ฟักข้าว
ฟักข้าว | |
---|---|
ผลฟักข้าวที่สุกแล้ว | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
Rare (NCA)
| |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Cucurbitales |
วงศ์: | Cucurbitaceae |
สกุล: | Momordica |
สปีชีส์: | M. cochinchinensis |
ชื่อทวินาม | |
Momordica cochinchinensis (Lour.) Spreng. |
ฟักข้าว เป็นไม้เลื้อยตามต้นไม้หรือตามรั้วบ้าน โดยมีชื่อเรียกกันต่างไป เช่น ขี้กาเครือ (ปัตตานี) ผักข้าว (ตาก ภาคเหนือ) มะข้าว (แพร่) เป็นต้น[1]
ถิ่นกำเนิด
แก้ฟักข้าว เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิด ตั้งแต่ประเทศจีนตอนใต้ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย บังกลาเทศ และฟิลิปปินส์
ลักษณะพืช
แก้ลำต้น
แก้ฟักข้าวเป็นไม้ประเภทพืชล้มลุก โดยเป็นเถาเลื้อย มีมือเกาะ แบบเดียวกับตำลึง ใบเป็นใบเดี่ยว รูปหัวใจ หรือรูปไข่ รูปร่างคล้ายใบโพธิ์ ความกว้างยาวเท่ากันประมาณ 6-15 เซนติเมตร ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉก 3-5 แฉก
ดอก
แก้ดอกลักษณะดอกจะออกบริเวณข้อต่อระหว่างใบ หรือ ซอกใบ โดยออกข้อละดอก ลักษณะ คล้ายดอกตำลึง ลักษณะกลีบดอก ขาวอมเหลือง หรือขาวแกมเหลือง ก้านเกสรและกลีบละอองมีสีม่วงแกมดำ หรือน้ำตาลแกมม่วง ใบเลี้ยงประดับมีขน โดยดอกจะเป็นดอกแบบ เพศไม่สมบูรณ์ แยกเป็นดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย และจะอยู่ต่างต้นกัน ดอกจะมีสีขาวอมเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ ดอกเพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่าดอกตัวผู้
ผล
แก้มี 2 ลักษณะคือ พันธุ์ผลรี กับพันธุ์ผลกลม (พบมากในภาคใต้) พันธุ์ผลรี ก็ยังมีแตกต่างปลีกย่อยหลากหลายไปอีกมาก อาจจะไม่เห็นความต่างเด่นชัดนัก (มข.นำมาวิจัย เกือบ 20 สายพันธุ์) เช่น ดูจากขนาดของผล, ความหนาของเยื่อหุ้มเมล็ด ฯลฯ ฟักข้าวพันธุ์ดั้งเดิมจะมีหนามเล็ก ๆ อยู่รอบผล บางพันธุ์จะแหลมมาก (ดังรูป) ผลอ่อนมีสีเขียว จะเจริญได้ต้องมีการผสมระหว่างดอกตัวผู้กับดอกตัวเมีย ต้นฟักข้าวมีการแยกเพศ เมื่อผลสุกจะมีสีแดง หรือแดงอมส้ม ภายในมีเมล็ดจำนวนมากเรียงตัว
เยื่อหุ้มเมล็ด
แก้ฟักข้าวที่ปลูกในประเทศไทย ปริมาณความหนาของเยื่อหุ้มเมล็ดมีมาก-น้อยขึ้นกับสายพันธุ์และการดูแล บางพันธุ์มีเยื่อหุ้มเมล็ดมากถึง 144.62 กรัม/ผล ในขณะที่บางพันธุ์มีเยื่อหุ้มเมล็ดแค่ 41 กรัม/ผล[2]
การขยายพันธุ์
แก้สามารถขยายพันธุ์ มีหลายวิธึ เช่น ด้วยเมล็ด, แยกราก, ปักชำ, ทับเถา ฟักข้าวชอบความชื้นสูง (ประมาณ 70-80 %) เริ่มมีดอกหลังจากปลูกไปได้แล้วประมาณ 3-6 เดือน พันธุ์ไทยมักจะให้ผลผลิตตลอดปี การเก็บเกี่ยวสามารถให้ผลประมาณ 0-60 ผล/ปี ขึ้นอยู่กับสถานที่ปลูก และการดูแล ถ้าปลูกในสถานที่ที่โดนแดดน้อยกว่า 5 ชมหรือปริมาณแสงแดดน้อย เช่น ปลูกบริเวณหมู่บ้านจัดสรรที่มีที่แคบ ๆ มีต้นไม้ใหญ่หรือมีอะไรมาบังแสงแดดนั่งร้านฟักข้าว ฯลฯ ฟักข้าวจะไม่ออกดอก หรือออกดอกน้อย
คุณค่าทางโภชนาการ
แก้ในประเทศไทยคนสมัยก่อนนำผลฟักข้าวอ่อนสีเขียวเป็นอาหาร เนื่องจากรสชาติเนื้อฟักข้าว เหมือนมะละกอ วิธีการนำมารับประทานโดยการนำมาลวกหรือต้มให้สุก จิ้มกินกับน้ำพริก หรือใส่แกง ส่วนยอดอ่อน ใบอ่อน นำมาเป็นผักได้ โดยการนึ่งหรือลวกให้สุก เช่นเดียวกับผลอ่อนนำไปปรุงเป็นแกง เช่น แกงแค น้ำปรุงสามรส หรือจิ้มน้ำพริกได้เช่นเดียวกัน ในปัจจุบันจากงานวิจัยหลายแห่งพิสูจน์แล้วว่าการบริโภคเยื่อหุ้มเมล็ดของผลสุก มีประโยชน์มากกว่าการบริโภคผลอ่อน เพราะในเยื่อหุ้มเมล็ด มีสารที่มีประโยชน์มากมาย เช่น สารต้านอนุมูลอิสระสูง, ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะอาหาร ฯลฯ
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.elib-online.com/doctors50/food_momordica001.html
- ↑ (ข้อมูลจากงานวิจัยฯ ของ มข.)
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Momordica cochinchinensis ที่วิกิสปีชีส์