | WiNK |
อัลบั้มรวมเพลง
แก้ปี | อัลบัม | ค่าย |
---|---|---|
1983 | Paradise Beach | See・Saw |
1986 | Super Best | Pony |
2002 | Best | Pony Canyon |
2011 | Golden☆Best | |
2013 | The Premium Best | |
2014 | Light Mellow | |
2015 | Aya | |
2017 | Platinum Best |
ซิงเกิล
แก้ปี | เพลง | ค่าย |
---|---|---|
1979 | "Mayonaka no Door (Stay with Me)" (真夜中のドア~Stay With Me) | See・Saw |
"愛はエネルギー" | ||
1980 | "ハロー・トゥデイ~Hello Today" | |
"あいつのブラウンシューズ" | ||
1981 | "ニートな午後3時" | |
"倖せにボンソワール" | ||
1982 | "予言" | |
1983 | "パラダイス ビーチ (ソフィーのテーマ)"" | |
1984 | "Knock, Knock, My Heart" | |
1985 | "恋するセゾン ~色恋来い~" | |
1987 | "サファリ アイズ" | Victor |
"Pas De Deux"[19] | ||
1988 | "In the Room" | |
2020 | "THE WINNER" | SUNRISE Music |
"BACK TO PARADISE” | ||
2021 | "Miki Matsubara Night Tempo Presents the Showa Groove" | Pony Canyon |
ผลงานประพันธ์
แก้ปี | ชื่อเพลง | ศิลปิน |
---|---|---|
1991 | "Mou Hitotsu no Sotsugyou" (もう一つの卒業)[20][21] | a·chi-a·chi |
1992 | "MEN OF DESTINY" – Mobile Suit Gundam 0083: Stardust Memory | MIO |
1992 | "True Shining" [22] | รูมิโกะ วาดะ |
1994 | "Good-bye tears"[23] | ยูมิโกะ ทากาฮาชิ |
1994 | "Harmony" | มาริโกะ โคดะ |
1994 | "Run ~今日が変わるMagic~" | ฮิโตมิ มิเอโนะ |
1994 | "誰のせいでもない二人"[24] | มาริโกะ โคดะ |
1995 | "Kanjite itai..." | โยโกะ อิจิกาวะ |
1995 | "Mimikaki wo Shiteiru to" (みみかきをしていると) | มาริโกะ โคดะ |
1995 | "Heroine" (ヒ・ロ・イ・ン) | รูมิ ชิชิโดะ |
1995 | "Doll-tachi no Dekuritsu Kinenbi" (Dollたちの独立記念日) | ฮิโตมิ มิเอโนะ |
1995 | "Ame no Kioku" (雨の記憶) | เคโกะ โยชินาริ |
1996 | "Watashi ga Tenshi Dattara Iinoni" (私が天使だったらいいのに) | มาริโกะ โคดะ |
1997 | "Yume wa hitori miru mono janai" (夢はひとりみるものじゃない) | มาริโกะ โคดะ |
1997 | "Accel" (アクセル) | มายูมิ อีซูกะ |
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "松原みき". tower.jp. Tower. June 14, 2019. สืบค้นเมื่อ November 30, 2020.
- ↑ 2.0 2.1 Pinto, Tom (July 27, 2019). "City Pop Is The 40-Year-Old Genre You've Never Heard Of, Until Today". Study Breaks. สืบค้นเมื่อ November 23, 2019.
- ↑ "2009/10/7 おもいっきりDON 今日は何の日 『松原みき』の日 #松原みき - YouTube". www.youtube.com. สืบค้นเมื่อ 2021-01-03.
- ↑ "2009/10/7 おもいっきりDON 今日は何の日 『松原みき』の日 #松原みき - YouTube". www.youtube.com. สืบค้นเมื่อ 2021-01-03.
- ↑ "昭和の名曲「真夜中のドア 〜Stay with Me」☆歌手松原みきさん".
- ↑ Archila, Danny (December 17, 2017). "Citypop: A Curious Fool's Primer". Yacht Rock. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-30. สืบค้นเมื่อ November 26, 2019.
