สุลต่านมาห์มุดที่ 1

(เปลี่ยนทางจาก มาห์หมุดที่ 1)

มาห์มุดที่ 1 (ตุรกีออตโตมัน: محمود اول, ตุรกี: I. Mahmud, 2 สิงหาคม ค.ศ. 1696  – 13 ธันวาคม ค.ศ. 1754) พระสมัญญา มาห์มุดหลังค่อม เป็นสุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมันใน ค.ศ. 1730 ถึง 1754 พระองค์ครองราชย์หลังการก่อกบฏของปาโตรนา ฮาลิล และคงความสัมพันธ์อันดีกับจักรวรรดิโมกุลและจักรวรรดิซาฟาวิด

มาห์มุดที่ 1
محمود اول
เคาะลีฟะฮ์ออตโตมัน
อะมีรุลมุอ์มินีน
กัยเซรีรูม
ผู้อารักขามัสยิดศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง
สุลต่านแห่งสองดินแดน ข่านแห่งสองทะเล[1]
สุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมัน (ปาดีชะฮ์) องค์ที่ 24
ครองราชย์20 กันยายน ค.ศ. 1730 – 13 ธันวาคม ค.ศ. 1754
ก่อนหน้าอาเหม็ดที่ 3
ถัดไปออสมันที่ 3
ประสูติ2 สิงหาคม ค.ศ. 1696
พระราชวังเอดีร์แน, เอดีร์แน, จักรวรรดิออตโตมัน
สวรรคต13 ธันวาคม ค.ศ. 1754(1754-12-13) (58 ปี)
พระราชวังโทพคาปึ คอนสแตนติโนเปิล จักรวรรดิออตโตมัน
ฝังพระศพสุสานของตูร์ฮัน ซุลตัน, มัสยิดใหม่, อิสตันบูล
พระมเหสี
  • Alicenab Kadın
  • Ruhşah Kadın
  • Fehime Kadın
  • Vuslat Kadın
  • Hatem Kadın
  • Verdinaz Kadın
  • Rami Kadın
  • Habibe Kadın
พระนามเต็ม
มาห์มุด บิน มุสทาฟา
ราชวงศ์ออตโตมัน
พระราชบิดามุสทาฟาที่ 2
พระราชมารดาซาลีฮา ซุลตัน
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี
ตราพระปรมาภิไธยทูกรา

ชีวิตช่วงต้น

แก้

พระองค์เสด็จพระราชสมภพที่พระราชวังเอดีร์แนในวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1696 พระราชโอรสในสุลต่านมุสทาฟาที่ 2 (ค.ศ. 1664–1703) กับซาลีฮา ซุลตัน ผู้ดำรงตำแหน่งวาลีเด ซุลตัน มาห์มุดที่ 1 เป็นพระเชษฐาของสุลต่านออสมันที่ 3 (ค.ศ. 1754–57) พระองค์มีโรคหลังค่อม

พระราชบิดาและตัวพระองค์ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่เอดีร์แน ในวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1702 พระองค์เริ่มศึกษาที่เอดีร์แน เมื่อพระราชบิดาถอดถอนตนเองจากพระราชบัลลังก์ พระองค์ถูกนำตัวไปอิสตันบูลและกักขังในKafes เป็นเวลา 27 ปี [2]

ไม่มีใครทราบว่างพระองค์รับวัฒนธรรมได้ในช่วงนั้น เนื่องจากพระองค์ยังคงเล่นหมากรุก แต่งบทกวี และเล่นดนตรี นอกจากนี้ ชีวิตช่วงพระเยาว์และวัยรุ่นยังอยู่ในอันตราย โดยเฉพาะช่วงชีวิตใน Kafes[2]

ความสัมพันธ์กับจักรวรรดิโมกุล

แก้

การทัพของชาห์นาเดอร์ต่อจักรวรรดิโมกุลก่อให้เกิดช่องว่างฝั่งตะวันตกของเปอร์เซีย ซึ่งสุลต่านมาห์มุดที่ 1 ได้เอาเปรียบอย่างมาก โดยก่อสงครามออตโตมัน–เปอร์เซีย (ค.ศ. 1743–46) ซึ่งจักรวรรดิโมกุล มูฮัมมัด ชาฮ์ ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับออตโตมัน และ Haji Yusuf Agha ทูตของจักรวรรดิ ความสัมพันธ์ระหว่างสองจักรวรรดิยังคงมีอยู่จนกระทั่งมูฮัมมัด ชาฮ์สวรรคตใน ค.ศ. 1748[3]

ความสัมพันธ์กับจักรวรรดิซาฟาวิด

แก้

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1741 Hacı Han ทูตของชาห์นาเดอร์แห่งรัฐบาลอิหร่าน เดินทางมาที่อิสตันบูลพร้อมกับคนและยามสามพันคนเพื่อต่อระยะเวลาสันติภาพระหว่างพวกเขา โดยมีของขวัญหลายอย่างเช่นผ้าปักด้วยอัญมณี, ช้าง 10 เชือก และอาวุธล้ำค่า จากนั้นมีการจัดงานเลี้ยงให้ Hacı Han ที่ Fener Bahçesin[4]

พระบรมวงศานุวงศ์

แก้

พระมเหสีของพระองค์ มีรายพระนามตามนี้:[หมายเหตุ 1]

