ภาษาผสม
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
ภาษาผสม (อังกฤษ: Mixed Language) คือการนำภาษาตั้งแต่ 2 ภาษาเป็นต้นไปมารวมกันเป็นถ้อยคำหรือลายลักษณ์อักษรที่ใช้เพื่อการสื่อสาร มีบ้างที่คำยืมจะถูกใช้ด้วยสาเหตุอื่น เช่น ต้องการลดจำนวนคำลง บ้างก็ให้เหตุผลการอธิบายโดยใช้ 2 ภาษาไปด้วยกันในข้อความหนึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจที่ลึกยิ่งกว่าการใช้ภาษาเดียวในการอธิบาย หรือไม่ก็เพื่อใช้คำศัพท์ภาษาต่างประเทศโดยตรง แทนที่จะมีการทับศัพท์หรือบัญญัติศัพท์แทนที่
การเกิดขึ้นในภาษาไทย
แก้การถือกำเนิดขึ้นของภาษาผสมเริ่มขึ้นตั้งแต่การเข้ามาของชาวต่างชาติในไทย โดยเริ่มจากภายในราชสำนักของสยาม ที่มีการติดต่อกันของพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางชั้นสูงที่จบการศึกษามาจากต่างประเทศ รวมทั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการที่พระองค์ทรงมีพระราชหัตถเลขา (จดหมาย) ถึง พระโอรสและพระบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงมีการใช้คำไทยปนกับการใช้คำภาษาต่างประเทศ[1] หลังจากนั้น ก็มีการใช้ภาษาผสมภายในกลุ่มชนชั้นสูงที่ได้เดินทางไปศึกษายังต่างประเทศ
ข้อถกเถียง
แก้ภาษามนุษย์หลายภาษามักจะมีปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงภาษา ซึ่งเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งที่เกิดกับภาษาธรรมชาติ แต่ในกรณีของภาษาผสม นอกจากปัจจัยดังกล่าวแล้ว การเข้ามาของโลกาภิวัตน์ทำให้เกิดการรับรู้ซึ่งข้อมูลข่าวสารที่ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นภาษาแม่อีกต่อไป รวมทั้งเป็นช่วงเวลาที่เทคโนโลยีต่าง ๆ ได้ถือกำเนิดหรือได้รับการต่อยอดเพิ่มเติม เป็นเหตุให้มีคำศัพท์เกิดใหม่ตลอด และโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นคำศัพท์ต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม การใช้ภาษาผสมทำให้เกิดข้อครหาต่อผู้คนในสังคมที่ใช้ภาษานั้น ๆ พึงเจอ และตัวอย่างต่อไปนี้ถือเป็นข้อครหาของการใช้ภาษาผสมจำนวน 2 ตัวอย่าง ดังนี้
ในภาษาไทย
แก้ด้วยการใช้ภาษาต่างประเทศผสมเข้ากับภาษาไทยจนเป็นเรื่องธรรมดาในช่วงยุคโลกาภิวัฒน์ ทำให้มีบางฝ่ายออกมาแสดงความเห็นว่า การใช้ภาษาผสมของคนไทยนั้นทำให้เกิดการกร่อนของภาษาไทย หรือมีการใช้ภาษาที่ผิดเพี้ยนไป โดยเรียกการใช้ภาษาในลักษณะดังกล่าวว่า ภาษาวิบัติ รวมทั้งบางฝ่ายยังอ้างว่าเกิดจากรับวัฒนธรรมต่างประเทศจนเกินควรแล้วลืมภาษาของตนเอง
การทับศัพท์ถือเป็นการถอดระบบการเขียนจากระบบการเขียนแบบหนึ่งสู่อีกแบบหนึ่ง โดยที่รูปอ่านยังคงมีความใกล้เคียงหรือเหมือนกับคำที่ถูกทับศัพท์ รวมทั้งยังมีจำนวนพยางค์ของคำที่สั้นกว่าศัพท์บัญญัติซึ่งมีความยาวของคำมากกว่า และไม่สะดวกต่อการสื่อสารโดยทั่วไป บ่อยครั้งจึงนิยมใช้คำทับศัพท์มากกว่า
สำนักงานราชบัณฑิตยสภาเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่บัญญัติศัพท์หรือกำหนดการทับศัพท์ของแต่ละคำขึ้นมา และบางครั้ง คำที่ทับศัพท์หรือบัญญัติขึ้นมา มักก่อให้เกิดการถกเถียงและเป็นที่ฮือฮาในสังคม เช่นในกรณีการบัญญัติศัพท์คำว่า "Clickbait" (ทับศัพท์ได้คำว่า คลิกเบต) ศัพท์บัญญัติใช้คำว่า "พาดหัวยั่วให้คลิก"[2][3] หรืออีกกรณีอย่างการทับศัพท์ชื่อเครื่องดื่มขึ้นมา จนเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่าดูคล้ายคลึงกับบทสวดมนต์[4]
ภาษาฟร็องแกล
แก้ภาษาฟร็องแกลเป็นภาษาที่เกิดจากการผสมกันของภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และด้วยอิทธิพลของการเข้ามาผสมของภาษาอังกฤษในภาษาฝรั่งเศส ทำให้เล็งเห็นถึงผลเสียต่อการอนุรักษ์ภาษา
ในปี 2562 ทางอากาเดมีฟร็องแซซได้ออกมาเตือนหน่วยงานสาธารณะให้หยุดการใช้ภาษาดังกล่าว เนื่องจากมีการใช้อย่างเพิ่มขึ้นในโลกออนไลน์และเพื่อการตลาดในระดับโลก รวมทั้งยังแสดงความกังวลอย่างจริงจังต่อการผสมคำทั้งสองภาษาเข้าด้วยกัน โดยยังระบุว่าเป็นการกระทำ "การละเมิดแบบซ้ำ ๆ" ตามกฎตูบง (ชื่อเต็ม : กฎหมายหมายเลขที่ 94-665 ของวันที่ 4 สิงหาคม 1994 เกี่ยวกับการใช้ภาษาฝรั่งเศส) โดยเป็นกฎที่ระบุว่าให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสแท้ ๆ ในการประชาสัมพันธ์หรือการโฆษณา รวมทั้งการห้ามการออกอากาศรายการที่มีภาษาต่างประเทศ และรายการเหล่านั้นต้องถูกพากย์เสียงแทนที่เป็นภาษาฝรั่งเศส รวมทั้งยังกำหนดให้สถานีวิทยุต้องออกอากาศเพลงภาษาฝรั่งเศส โดยคิดเป็นร้อยละ 40 ของเพลงทั้งหมดที่เปิดในสถานี[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษก สงขลา, สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2567
- ↑ โพสต์เฟซบุ๊กของราชบัณฑิตยสภาเกี่ยวกับคำว่า พาดหัวยั่วให้คลิก [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2567
- ↑ ราชบัณฑิตยสภา บัญญัติศัพท์คลิกเบต (Clickbait) ว่า “พาดหัวยั่วให้คลิก” ประชาชาติธุรกิจ, สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2567
- ↑ ราชบัณฑิตฯ เผยคำทับศัพท์เมนูกาแฟ คัปปุชชีโน-ลัตเต-มัคคียาโต ทำชาวเน็ตนึกว่าบทสวดมนต์! ผู้จัดการออนไลน์, สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2567
- ↑ French Academy warns public bodies to stop using 'Franglais' ยูโรนิวส์, สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567