ฟาร์นสเวิร์ทเฮาส์
ฟาร์นสเวิร์ทเฮาส์ (อังกฤษ: Farnsworth House) เป็นบ้านพักอาศัยได้รับการออกแบบทางสถาปัตยกรรมและโครงสร้างโดยลูทวิช มีส ฟัน แดร์ โรเออ ระหว่างปี ค.ศ. 1945 - 1951 ภายในบ้านประกอบด้วยห้องเพียงหนึ่งห้อง ตั้งอยู่ในเขตนอกเมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองชิคาโก ออกไปราว 55 ไมล์ (89 กิโลเมตร) ในที่ดินประะกอบด้วยเนื้อที่ทั้งหมดกว่า 60 เอเคอร์ และมีแม่น้ำฟ็อกซ์ไหลผ่านบริเวณที่ดิน อาคารประกอบด้วยโครงสร้างที่ดูโปร่งโล่ง ด้วยการใช้เหล็กและกระจกทั้งหมด ซึ่งเป็นความต้องการของเจ้าของบ้าน ดร.อีดิท ฟาร์นสเวิร์ท ผู้เชี่ยวชาญด้านไตวิทยาทีมีชื่อเสียงของเมืองชิคาโก ที่ต้องการให้มีพื้นที่สำหรับทำงานอดิเรกที่เธอชื่นชอบ เช่น เล่นไวโอลิน แปลบทกลอน และเพลิดเพลินไปกับธรรมชาติ มีส ได้ออกแบบบ้านที่มีขนาดเล็กเพียงแค่ 140 ตารางเมตร (1,500 ตารางฟุต) ด้วยรูปทรงที่เรียบง่าย ประกอบกับที่วางภายในห้องที่เน้นเรื่องของฟังก์ชัน จนในเวลาต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็นงานระดับมาสเตอร์พีซ เป็นสัญลักษณ์แห่งงานสถาปัตยกรรมแบบอินเตอร์ชันแนลสไตล์ หรือ งาน โมเดิร์น
ฟาร์นสเวิร์ทเฮาส์ | |
---|---|
Farnsworth House | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ประเภท | บ้านพักอาศัย |
สถาปัตยกรรม | โมเดิร์น[2] อินเตอร์เนชันแนลสไตล์ |
เมือง | พลาโน รัฐอิลลินอย |
ประเทศ | ประเทศสหรัฐอเมริกา |
พิกัด | 41°38′5.96″N 88°32′8.6″W / 41.6349889°N 88.535722°W |
เริ่มสร้าง | ค.ศ. 1945 - 1951[1] |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
โครงสร้าง | เหล็ก และ แผ่นกระจก |
การออกแบบและการก่อสร้าง | |
สถาปนิก | ลูทวิช มีส ฟัน แดร์ โรเออ |
ฟาร์นสเวิร์ทเฮาส์ ได้รับการบรรจุเข้าสู่สิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติ (NHL) ในปี ค.ศ. 2006 ภายหลังการบรรจุเข้าทะเบียนสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งชาติ (NRHP) ในปี ค.ศ. 2004[3] ปัจจุบันบ้านเป็นของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์บ้าน โดยกลุ่มอนุรักษ์โบราณสถานแห่งชาติ (NTHP)
ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2008 บ้านถูกน้ำท่วมจากฝนตกหนักของพายุเฮอร์ริเคนไอค์[4] ระดับน้ำได้ขึ้นสูงราว 46 ซม. (18 นิ้ว) เหนือพื้นห้อง[5] แต่ถึงอย่างไรก็ดีเฟอร์นิเจอร์ภายในหลายชิ้นรอดพ้นจากน้ำท่วม ซึ่งเป็นผลมาจากการออกแบบให้ยกพื้นห้องสูงขึ้น บ้านถูกปิดเพื่อการซ่อมแซมในปี ค.ศ. 2008 จนกลับมาเปิดอีกครั้งในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 2009
องค์ประกอบในอาคาร