  • Hace Ayşe Alicenab Kadın; มเหสีหลัก;[8][9][10]
  • Ruhşah Kadın, มเหสีหลัก;[11][12]
  • Fehime Kadın, มเหสีองค์ที่สอง;[10]
  • Vuslat Kadın[13][10] (สิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1764, ฝังในสุสาน Karacaahmet, อิสตันบูล), มเหสีองค์ที่สาม;[14][15]
  • Hatem Kadın[10] (สิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1770, ฝังในมัสยิดอายัซมา, อิสตันบูล), มเหสีองค์ที่สี่;[16]
  • Hace Verdinaz Kadın[13][10] (สิ้นพระนนม์ในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1804,ฝังในมัสยิดเชห์ซาเด, อิสตันบูล), มเหสีองค์ที่ห้า;[17][18]
  • Rami Kadın,[19][20] มเหสีองค์ที่หก;[21][10]
  • Habibe Kadın;[22]

สวรรคต

แก้

ในช่วงฤดูหนาว พระพลานามัยของสุลต่านมาห์มุดที่ 1 เริ่มแย่ลงทุกวัน ในวันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1754 พระองค์เสด็จไปละหมาดวันศุกร์ หลังละหมาดเสร็จจึงเสด็จกลับพระราชวัง แต่ระหว่างทางพระองค์ล้มลงจากม้าและสวรรคตในวันเดียวกัน โดยฝังในสุสานพระปัยยิกาของพระองค์ที่สุสานตูร์ฮัน ซุลตันในมัสยิดใหม่ที่ Eminönü อิสตันบูล ประเทศตุรกี [23]

หมายเหตุ

แก้
  1. มาห์มุดมีพระมเหสี 5 พระองค์ใน ค.ศ. 1741 และ 6 พระองค์ใน ค.ศ. 1754[5] พระองค์มีอิกบัล 4 คน ซึ่งที่จริงดำรงตำแหน่ง Kalfas และไม่ใช่ส่วนหนึ่งของพระบรมวงศานุวงศ์ แต่เป็นบริวารประจำบ้าน[6][7]

อ้างอิง

แก้
  1. "Zeri Mahbub - Mahmud I".
  2. 2.0 2.1 Sakaoğlu 2015, p. 309.
  3. Farooqi, Naimur Rahman (1989). Mughal-Ottoman relations: a study of political & diplomatic relations between Mughal India and the Ottoman Empire, 1556-1748. Idarah-i Adabiyat-i Delli. ASIN: B0006ETWB8. See Google Books search.
  4. Sakaoğlu 2015, p. 317.
  5. Uluçay 2011, p. 145 n. 1.
  6. Uluçay 2011, p. 145 n. 9.
  7. Peirce 1993, p. 319 n. 143.
  8. Sakaoğlu 2008, p. 451.
  9. Uluçay 2011, p. 145.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 Çakmak, Abdullah (2016). 18. Yüzyılda Hayırsever Bir Padişah Kadını: Vuslat Kadın'ın Medine ve İstanbul Vakıfları. Vakıflar Dergisi. pp. 77 n. 5, 6.
  11. Fetvaci, Emine (February 6, 2014). Picturing History at the Ottoman Court. Indiana University Press. p. 36. ISBN 978-0-253-05102-8.
  12. Boyar, Ebru; Fleet, Kate (May 19, 2016). Ottoman Women in Public Space. BRILL. p. 25. ISBN 978-9-004-31662-1.
  13. 13.0 13.1 Necepoğlu 2002, p. 145.
  14. Haskan, Mehmet Nermi (2001). Yüzyıllar boyunca Üsküdar - Volume 2. Üsküdar Belediyesi. p. 734. ISBN 978-9-759-76060-1.
  15. Sakaoğlu 2008, p. 549-50.
  16. Haskan, Mehmet Nermi (2001). Yüzyıllar boyunca Üsküdar - Volume 1. Üsküdar Belediyesi. p. 87. ISBN 978-9-759-76062-5.
  17. Sakaoğlu 2008, p. 452.
  18. Uluçay 2011, p. 145-6.
  19. Uluçay 2011, p. 146.
  20. Kal'a & Tabakoğlu 2003, p. 267.
  21. Şapolyo 1961, p. 319.
  22. Argit, Betül Ipsirli (October 29, 2020). Life after the Harem: Female Palace Slaves, Patronage and the Imperial Ottoman Court. Cambridge University Press. p. 72. ISBN 978-1-108-48836-5.
  23. Sakaoğlu 2015, p. 323.

ข้อมูล

แก้
  • Incorporates text from History of Ottoman Turks (1878)
  • Peirce, Leslie P. (1993). The Imperial Harem: Women and Sovereignty in the Ottoman Empire. Oxford University Press. ISBN 978-0-195-08677-5.
  • Kal'a, Ahmet; Tabakoğlu, Ahmet (2003). İstanbul su külliyâtı: Vakıf su defterleri : Suyolcu 2 (1871-1921). İstanbul Araştırmaları Merkezi. ISBN 978-9-758-21504-1.
  • Şapolyo, Enver Behnan (1961). Osmanlı sultanları tarihi. R. Zaimler Yayınevi.
  • Necepoğlu, Gülrü (January 1, 2002). Muqarnas: An Annual on the Visual Culture of the Islamic World, Volume 19. BRILL. ISBN 978-9-004-12593-3.
  • Sakaoğlu, Necdet (2008). Bu mülkün kadın sultanları: Vâlide sultanlar, hâtunlar, hasekiler, kadınefendiler, sultanefendiler. Oğlak Yayıncılık. ISBN 978-9-753-29623-6.
  • Uluçay, Mustafa Çağatay (2011). Padişahların kadınları ve kızları. Ankara, Ötüken.
  • Sakaoğlu, Necdet (2015). Bu Mülkün Sultanları. Alfa Yayıncılık. ISBN 978-6-051-71080-8.