ภาษายูฮูรี
ภาษายูฮูรี (Juhuri) หรือภาษาตัตของชาวยิว (Judæo-Tat) หรือ ภาษายูวูรี (cuhuri, жугьури, ז׳אוּהאוּראִ) เป็นรูปแบบหนึ่งของภาษาตัต และเป็นภาษาพื้นเมืองในบริเวณตะวันออกของเทือกเขาคอเคซัสโดยเฉพาะอาเซอร์ไบจานและดาเกสถาน รวมทั้งในอิสราเอล[4] ภาษานี้ใกล้เคียงกับภาษาเปอร์เซีย อยู่ในกลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกเฉียงใต้ ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ภาษาที่ใกล้เคียงกันคือภาษาตัตของชาวมุสลิมในอาเซอร์ไบจาน คำว่ายูฮูรีและยูฮูโรแปลตรงตัวหมายถึงของยิว และชาวยิว
ภาษายูฮูรี | |
---|---|
cuhuri, жугьури, ז׳אוּהאוּראִ | |
ประเทศที่มีการพูด | อาเซอร์ไบจาน, รัสเซีย – เขตสหพันธ์คอเคซัสเหนือ มีผู้พูดในชุมชนผู้อพยพในประเทศอิสราเอล, สหรัฐ (นครนิวยอร์ก) |
ชาติพันธุ์ | ชาวยิวภูเขา |
จำนวนผู้พูด | ไม่ทราบ (ประมาณ 101,000 คน[1] อ้างถึง1989–1998)[2] |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | อักษรละติน อักษรซีริลลิก อักษรฮีบรู |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | jdt |
ภาษายูฮูรีนี้มีลักษณะของกลุ่มภาษาเซมิติกปนอยู่มาก มีเสียง "ayin" (ع/ע) ซึ่งภาษาในบริเวณนั้นไม่มีเสียงนี้ [5] และเป็นภาษาใกล้สูญ[6][7] โดยในแผนที่ชุดภาษาที่ตกอยู่ในอันตรายของโลกของยูเนสโกจัดให้ภาษานี้อยู่ในกลุ่ม "ภาษาใกล้สูญแน่นอน"[8]
การแพร่กระจาย
แก้ภาษานี้มีผู้พูดประมาณ 101,000 คน:
- อิสราเอล: 70,000 คนใน ค.ศ. 1998
- อาเซอร์ไบจาน: 24,000 คนใน ค.ศ. 1989
- รัสเซีย: 2,000 คนใน ค.ศ. 2010[4]
- สหรัฐ: 5,000 คน[9]
- แคนาดา[10]
สัทวิทยา
แก้หน้า | กลาง | หลัง | ||
---|---|---|---|---|
ไม่ห่อ | ห่อ | |||
ปิด | i | y | u | |
เกือบปิด | ɪ | |||
กึ่ง | ɛ | o | ||
เปิด | æ | a |
ริมฝีปาก | ฟัน/ ปุ่มเหงือก |
หลัง ปุ่มเหงือก |
เพดานแข็ง | เพดานอ่อน | ลิ้นไก่ | ช่องคอ | เส้นเสียง | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
นาสิก | m | n̪ | |||||||
หยุด | ไม่ก้อง | p | t̪ | k | |||||
ก้อง | b | d̪ | ɡ | ɢ | |||||
กักเสียดแทรก | ไม่ก้อง | t͡ʃ | |||||||
ก้อง | d͡ʒ | ||||||||
เสียดแทรก | ไม่ก้อง | f | s̪ | ʃ | χ | ħ | h | ||
ก้อง | v | z̪ | |||||||
เปิด | l | j | ʕ | ||||||
สะบัด | ɾ |
อักษร
แก้ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษายูฮูรีเขียนด้วยอักษรฮีบรู ต่อมา ในคริสต์ทศวรรษ 1920 ได้พัฒนาอักษรละตินมาใช้ ต่อมาจึงใช้อักษรซีริลลิกแทน แต่ในปัจจุบันได้พยายามฟื้นฟูอักษรฮีบรูมาใช้ใหม่
ละติน | Aa | Bb | Cc | Çç | Dd | Ee | Əə | Ff | Gg | Hh | Ḩḩ | Ħћ | Ii | Jj | Kk | Ll | Mm | Nn | Oo | Pp | Rr | Ss | Şş | Tt | Uu | Vv | Xx | Yy | Zz | |
ซีริลลิก | Аа | Бб | Чч | Жж | Дд | Ее | Ээ | Фф | Гг | Гьгь | ГӀгӀ | Хьхь | Ии | Йй | Кк | Лл | Мм | Нн | Оо | Пп | Гъгъ | Рр | Сс | Шш | Тт | Уу | Вв | Хх | Уьуь | Зз |
ฮีบรู | אַ | בּ | ג׳/צ | ז׳ | ד | אי | א | פ | ג | ה | ע | ח | אִ | י | כּ | ל | מ | נ | אָ | פּ | ק | ר | ס | ש | ת | אוּ | ב | כ | או | ז |
สัทอักษรสากล | a | b | tʃ/ts | dʒ | d | ɛ | æ | f | g | h | ʕ | ħ | i | j | k | l | m | n | o | p | ɢ | ɾ | s | ʃ | t | u | v | χ | y | z |
อิทธิพลจากภาษาอื่น ๆ