- ↑ "【オメガトライブ生んだ林哲司激白 ヒット曲舞台裏】松原みきさんと竹内まりや 予想とは真逆の仕上がりで高評価". Zakzak. September 27, 2018. สืบค้นเมื่อ December 2, 2019.
- ↑ "松原みき【真夜中のドア】歌詞の意味を徹底解釈!季節が巡ると思い出すのは…?意味深な歌詞を紐解いてみた". otokake.com. Otokake. June 10, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-02. สืบค้นเมื่อ December 2, 2019.
- ↑ "中森明菜の意外なカバー曲 EXILE、ドリカム歌う 新アルバム「歌姫4」". ZAKZAK (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-01-15.
- ↑ "松原みきを語る~ファンの声Vol.6". castella.chagasi.com. สืบค้นเมื่อ 2021-01-20.
- ↑ "2009/10/7 おもいっきりDON 今日は何の日 『松原みき』の日 #松原みき - YouTube". www.youtube.com. สืบค้นเมื่อ 2021-01-03.
- ↑ "2009/10/7 おもいっきりDON 今日は何の日 『松原みき』の日 #松原みき - YouTube". www.youtube.com. สืบค้นเมื่อ 2021-01-03.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 今日は何の日 『松原みき』の日 [Today's Highlights in History "Miki Matsubara Day"] (Television broadcast) (ภาษาญี่ปุ่น). Japan: Omoikkri Don!. October 7, 2009. 00:57 นาที.
- ↑ <訃報>松原みきさん44歳=シンガー・ソングライター [<News of death> Miki Matsubara, 44 = Singer-songwriter]. Mainichi Shimbun. December 14, 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 14, 2004. สืบค้นเมื่อ March 3, 2021 – โดยทาง Yahoo! Japan News.
- ↑ 歌手松原みきさん死去/10月7日にがんのため [Singer Miki Matsubara dies / due to cancer on October 7th]. Shinkoku News. December 14, 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 3, 2008. สืบค้นเมื่อ March 3, 2021.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 Zhang, Cat (February 24, 2021). "The Endless Life Cycle of Japanese City Pop". Pitchfork. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 24, 2021. สืบค้นเมื่อ March 2, 2021.
- ↑ Arcand, Rob; Goldner, Sam (January 24, 2019). "The Guide to Getting Into City Pop, Tokyo's Lush 80s Nightlife Soundtrack". Vice. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 1, 2020. สืบค้นเมื่อ March 2, 2021.
- ↑ 18.0 18.1 Matsunaga, Ryohei (December 21, 2020). "Global Popularity of 1979 City Pop Track 'Mayonaka no Door - Stay With Me' Explained". Billboard Japan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 21, 2020. สืบค้นเมื่อ February 16, 2021.
- ↑ "miki matsubara pas de deux - Bing video". www.bing.com. สืบค้นเมื่อ 2021-02-27.
- ↑ "VIDL-52 | Mou Hitotsu no Sotsugyou / a・chi-a・chi - VGMdb". vgmdb.net (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-13.
- ↑ "もう一つの卒業の歌詞 | a・chi-a・chi". ORICON NEWS. สืบค้นเมื่อ 2021-03-13.
- ↑ "VIDL-111 | True Shining / Rumiko Wada - VGMdb". vgmdb.net (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-14.
- ↑ "Good-bye Tears", Wikipedia (ภาษาญี่ปุ่น), 2021-03-01, สืบค้นเมื่อ 2021-03-14
- ↑ "Pure (國府田マリ子のアルバム)", Wikipedia (ภาษาญี่ปุ่น), 2021-03-01, สืบค้นเมื่อ 2021-03-18
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- มิกิ มัตสึบาระ ผลงานเพลงที่ดิสคอกส์
- มิกิ มัตสึบาระ ที่เครือข่ายข่าวอนิเมะ
- Miki Matsubara at VGMdb
- Miki Matsubara at Last.fm
- "Matsubara Miki (松原みき)" at Generasia.com