มังคลัตถทีปนี (บาลี: มงฺคลตฺถทีปนี) หรือ มงคลทีปนี เป็นปกรณ์วิเสสภาษาบาลี[1]ที่พระสิริมังคลาจารย์ชาวเชียงใหม่รจนาขึ้นในสมัยอาณาจักรล้านนา เพื่ออธิบายความในมงคลสูตรที่ปรากฏในพระไตรปิฎก 2 แห่ง คือ ในขุททกปาฐะและสุตตนิบาตแห่งพระสุตตันตปิฎก ท่านได้อธิบายถึงความหมายของพระสูตรนี้โดยละเอียดด้วยภาษาไพเราะและสละสลวย เนื้อหาอ้างอิงเนื้อความจากอรรถกถา ทั้งฎีกา ทั้งอนุฎีกา ทั้งคำเกจิอาจารย์ และมีการยกเรื่องจากคัมภีร์และชาดกอื่นๆ มาอธิบายประกอบ ค้นพบเป็นคัมภรีใบลานและสมุดข่อยจารโดยอักษรหรืออักขระพม่าและอักขระไทยเหนือ ต่อมาได้ปริวรรตเป็นอักษรไทยภาษาบาลีและมหาวิทยาลัยมหามกุฏ ฯลฯ ได้จัดพิมพ์เป็นจำนวนหลายครั้งเพื่อใช้ประกอบการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทยชั้นเปรียญธรรม 4 ประโยค และเปรียญธรรม 5 ประโยค เป็นหนังสือที่ปราชญ์ภาษาบาลีทั้งศรีลังกาและพม่าให้การยอมรับโดยมีการนำไปเผยแพร่ยังประเทศศรีลังกา กัมพูชา ลาว และพม่า

มังคลัตถทีปนี
กวีพระสิริมังคลาจารย์
ประเภทศาสนา ปรัชญา
คำประพันธ์ร้อยแก้วผสมร้อยกรอง
ยุคล้านนา
ปีที่แต่งพ.ศ. 2067
ลิขสิทธิ์มมร.
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมวรรณศิลป์

ประวัติ แก้

แต่งขึ้นเมื่อปีวอก จ.ศ. 886 ตรงกับ พ.ศ. 2067 โดยพระสิริมังคลาจารย์ พระภิกษุชาวล้านนาสมัยพญาแก้วครองเมืองเชียงใหม่ ตอนที่ท่านแต่งมงคลทีปนีนี้ท่านได้อาศัยสูญญาคาร (เรือนว่าง) ที่สงบเงียบ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตัวเมืองเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 4 กิโลเมตร ปัจจุบันคือวัดตำหนักสวนขวัญศิริมังคลาจารย์[2][3]

อ้างอิง แก้