มัดหมี่

เทคนิคการย้อมผ้าแบบดั้งเดิม มัดด้วยด้ายมัดย้อมก่อนทอจากอินโดนีเซีย

มัดหมี่ เป็นกรรมวิธีการทอผ้าแบบหนึ่ง ที่อาศัยการย้อมเส้นด้ายก่อนการทอ ทั้งที่ย้อมเฉพาะด้ายพุ่งและย้อมด้ายยืน เพื่อให้เมื่อทอผ้าออกม้าเป็นผืนแล้ว เกิดเป็นลวดลายและสีสันตามที่ต้องการ เดิมนั้นนิยมใช้เส้นไหม แต่ปัจจุบันพบการมัดหมี่ทั้งเส้นไหม ฝ้าย และเส้นใยสังเคราะห์

คำว่า "มัดหมี่" มาจากกรรมวิธีการ "มัด" เส้นด้ายเป็นกลุ่ม ๆ ก่อนการย้อมสี ส่วน "หมี่" นั้น หมายถึงเส้นด้าย การมัดหมี่ใช้ขั้นตอนยุ่งยาก ตั้งแต่การเตรียมเส้นด้าย และมัดเพื่อย้อมสีเป็นช่วงๆ กระทั่งได้สีที่ต้องการครบถ้วน ซึ่งต้องย้อมหลายครั้งด้วยกัน ในภาคเหนือนิยมเรียกว่า มัดก่าน ในต่างประเทศนิยมใช้คำว่า ikat ซึ่งเป็นคำศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย-มลายู

อาจมีความสับสนระหว่างคำว่า มัดหมี่ และ มัดย้อม ซึ่งพบได้มากในปัจจุบัน กล่าวคือ มัดหมี่ นั้นเป็นการมัดเส้นด้ายเพื่อนำมาใช้ทอ มีหลากสี และมีลวดลายที่ละเอียด ส่วน มัดย้อม นั้น เป็นการนำผ้าสำเร็จมามัดแล้วย้อมสี (มักจะย้อมครั้งเดียว สีเดียว) มีลวดลายขนาดใหญ่ ไม่เน้นลักษณะของลวดลายให้ชัดเจนนัก

ผ้ามัดหมี่พบได้ในหลายภูมิภาคในทวีปเอเชีย (อินเดีย จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ไทย ลาว เป็นต้น) และอเมริกาใต้ (อาร์เจนตินา, เม็กซิโก, กัวเตมาลา เป็นต้น) แต่ชาวตะวันตกมักรู้จักผ้ามัดหมี่ของมลายู-อินโดนีเซีย และเรียก "ikat" ตามไปด้วย

ผ้ามัดหมี่ในประเทศไทย แก้

ผ้ามัดหมี่ในประเทศไทยพบได้มากในภาคอีสาน โดยการมัดเป็นลวดลาย เช่น ลายนาค ลายโคม สัตว์ ดอกไม้ ใบไม้ ฯลฯ โดยนิยมมัดเฉพาะเส้นพุ่ง อย่างไรก็ตาม ในหมู่ช่างทอแถบอีสานใต้ เช่น จังหวัดสุรินทร์ มีการทอผ้าที่มัดทั้งด้ายยืนและด้ายพุ่ง เกิดเป็นลายตาราง หรือกากบาท

ผ้าจากการมัดหมี่ อาจทอด้วยกรรมวิธีการทอสองตะกอตามปกติ หรือทอสามตะกอ เพื่อให้ได้ลวดลายในเนื้อผ้าที่ละเอียดเพิ่มขึ้นก็ได้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้