แร่กลีบหินขาว

(เปลี่ยนทางจาก มัสโคไวท์)

แร่กลีบหินขาว หรือ มัสโคไวท์ (muscovite) คือ แร่กลีบหิน (mica) ชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่สีขาว มีลักษณะเด่นคือเป็นแร่แผ่น มีความวาวแบบแก้ว โปร่งใสถึงโปร่งแสง จัดอยู่ในกลุ่มแร่ฟิลโลซิลิเกต (phyllosilicate)

Muscovite
แร่กลีบหินขาวจากเพกมาไทต์ในแม่น้ำ Patapsco ในเทศมณฑลบอลติมอร์ รัฐแมริแลนด์ สหรัฐ
การจำแนก
ประเภทแร่ซิลิเกต
สูตรเคมีKAl2 (AlSi3O10) (F,OH) 2
คุณสมบัติ
สีขาว เทา เงิน
รูปแบบผลึกเนื้อเดียวถึงเป็นแผ่น
โครงสร้างผลึกโมโนคลินิค (2/m) Space Group: C 2/m
การเกิดผลึกแฝดพบมาก [310] พบน้อย {001}
แนวแตกเรียบสมบูรณ์ {001}
รอยแตกMicaceous
ความยืดหยุ่นยืดหยุ่น
ค่าความแข็ง2–2.5 parallel to {001} to 4 right angle to {001}
ความวาวแก้ว
ดรรชนีหักเหnα = 1.552–1.576 nβ = 1.582–1.615 nγ = 1.587–1.618
ค่าแสงหักเหสองแนวδ = 0.035 - 0.042
สีผงละเอียดขาว
ความถ่วงจำเพาะ2.76–3

ชื่อแร่

แก้

มาจากชื่อแร่ Muscovy – glass เนื่องจากครั้งหนึ่งเคยใช้แร่นี้แทนแก้วใน รัสเซีย ส่วน mica มาจากภาษาละตินหมายถึง ความมันแวววาว (Shine)

คุณสมบัติทางฟิสิกส์

แก้

รูปผลึกระบบโมโนคลินิก เป็นแผ่นบางๆซ้อนกันจนหนา รูปหกเหลี่ยม บางทีก็มีลักษณะกลมๆ และเป็นเกล็ดขนนก อาจจะมีผลึกขนาดเล็กมากและมีเนื้อสมานแน่น แนวแตกเรียบสมบูรณ์มากจนผลึกจะถูกลอกออกเป็นแผ่นบางๆได้ แผ่นแร่จะโค้งงอได้และกลับที่เดิมได้ แข็ง 2 – 2.5 ถ.พ. 2.76 – 3.1 วาวแบบแก้วและแบบใยไหมหรือแบบมุก โปร่งใสและไม่มีสีเมื่อเป็นแผ่นบางๆสำหรับแร่ที่ซ้อนกันหนาๆ จะโปร่งแสงและมีสีต่างๆ กันคือ สีเหลือง น้ำตาล เขียว และแดง

คุณสมบัติทางเคมี

แก้

สูตรเคมี Kal2 (AlSi3O10) (OH) 2 อาจจะมีเหล็ก แมกนีเซียม แคลเซียม โซเดียม ลิเทียม ฟลูออลีน และไทเทเนียม ปนอยู่จำนวนเล็กน้อยไม่ผุสลายด้วยกรด เผาในหลอดทดลองปิดจะมีน้ำเกาะข้างหลอด

ลักษณะเด่นและวิธีตรวจ

แก้

ดูแนวแตกเรียบที่แยกได้เป็นแผ่นๆ และสี แตกต่างจากโฟลโกไพต์ตรงที่ไม่มีปฏิกิริยากับกรดกำมะถัน และแตกต่างจากเลพิโดไพต์ตรงที่ไม่ให้เปลวไฟสีแดงเข้มของธาตุลิเทียม

การเกิด

แก้

เป็นแร่ที่ประกอบหินสำคัญตัวหนึ่ง พบในหินอัคนีจำพวกหินแกรนิต ไซอีไนต์ หินเพกมาไทต์ นอกจากนี้ ยังพบในหินแปรพวกไนส์และชิสต์ ในหินชิสต์นี้บางทีจะพบแร่เป็นเส้นใยขนาดเล็ก มีความวาวแบบใยไหมซึ่งไม่ใช่คุณสมบัติที่แท้จริงของมันเรียกว่า เซริไซต์ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปรสภาพ (alteration) ของเฟลด์สปาอาจเกิดจากการผุสลายของแร่อื่นๆได้ เช่น โทแพซ ไคยาไนต์ สปอดูมีน แอนดาลูไซต์ และสแคโพไลต์ (scapolite) ผลึกของมัสโคไวต์ในหินแกรนิตและหินเพกมาไทต์จะมีขนาดใหญ่และ มักจะเกิดอยู่ร่วมกับควอรตซ์และเฟลด์สปาร์ ทัวร์มาลีน เบริล การ์เนต อะพาไทต์ และฟลูออไรต์ แร่ที่มีส่วนประกอบอย่างเดียวกับเคโอลิไนต์แต่มีโครงสร้างต่างกัน คือ ดิกไคต์ และนาไครต์ ซึ่งไม่ได้เป็นส่วนสำคัญของแหล่งดินทั่วไป

แหล่งที่พบในประเทศไทย

แก้

ในประเทศไทย พบที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช และในแหล่งหินแกรนิต เพกมาไทต์ทั่วประเทศ เป็นตัวแร่สำคัญที่พบเสมอในทรายทั่วไป ทำให้ดูวาววับ

ประโยชน์

แก้

ใช้ทำเป็นฉนวนไฟฟ้า ทำเป็นวัตถุโปร่งใสในการทำตะเกียงและเตา เศษของไมกาที่เหลือจากการทำฉนวนจะถูกนำมาใช้ทำกระดาษปิดฝาผนัง ทำให้ผนังมีความแวววาวขึ้น ใช้ผสมกับน้ำมันทำเป็นตัวหล่อลื่น เป็นตัวนำความร้อนที่เลวจึงใช้ทำวัตถุทนไฟ

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้