แก้ภาษายูฮูรีอยู่ในกลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกเฉียงใต้ แต่มีความใกล้เคียงกับภาษาเปอร์เซียสมัยใหม่มากกว่าภาษากลุ่มอิหร่านอื่นๆ ในเทือกเขาคอเคซัส เช่น ภาษาทาเลียส ภาษาออสเซเตียและภาษาเคิร์ด และได้รับอิทธิพลจากภาษาอื่นเป็นจำนวนมาก ได้แก่
- ภาษาเปอร์เซียกลาง มีการใช้ปรบทมากกว่าบุพบท
- ภาษาอาหรับ คำศัพท์ส่วนใหญ่มาจากภาษาอาหรับแต่รักษาหน่วยเสียงในภาษาอาหรับได้ดีกว่าคำยืมในภาษาเปอร์เซีย
- ภาษาฮีบรู ภาษานี้มีคำยืมจากภาษาฮีบรูจำนวนมาก ส่วนใหญ่ออกเสียงตามสำเนียงของชาวยิวมิซราฮี
- ภาษาอาเซอรี มีการเปลี่ยนเสียงสระและมีคำยืมจำนวนมาก
- ภาษารัสเซีย มีคำยืมจากภาษารัสเซียซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่สหภาพโซเวียตเข้ายึดครองดาเกสถานและอาเซอร์ไบจาน
อ้างอิง
แก้- ↑ ในอาเซอร์ไบจาน 24,000 คนใน ค.ศ.; ในรัสเซีย 2,000 คนใน ค.ศ. 2010 และในอิสราเอล 70,000 คนใน ค.ศ. 1998
- ↑ ภาษายูฮูรี ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
- ↑ Windfuhr, Gernot. The Iranian Languages. Routledge. 2009. p. 417.
- ↑ 4.0 4.1 ภาษายูฮูรี ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
- ↑ Habib Borjian, “Judeo-Iranian Languages,” in Lily Kahn and Aaron D. Rubin, eds., A Handbook of Jewish Languages, Leiden and Boston: Brill, 2015, pp. 234-295. [1].
- ↑ Published in: Encyclopedia of the world’s endangered languages. Edited by Christopher Moseley. London & New York: Routledge, 2007. 211–280.
- ↑ John M Clifton. "Do the Talysh and Tat languages have a future in Azerbaijan?" (PDF). Work Papers of the Summer Institute of Linguistics, University of North Dakota Session. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-11-12. สืบค้นเมื่อ 18 Feb 2013.
- ↑ UNESCO Interactive Atlas of the World's Languages in Danger เก็บถาวร 2009-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Habib Borjian and Daniel Kaufman, “Juhuri: from the Caucasus to New York City”, Special Issue: Middle Eastern Languages in Diasporic USA communities, in International Journal of Sociology of Language, ed. Maryam Borjian and Charles Häberl, issue 237, 2016, pp. 51-74. [2].
- ↑ James B. Minahan, ed. Ethnic Groups of North, East, and Central Asia: An Encyclopedia: Juhuro.
- ↑ (ในภาษารัสเซีย) Phonetics of the Mountain Jewish language
อ่านเพิ่ม
แก้- Borjian, Habib; Kaufman, Daniel (2016). "Juhuri: From the Caucasus to New York City". International Journal of the Sociology of Language. 2016 (237): 59–74. doi:10.1515/ijsl-2015-0035. S2CID 55326563.
- Shapira, Dan D.Y. (2010). "Juhūrī (Judeo-Tat or Judeo-Tātī)". ใน Norman A. Stillman (บ.ก.). Encyclopedia of Jews in the Islamic World. Brill Online.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วรรณกรรมภาษายูฮูรี
- Горско-еврейский язык (словарь, грамматика, библиотека)
- JUHURO.RU - Информационно развлекательный портал горских евреев Горские Евреи Израиля population ~70,000
- Горские Евреи Нальчика Mountain Jews of Nalchik.
- Горские Евреи Америки Mountain Jews of the US.
- Сайт Горских Евреев Культура новости
- Encyclopedia of Jews in the Islamic World: "Juhūrī (Judeo-Tat or Judeo-Tātī)", p 16 sq, print: Brill, Leiden 2010