มหาวิทยาลัยเกียวโต
มหาวิทยาลัยเกียวโต (ญี่ปุ่น: 京都大学; โรมาจิ: Kyōto daigaku) หรือเรียกย่อว่า เคียวได (ญี่ปุ่น: 京大; โรมาจิ: Kyōdai) เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่อันดับที่ 2 ของประเทศญี่ปุ่น[3] และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ปัจจุบันมีนักศึกษาประมาณ 22,000 คน มหาวิทยาลัยเกียวโตก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) ที่เมืองเกียวโต ในจังหวัดเกียวโต
京都大学 | |
คติพจน์ | ญี่ปุ่น: 自由の学風 |
---|---|
คติพจน์อังกฤษ | Freedom of academic culture |
ประเภท | รัฐ (ระดับชาติ) |
สถาปนา | 18 มิถุนายน 1897 |
ทุนทรัพย์ | ¥ 316 พันล้าน (2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) |
อธิการบดีมหาวิทยาลัย | นากาฮิโระ มินาโตะ[1] |
อาจารย์ | 3,480 คน (อาจารย์)[2] |
เจ้าหน้าที่ | 3,978 คน (พนักงานทั้งหมด)[2] |
ผู้ศึกษา | 22,615 คน[2] |
ปริญญาตรี | 13,038 คน[2] |
บัณฑิตศึกษา | 9,308 คน[2] |
ที่ตั้ง | , , 35°01′34″N 135°46′51″E / 35.026212°N 135.780842°E |
วิทยาเขต | เขตเมือง 135 เฮกตาร์ (330 เอเคอร์) |
กรีฑา | 48 ทีม |
สี | น้ำเงินเข้ม |
ฉายา | Kyodai |
เครือข่าย | Kansai Big Six, ASAIHL |
เว็บไซต์ | www.kyoto-u.ac.jp |
มหาวิทยาลัยเกียวโตมีการเรียนการสอนที่เป็นที่ยอมรับ โดยมีมหาวิทยาลัยคู่แข่งเช่น มหาวิทยาลัยเคโอซึ่งก่อตั้งก่อนช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มหาวิทยาลัยฮิโตะสึบาชิซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมากในหมู่คนญี่ปุ่นและเปิดสอนเฉพาะวิชาด้านสังคมศาสตร์ หรือมหาวิทยาลัยโตเกียวซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงแห่งย่านคันโต
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
แก้- ฮิเดะกิ ฟุกะวะ - ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์
- ชินิจิโระ โทะโมะนะกะ - ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์
- เคนอิจิ ฟุกุอิ - ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี
- ซุซุมุ โทะเนะงะวะ - ได้รับรางวัลโนเบลสาขาแพทย์
- ริวจิ โนะโยะริ - ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี
- มะโกะโตะ โคะบะยะชิ - ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์
- โทะชิฮิเดะ มะสุกะวะ - ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงชาวไทย
แก้- รศ. ดร. ชิต เหล่าวัฒนา - นักวิทยาศาสตร์ชาวไทย
- ลักขณา ปันวิชัย - ในชื่อนามปากกาว่า "คำ ผกา" นักเขียนชาวไทย[4]
- รศ. ดร. สุวินัย ภรณวลัย - นักเขียนชาวไทย
อันดับมหาวิทยาลัย
แก้อันดับมหาวิทยาลัย | |
---|---|
อันดับในประเทศ(อันดับนานาชาติ) | |
สถาบันที่จัด | อันดับ |
QS WORLD (2019) | 2 (35) |
จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของคอกโครัลลีไซมอนส์ประจำปี ค.ศ. 2019 ได้จัดลำดับให้มหาวิทยาลัยเกียวโตอยู่ในอันดับที่ 35 ของโลก อันดับที่ 7 ของทวีปเอเชีย และอันดับที่ 2 ของประเทศญี่ปุ่น[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Profile of President Nagahiro Minato". Kyoto University. สืบค้นเมื่อ 12 November 2020.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Kyoto University Facts and Figures 2021-2022" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2022-05-07.
- ↑ ประวัติมหาวิทยาลัยเกียวโต[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-21. สืบค้นเมื่อ 2011-08-04.
- ↑ http://www.topuniversities.com/university-rankings/world-university-rankings/2019#sorting=rank+region=+country=+faculty=+stars=false+search=