ภูเขาไฟตาอัล

(เปลี่ยนทางจาก ภูเขาไฟตาอาล)

ภูเขาไฟตาอัล (ตากาล็อก: Bulkang Taal, แม่แบบ:IPA-tl) เป็นแอ่งยุบปากปล่องขนาดใหญ่ที่มีทะเลสาบตาอัลในประเทศฟิลิปปินส์[1] ตั้งอยู่ในจังหวัดบาตังกัส ห่างจากกรุงมะนิลา 50 กิโลเมตร ภูเขาไฟนี้เป็นภูเขาไฟที่ยังคุกครุ่นนานที่สุดอันดับ 2 ของประเทศ โดยมีการปะทุในอดีตถึง 38 ครั้ง ทั้งหมดเกิดที่เกาะภูเขาไฟใกล้บริเวณตอนกลางของทะเลสาบตาอัล[3] เนื่องจากมีลักษณะเป็นแอ่งภูเขาไฟโผล่ขึ้นกลางทะเลสาบ บางครั้งจึงเรียกภูเขาไฟนี้ว่า "เกาะภูเขาไฟ" (Volcano Island) แอ่งยุบปากปล่องเกิดขึ้นในช่วงการปะทุยุคก่อนประวัติศาสตร์ระหว่าง 140,000 ถึง 5,380 ปีก่อนคริสต์ศักราช[4][5]

ภูเขาไฟตาอัล
Bulkang Taal
ภาพถ่ายทางอากาศของเกาะภูเขาไฟในภูเขาไฟตาอัลใน ค.ศ. 2012 ทิศเหนืออยู่ทางขวามือ
จุดสูงสุด
ความสูง
เหนือระดับน้ำทะเล
311 เมตร (1,020 ฟุต) [1]
พิกัด14°0′36″N 120°59′51″E / 14.01000°N 120.99750°E / 14.01000; 120.99750
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ภูเขาไฟตาอัลตั้งอยู่ในฟิลิปปินส์
ภูเขาไฟตาอัล
ภูเขาไฟตาอัล
ที่ตั้งในประเทศฟิลิปปินส์
ที่ตั้งTalisay และ San Nicolas จังหวัดบาตังกัส ประเทศฟิลิปปินส์
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
ประเภทภูเขาแอ่งยุบปากปล่อง[1]
แนวโค้ง/เข็มขัดภูเขาไฟภูเขาไฟรูปโค้งลูซอน
การปะทุครั้งล่าสุด15–22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021[2]
การพิชิต
เส้นทางง่ายสุดDaang Kastila (ทางเดินสเปน)
แผนที่
แผนที่แบบโต้ตอบของภูเขาตาอัล

เนื่องจากภูเขาไฟนี้ยังมีการปะทุอย่างรุนแรงอยู่เสมอ และมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จึงถูกกำหนดเป็นสถานที่ห้ามประชาชนตั้งถิ่นฐาน[6] การปะทุครั้งรุนแรงที่สุดเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1754 และ ค.ศ. 1911 มีผู้เสียชีวิต 1,335 คน ภูเขาไฟนี้เกิดปะทุครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 2020 (43 ปีหลังจากการปะทุครั้งก่อนหน้าซึ่งคือปี 1977) ส่งผลให้ขี้เถ้าตกลงใส่เมืองใกล้เคียงและทำให้ผู้คนล้มป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจเป็นจำนวนมาก

ศัพทมูลวิทยา แก้

ในคริสต์ศตวรรษที่ 1800 ภูเขาไฟตาอัลมีชื่อเรียกว่า Bombou หรือ Bombon[7][8]

เทศบาลตาอัลและแม่น้ำ Taa-lan (ปัจจุบันมีชื่อว่าแม่น้ำปันซีปิต) ตั้งชื่อตามต้น Taa-lan ซึ่งเติบโตริมแม่น้ำ และยังเติบโตริมชายฝั่งทะเลสาบ Bombon (ปัจจุบันคือทะเลสาบตาอัล)[9][10]

ตาอัล เป็นศัพท์ตากาล็อกในสำเนียง Batangueñoที่หมายถึง จริง แท้ และบริสุทธิ์[11]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "Taal". Global Volcanism Program. Smithsonian Institution. สืบค้นเมื่อ February 13, 2013.
  2. "Taal: Eruptive History". Global Volcanism Program. Smithsonian Institution. สืบค้นเมื่อ January 31, 2022.
  3. Alvaro Limos, Mario (January 21, 2020). "We Should Stop Calling Taal the World's Smallest Volcano". Esquiremag.ph. สืบค้นเมื่อ July 30, 2021.
  4. "Taal Volcano". Philippine Institute of Volcanology and Seismology (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 12, 2008. สืบค้นเมื่อ December 3, 2012.
  5. Delos Reyes, Perla J.; Bornas, Ma. Antonia V.; Dominey-Howes, Dale; Pidlaoan, Abigail C.; Magill, Christina R.; Solidum, Renato U., Jr. (2018). "A synthesis and review of historical eruptions at Taal Volcano, Southern Luzon, Philippines". Earth-Science Reviews (ภาษาอังกฤษ). 177: 565–588. Bibcode:2018ESRv..177..565D. doi:10.1016/j.earscirev.2017.11.014.
  6. "NDCC Orders Close Watch on Mayon, Taal Volcanoes". GMA News Online. July 21, 2009. สืบค้นเมื่อ February 13, 2011.
  7. Roberts, Edmund (1837). Embassy to the Eastern Courts of Cochin-China, Siam, and Muscat (ภาษาอังกฤษ). New York: Harper & Brothers. p. 60. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 16, 2016.
  8. Smithsonian Institution (1894). Annual Report of the Board of Regents of the Smithsonian Institution: Showing the Operations, Expenditures, and Condition of the Institution (Report). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 15, 2021. สืบค้นเมื่อ February 28, 2021.
  9. Carating, Rodelio B.; Galanta, Raymundo G.; Bacatio, Clarita D. (2014). The Soils of the Philippines. Springer. ISBN 9789401786829. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 7, 2021. สืบค้นเมื่อ February 28, 2021.
  10. "History & Culture". Taal.ph (ภาษาอังกฤษ).
  11. Pulta, Benjamin (January 15, 2020). "Beneath the Ashes: Uncovering Taal's Rich History". Philippine News Agency (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 7, 2021. สืบค้นเมื่อ February 17, 2021.

  บทความนี้ประกอบด้วยข้อความจากแหล่งข้อมูลนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ: "Taal Volcano Alert Signals". Philippine Institute of Volcanology and Seismology (ภาษาอังกฤษ). August 8, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 17, 2019. สืบค้นเมื่อ January 15, 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้