ภาษาฮีบรูอัชเกนัซ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ภาษาฮีบรูอัชเกนัซ (ฮีบรู: הגייה אשכנזית, อักษรโรมัน: Hagiyya Ashkenazit; ยิดดิช: אַשכּנזישע הבֿרה, อักษรโรมัน: Ashkenazishe Havara; อังกฤษ: Ashkenazi Hebrew) เป็นระบบการออกเสียงของภาษาฮีบรูไบเบิล และภาษาฮีบรูมิซนะห์ที่นิยมใช้ในหมู่ชาวยิวอัชเกนัซ ระบบการออกเสียงนี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาใกล้เคียงที่มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน เช่น ภาษายิดดิช และภาษากลุ่มสลาฟหลายภาษา ทุกวันนี้เหลือรอดในฐานะภาษาทางศาสนาควบคู่ไปกับภาษาฮีบรูสมัยใหม่ในอิสราเอล
ลักษณะ
แก้จากการใช้ควบคู่กับภาษาฮีบรูสมัยใหม่ ภาษาฮีบรูอัชเกนัซมีลักษณะทางสัทวิทยาที่แตกต่างไปอย่างชัดเจนต่อไปนี้
- א และ ע ในภาษาฮีบรูอัชเกนัซไม่มีการออกเสียงในขณะที่ออกเสียงเป็น /อ/ ในภาษาฮีบรูสมัยใหม่ ตัวอย่างเช่น Yisroeil (ชาวยิวลิทัวเนีย) หรือ Yisruayl (ชาวยิวโปแลนด์-กาลิเซีย) กับ Yisra'el (ฮีบรูสมัยใหม่) กรณีพิเศษเป็นของชาวยิวดัตช์ที่ออกเสียง ע เป็น ŋ ซึ่งอาจจะเป็นอิทธิพลมาจากชาวยิวสเปนและชาวยิวโปรตุเกส
- ת ออกเสียงเป็น /s/ ในภาษาฮีบรูอัชเกนัซ เว้นแต่มีจุดภายในจึงออกเสียงเป็น /t/ ในขณะที่ภาษาฮีบรูสมัยใหม่ออกเสียงเป็น /t/ เสมอ
- สระ ṣērê (/e/) ออกเสียงเป็น [ej] หรือ [aj] ในภาษาฮีบรูอัชเกนัซ ในขณะที่ออกเสียงเป็น /e/ ในภาษาฮีบรูเซฟาร์ดี ส่วนภาษาฮีบรูสมัยใหม่ออกเสียงทั้งสองแบบ
- สระ qāmeṣ gāḏôl (/a/) ออกเสียงเป็น /o/ บางครั้งเป็น /u/ ในภาษาฮีบรูอัชเกนัซ แต่เป็น /a/ ในภาษาฮีบรูสมัยใหม่
- สระ ḥôlam (/o/) การออกเสียงขึ้นกับสำเนียงย่อย บางครั้งเป็น [au] [ou] [oi] หรือ [ei] ในภาษาฮีบรูอัชเกนัซ แต่เป็น /o/ ในภาษาฮีบรูสมัยใหม่
- เสียง qubbutz หรือ shuruq ที่ไม่เน้นกลายเป็น /i/ ในภาษาฮีบรูอัชเกนัซ แต่รูปอื่นเป็น /u/
- ในบางกรณีมีความสับสนระหว่างเสียงท้าย tzere (e) และ hiriq (i)
- ในช่วงศตวรรษต้นๆ การเน้นหนักในภาษาฮีบรูอัชเกนัซอยู่ที่ตำแหน่งก่อนหลังสุดแทนที่ตำแหน่งสุดท้ายซึ่งพบในสำเนียงอื่นๆในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 – 23 แรบไบจากอัชเกนัซ เช่น Jacob Emden และ Vilna Gaon ได้เปลี่ยนมาเน้นหนักที่พยางค์สุดท้ายดังที่ปรากฏในการพิมพ์ไบเบิล และประสบความสำเร็จในการใช้อ่านโตราห์ แต่รูปแบบการเน้นหนักแบบเก่ายังพบในการออกเสียงคำภาษาฮีบรูที่อยู่ในภาษายิดดิชและบทกวียุคแรกๆ
ความแปรผัน
แก้มีความแตกต่างระหว่างสำเนียงของชาวยิวในลิทัวเนีย โปแลนด์ และเยอรมัน เช่น ḥôlam ชาวยิวเยอรมันออกเสียงเป็น [au] ชาวยิวโปแลนด์ออกเสียงเป็น [oi] ส่วนชาวยิวลิทัวเนียออกเสียงเป็น [ei] ส่วนชาวยิวในอังกฤษออกเสียงแบบเยอรมัน และมีชาวยิวอัชเกนัซจำนวนหนึ่งที่ใช้การออกเสียงแบบอิสราเอล-เซฟาร์ดี
อิทธิพลต่อภาษาฮีบรูสมัยใหม่
แก้แม้ว่าภาษาฮีบรูสมัยใหม่จะมีพื้นฐานมาจากภาษาฮีบรูมิซนะห์ และการออกเสียงแบบเซฟาร์ดี แต่ในอิสราเอลมีบางส่วนได้รับอิทธิพลจากสำเนียงอัชเกนัซ เช่น
- เปลี่ยนเสียง /r/ ไปเป็น Guttural R
- ออกเสียง tzere เป็น [eɪ] ในบางแห่ง
- ชื่ออักษรบางตัว เช่น yud และ kuf แทนที่ yod และ qof
- ในการพูดโดยทั่วไปใช้ใช้การเน้นหนักที่คำก่อนสุดท้ายสำหรับชื่อเฉพาะ
คู่ขนาน
แก้ความแตกต่างระหว่างภาษาฮีบรูอัชเกนัซกับภาษาฮีบรูเซฟาร์ดีมีความคล้ายคลึงกับความแตกต่างของภาษาซีรีแอกตะวันออกและตะวันตก
อ้างอิง
แก้ดูเพิ่ม
แก้- Ilan Eldar, Masoret ha-qeri'ah ha-kedem-Ashkenazit (The Hebrew Language Tradition in Medieval Ashkenaz), Edah ve-Lashon series vols. 4 and 5, Jerusalem (Hebrew)
- A. Z. Idelsohn, Die gegenwärtige Aussprache des Hebräischen bei Juden und Samaritanern, in: Monatsschrift für Geschichte und Wissenschaft des Judentums 57 (N.F.: 21), 1913, p. 527–645 and 698–721.
- Dovid Katz, The Phonology of Ashkenazic, in: Lewis Glinert (ed.), Hebrew in Ashkenaz. A Language in Exile, Oxford-New York 1993, p. 46–87. ISBN 0-19-506222-1.
- S. Morag, Pronunciations of Hebrew, Encyclopaedia Judaica XIII, p. 1120–1145.
- Sáenz-Badillos, Angel (1996). A History of the Hebrew Language. trans. John Elwolde. Cambridge, England: Cambridge University Press. ISBN 0-521-55634-1.
- Werner Weinberg, Lexikon zum religiösen Wortschatz und Brauchtum der deutschen Juden, ed. by Walter Röll, Stuttgart–Bad Cannstatt 1994. ISBN 3-7728-1621-5.
- Zimmels, Ashkenazim and Sephardim: their Relations, Differences, and Problems As Reflected in the Rabbinical Responsa : London 1958 (since reprinted). ISBN 0-88125-491-6.