แก้ฟาร์นสเวิร์ทเฮาส์ ได้รับการออกแบบช่องเปิด (หน้าต่าง) จากพื้นจรดเพดาน ด้วยแผ่นกระจกใส เพื่อเปิดรับที่ว่างด้านนอกอาคารที่เป็นธรรมชาติ รอบทิศทั่วบ้าน มีการยกระดับพื้นบ้านออกเป็นสองระดับ คือส่วนของห้อง และชานด้านอก เพื่อเป็นการลดระดับเข้าสู่ระเบียงก่อนถึงพื้น และไม่เป็นการทำให้ทางขึ้นดูสูงจนเกินไป บ้านใช้หลังคาแฟลตสแลปเรียบ ติดกับผนังบ้าน ตัวบ้านประกอบด้วยเสาทั้งหมด 8 ต้น รวมกับระเบียงด้านนอกแล้วเป็น 12 ต้น ยกสูงจากระดับดินเดิม 1.60 เมตร เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมจากแม่น้ำ มีการยื่นแคนทีลิเวอร์ออกจากเสาในด้านสกัดทั้งสองฝั่ง
ข้อวิจารณ์
แก้เนื่องจากผนังห้องที่ปกปิดด้วยกระจกเพียงอย่างเดียว หลังคาแฟลตเหลี่ยม ขาดซึ่งความสวยงามด้านงานตกแต่ง และรวมไปถึงขาดซึ่งการทำให้ห้องอบอุ่น ตามสภาพอากาศหนาวเย็น ซึ่งต่างเป็นประเด็นที่รูปแบบอินเตอร์ชันแนลสไตล์ได้รับการโจมตีมาโดยตลอด เช่นเดียวกับงานฟาร์นสเวิร์ทเฮาส์นี้ด้วย นอกจากนี้เขายังถูกวิจารณ์เรื่องของระบบบริหารจัดการพลังงานที่ย่ำแย่มาก[6]
แต่ถึงอย่างไรก็ดี ก็มีนักวิจารณ์บางส่วนที่กลับยกย่องงานของมีส เช่น พอล โกลด์เบอร์เกอร์ และแบร์ คามิน สองนักวิจารณ์งานสถาปัตยกรรมที่เคยได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ ต่างยกย่องให้บ้านนี้คืองานระดับมาสเตอร์พีซ อย่างแท้จริง มันเป็นงานที่มีคุณค่าเหนือกาลเวลา สะท้อนมาจากความศรัทธาของมีสในงานสไตล์ มินิมอล ฟิลิป จอห์นสัน สถาปนิกรางวัลพริตซ์เกอร์ ก็ได้นำแรงบรรดาลใจนี้ไปใช้ออกแบบบ้านกระจก หรือ กลาสเฮาส์ ในปี ค.ศ. 1947
อ้างอิง
แก้- ↑ History เก็บถาวร กุมภาพันธ์ 24, 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Farnsworth House. Retrieved 10 February 2007
- ↑ Farnsworth House, Property Information Report เก็บถาวร 2006-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน HAARGIS Database, Illinois Historic Preservation Agency. Retrieved 10 February 2007.
- ↑ "Farnsworth House". National Historic Landmark summary listing. National Park Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-20. สืบค้นเมื่อ 2007-10-03.
- ↑ "NEWS ALERT: World Icon Farnsworth House Under Water; Video as the Flood Rises". PreservationNation. National Trust for Historic Preservation. 2008-09-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-27. สืบค้นเมื่อ 2008-09-17.
- ↑ "Flood Waters Have Receded at World-Famous Farnsworth House". PreservationNation. National Trust for Historic Preservation. 2008-09-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-04. สืบค้นเมื่อ 2008-09-17.
- ↑ Denzer, Anthony (2013). The Solar House: Pioneering Sustainable Design. Rizzoli. ISBN 978-0847840052. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-26. สืบค้นเมื่อ 2017-02-28.