พลาสติกเลิฟ
พลาสติกเลิฟ (อังกฤษ: "Plastic Love" ญี่ปุ่น: プラスティック・ラヴ; โรมาจิ: Purasutikku Ravu) เป็นเพลงโดยนักร้องชาวญี่ปุ่น มาริยะ ทาเกอูจิ ในอัลบัมยอดนิยมที่สุดของเธอ วาไรที รวมถึงได้ปล่อยในรูปซิงเกิลแยกในเวลาถัดมา[1]
"พลาสติกเลิฟ" | |
---|---|
ซิงเกิลโดยมาริยะ ทาเกอูจิ | |
จากอัลบั้มวาไรที | |
วางจำหน่าย | 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1984 |
แนวเพลง | |
ความยาว | 4:51 |
ค่ายเพลง | มูนเรเคิดส์ |
ผู้ประพันธ์เพลง | มาริยะ ทาเกอูจิ |
โปรดิวเซอร์ | ทัตซูโระ ยามาชิตะ |
ซิงเกิลมีลักษณะดนตรีแบบซิทีป็อป และได้รับการตอบรับกลาง ๆ ด้วยยอดจำหน่ายราว 10,000 ฉบับ[2] ในปี 2017 เพลงได้รับการนิยมขึ้นมากในระดับนานาชาติหลังฉบับรีมิกซ์ ความยาว 6 นาทีได้ถูกอัปโหลดขึ้นบนยูทูบ และมียอดเข้าชมถึง 24,000,000 ครั้งในเวลาอันสั้น ก่อนที่จะถูกนำออกด้วยปัญหาลิขสิทธิ์[3][4][5] วิดีโอถูกแก้ไขปัญหาลิขสิทธิ์เสร็จสิ้นในปี 2019 และมียอดเข้าชมสะสมมากกว่า 60 ล้านครั้ง
การผลิตและเผยแพร่
แก้"พลาสติกเลิฟ" แต่งและขับร้องโดยทาเคอูจิ และโปรดิวซ์โดยสามีของเธอ ทัตซูโระ ยามาชิตะ[1] ในบทสัมภาษณ์หนึ่งกับ เดอะเจแปนไทมส์ ทาเคอูจิระบุว่า: "ฉันอยากแต่งเพลงที่เต้นไปด้วยได้ (danceable) บางอย่างที่มีความเป็นซิตีป็อป ... [เนื้อเพลง] บอกเล่าเรื่องราวของหญิงสาวที่สูญเสียชายคนที่เธอรักจริงไป"[3] การบรรเลงกีตาร์ในเพลงเป็นของยามาชิตะ ส่วนยาซูฮารุ นากานิชิ (Yasuharu Nakanishi) บรรเลงเปียโนไฟฟ้า, โคกิ อิโต (Kōki Itō) บรรเลงกีตาร์เบส และจูน อาโอยามะ (Jūn Aoyama) บรรเลงกลอง[6]
เพลงปล่อยออกมาครั้งแรกในอัลบัมยอดฮิตอันดับหนึ่งของทาเคอูจิ วาไรที (1984) และต่อมาปล่อยในรูปแบบซิงเกิลเดี่ยว นับเป็นซิงเกิลลำดับที่สิบสองของเธอ[7]
ซิงเกิลสิบสองนิ้ว
แก้เพลงฉบับซิงเกิลสิบสองนิ้วถูกปล่อยเมื่อ 15 มีนาคม 1985 ซึ่งมี "เวอร์ชันคลับมิกซ์" (extended club mix) และ "รีมิกซ์ใหม่" (new re-mix) ของเพลง ซิงเกิลนี้ขึ้นสู่อันดับสูงสุดอยู่ที่ที่ 86 บนโอริกอนซิงเกิลส์ชาร์ตเท่านั้น[5][8]
ลำดับ | ชื่อเพลง | ยาว |
---|---|---|
1. | "พลาสติกเลิฟ" (คลับมิกซ์อย่างยาว (Extended Club Mix)) | 9:15 |
2. | "พลาสติกเลิฟ" (รีมิกซ์ใหม่ (New Re-Mix)) | 4:51 |
ความยาวทั้งหมด: | 14:06[9] |
ชาร์ต (1985) | ตำแหน่ง สูงสุด |
---|---|
ญี่ปุ่น (โอไรกอนซิงเกิลส์ชาร์ต)[5] | 86 |
ความนิยมระลอกใหม่
แก้ในัวนที่ 5 กรกฎาคม 2017 รีมิกซ์ความยาว 8 นาทีซึ่งรีมิกซ์โดยแฟนคลับ ในชื่อวิดีโอ "Plastic Love" อัปโหลดขึ้นบนยูทูบ โดยผู้ใช้ชื่อ "Plastic Lover" ภาพในวิดีโอเป็นภาพที่ครอบตัดของเธอจากอัลบัม "Sweetest Music" ถ่ายโดยช่างภาพชาวลอสแอนเจลิส แอลัน เลเวนสัน (Alan Levenson)[3][4] เพลงนี้ประจวบเหมาะกับกระแสความนิยมในเวเพอร์เวฟ[10][11] ทำให้วิดีโอเพลงนี้กลายเป็นที่นิยมขึ้นมาอย่างรวดเร็วจากระบบการแนะนำวิดีโอของอัลกอริธึมยูทูบ[3][12] การแพร่กระจายของเพลงนี้ยังมีส่วนมาจากอินเทอร์เน็ตมีม, การพูดคุยบนเรดดิท และภาพแฟนอาร์ทภาพของมาริยะจากที่ปรากฏในวิดีโอเผยแพร่ตามสื่ออย่างดีเวียนต์อาร์ต[3][6] วิดีโอมียอดเข้าชม 24 ครั้ง ก่อนจะถูกนำออกจากเว็บด้วยปัญหาลิขสิทธิ์กับเลเวนสัน แต่ภายหลังแก้ไขปัญหาลิขสิทธิ์เสร็จสิ้นในปี 2019 วิดีโอได้ถูกนำขึ้นบนเว็บไซต์อีกครั้งพร้อมการระบุที่มาของภาพจากเลเวนสัน[5]
ไรอัน แบสซิล (Ryan Bassil) จาก ไวซ์ เรียกขานเพลงนี้ว่าเป็น "เพลงป็อปที่ดีที่สุดในโลก"[13]
เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2019 เวอร์ชันสั้นของมิวสิกวิดีโอทางการ ผลงานโปรดิวซ์โดยเคียวทาโร ฮายาชิ (Kyōtaro Hayashi) ได้ถูกอัปโหลดขึ้นบนยูทูบด้วยความยาว 90 วินาที[5] ส่วนฉบับเต็มซึ่งยาวประมาณ 5 นาที ซึ่งมีรวมไว้ในดีวีดีและบลูเรย์ของ "Souvenir the Movie" ปล่อยในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2020[14] เวอร์ชันคัฟเวอร์จำนวนมากของ "พลาสติกเลิฟ" มีปรากฏอยู่เช่นกัน รวมทั้งโดยโทฟูบีทส์,[6] ไฟรเดย์ไนท์แพลนส์[15] และ ชาย[16]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "1984年5月7日竹内まりや『VARIETY』がオリコン・アルバム・チャート1位を記録~世界的に再評価されている「プラスティック・ラブ」収録" (ภาษาญี่ปุ่น). Nippon Broadcasting System. May 7, 2019. สืบค้นเมื่อ February 19, 2020.
- ↑ "「臼井孝のヒット曲探検隊 ~アーティスト別 ベストヒット20」 デビュー40周年を迎えた 竹内まりやのヒットを探る". OK Music (ภาษาญี่ปุ่น). November 22, 2018. สืบค้นเมื่อ February 19, 2020.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 St. Michel, Patrick (November 17, 2018). "Mariya Takeuchi: The pop genius behind 2018's surprise online smash hit from Japan". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ February 19, 2020.
- ↑ 4.0 4.1 Nevarez, Leonard (June 5, 2019). "the curious case of Mariya Takeuchi's Plastic Love: guest blog by Thomas Calkins". Musical Urbanism. Vassar College. สืบค้นเมื่อ February 20, 2020.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 "Mariya Takeuchi's "Plastic Love" gets music video after 35 years". Arama! Japan. May 17, 2019. สืบค้นเมื่อ February 20, 2020.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 "tofubeats - Plastic Love". Mikiki (ภาษาญี่ปุ่น). Tower Records Japan. January 24, 2019. สืบค้นเมื่อ February 19, 2020.
- ↑ "シングル・ディスコグラフィー [Part 1](1978-1989)". Mariya Takeuchi Official Website (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-10. สืบค้นเมื่อ 11 March 2020.
- ↑ "竹内まりや - PLASTIC LOVE(12inch)". Warner Music Japan (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ February 20, 2020.
- ↑ "竹内まりや - Plastic Love". Clubberz Records. สืบค้นเมื่อ 11 March 2020.
- ↑ Blistein, Jon (May 2, 2019). "City Pop: Why Does the Soundtrack to Tokyo's Tech Boom Still Resonate?". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ February 20, 2020.
- ↑ Lee, Giacomo (July 12, 2019). "From Vaporwave to Future Funk: Night Tempo artists talk Japanese aesthetics of cuteness and City Pop". Digital Arts. International Data Group. สืบค้นเมื่อ February 23, 2020.
- ↑ Marshall, Colin (October 3, 2018). "How Youtube's Algorithm Turned an Obscure 1980s Japanese Song Into an Enormously Popular Hit: Discover Mariya Takeuchi's "Plastic Love"". Open Culture. สืบค้นเมื่อ February 20, 2020.
- ↑ Bassil, Ryan (June 13, 2018). "An 80s Japanese Track Is the Best Pop Song in the World". Vice. สืบค้นเมื่อ February 20, 2020.
- ↑ "souvenir the movie 〜MARIYA TAKEUCHI Theater Live〜 (Special Edition)". Warner Music Japan (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ March 23, 2021.
- ↑ Keith, James (November 15, 2019). "Tokyo's Friday Night Plans Combine Jazz, R&B And Experimental Pop On 'Complex' EP". Complex. สืบค้นเมื่อ February 20, 2020.
- ↑ "CHAIが〈Sub Pop〉と契約 第1弾シングル「Donuts Mind If I Do」ゲリラ・リリース". Spincoaster (ภาษาญี่ปุ่น). October 2, 2020. สืบค้นเมื่อ October 2, 2020.