เทะตินมองมองทิน (พม่า: ထိပ်တင်မောင်မောင်တင်; 20 สิงหาคม พ.ศ. 2409 – 23 มีนาคม พ.ศ. 2488) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ มัณฑะเลย์อู้ทิน เป็นเจ้านายพม่าที่มีบทบาทหลายประการ ตั้งแต่เป็นนักเขียน นักประวัติศาสตร์ ข้าราชการอาณานิคมสหราชอาณาจักร และผู้นำขบวนการต่อต้าน พระองค์มีชื่อเสียงในฐานะผู้เขียน พระราชพงศาวดารราชวงศ์โก้นบอง (พม่า: ကုန်းဘောင်ဆက် ရာဇဝင်တော်ကြီး)[1][2][3] หนึ่งในพระนัดดาของพระองค์ คือ ซุซุลวีน เคยเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของประเทศพม่า[4][5][6][7][8][9]

มองมองทิน
ประสูติ20 สิงหาคม พ.ศ. 2409
มัณฑะเลย์ จักรวรรดิพม่าที่สาม
สิ้นพระชนม์23 มีนาคม พ.ศ. 2488 (78 ปี)
ตองจี สหพันธรัฐฉาน
พระชายาเทะตินซินต์
พระบุตร13 พระองค์
ราชวงศ์โก้นบอง
พระบิดามีนเยตีฮะจอ
พระมารดาเจาะปวาซอ

ประวัติ

แก้

มองมองทินประสูติในช่วงเช้าตรู่ของวันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2409 ตรงกับรัชกาลพระเจ้ามินดง เป็นพระโอรสของมีนเยตีฮะจอ (Minye Thiha Kyaw) ผู้กินส่วยเมืองมยี่นมู (Myinmu) กับพระชนนีชื่อ เจ้าหญิงเจาะปวาซอ (Kyauk Pwa Saw) เป็นเจ้าหญิงแห่งกรุงศรีอยุธยา[10] ครอบครัวฝ่ายพระชนกสืบสันดานมาจากมีนเยเมียะซวา (Minye Myat Swar) ผู้กินส่วยเมืองวู่นโต (Wuntho) กับเจ้าหญิงสิริปภาเทวี (Thiri Pabadewi) ผู้กินส่วยเมืองท่านตะบีน (Htantabin) พระราชธิดาในพระเจ้ามังระ ส่วนครอบครัวฝ่ายพระชนนี คือ เจ้าหญิงเจาะปวาซอ ผู้สืบสันดานจากเจ้านายจากราชวงศ์บ้านพลูหลวงที่ถูกกวาดจากกรุงศรีอยุธยาเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองไปไว้ที่เมืองอังวะ ซึ่งเป็นเขตราชธานีเดิม[1][11]

มองมองทินมีความสนพระทัยในประวัติศาสตร์พม่าอย่างมาก พระองค์รวบรวมโบราณวัตถุจำนวนมากจัดเก็บอย่างเป็นสัดส่วน เช่น คัมภีร์ในพระพุทธศาสนา เอกสารใบลาน หนังสือ ภาพวาด บทละคร ถูกจัดเก็บในวังมากกว่า 4,000 ชิ้น แต่เป็นที่น่าเสียดายที่สมบัติโบราณเหล่านี้ถูกกองกำลังก๊กมินตั๋งเผาทำลายทั้งหมดใน พ.ศ. 2485 ในช่วงที่ญี่ปุ่นยึดครองพม่า ด้วยความสนพระทัยในประวัติศาสตร์ พระองค์อาสาเป็นอาจารย์สอนวิชาประวัติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยมัณฑะเลย์สัปดาห์ละสองครั้ง ด้วยมุ่งหวังที่จะถ่ายทอดความรู้เพื่อประโยชน์แก่คนรุ่นใหม่[1] และยังนิพนธ์ พระราชพงศาวดารราชวงศ์โก้นบอง (พม่า: ကုန်းဘောင်ဆက် ရာဇဝင်တော်ကြီး) ซึ่่งมีเนื้อหาครอบคลุมยุคราชวงศ์โก้นบอง จากการนำข้อมูลจากแหล่งอื่นเข้าไว้ในนิพนธ์ คือ มหาราชวงศ์ ฉบับหอแก้ว และ มหาราชวงศ์ ฉบับที่สอง รวมไปถึงการรวบรวมข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์อดีตข้าราชบริพาร[1]

มองมองทินมีพระอาการประชวรระหว่างเสด็จประพาสประเทศไทย และสิ้นพระชนม์ลงด้วยพระโรคบิดเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2488 ที่เมืองตองยี สหพันธรัฐฉาน[1]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Maung Thuta (1 August 2002). Maung Khin Min (Danuphyu) (บ.ก.). Biographies of Great Writers (စာဆိုတော်များ အတ္ထုပ္ပတ္တိ (5th ed.). Yaroyae.
  2. Myanmar Historical Commission Conference Proceedings: 12-14 January, 2005 (ภาษาอังกฤษ). Myanmar Historical Commission, Golden Jubilee Publication Committee. 2005.
  3. "Candamuni Stupa and stone inscriptions". MDN - Myanmar DigitalNews (ภาษาอังกฤษ).
  4. "လွှတ်တော်အမတ်များ - ဒေါ်စုစုလွင်". Open Myanmar Initiative. สืบค้นเมื่อ 15 March 2016.
  5. Aung Hla Tun (10 March 2016). "Presidency beckons for Suu Kyi confidant after two months in party". Reuters News. สืบค้นเมื่อ 10 March 2016.
  6. "ပြည်သူ့လွှတ်တော်". www.pyithuhluttaw.gov.mm. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-27. สืบค้นเมื่อ 2016-03-15.
  7. "ဒေါ်စုစုလွင် ပြည်သူ့ လွှတ်တော်".
  8. "Su Su Lwin: Not 'The' Lady, but Rather Burma's Next 'First' Lady". The Irrawaddy.
  9. Htoo Thant, Lun Min Mang (1 April 2016). "First Lady to remain an MP". The Myanmar Times. สืบค้นเมื่อ 4 April 2016.
  10. "set up by King Bagyidaw (1819-1837)" (PDF). Manusya Journals.
  11. "ထိုင်းဘုရင်သွေး မကင်းတဲ့ မြန်မာတွေ". BBC News မြန်မာ (ภาษาพม่า). 26 October 2017.