พูดคุย:โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล

โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ
โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิสถานศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับสถานศึกษา อันประกอบด้วย โรงเรียน วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย รวมถึงสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ให้เป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ส่วนที่นำออกจากบทความ แก้

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอุดรพิทยานุกูล แก้

  • แท้จริงแล้ว ระยะเวลาก่อตั้งของอุดรพิทยานุกูลนั้น ถือเป็นระยะเวลาที่มีหลักฐานปรากฏชื่อ'อุดรพิทยานุกูล'เท่านั้น (คือตั้งแต่ปี 2445) ยังมิได้ร่วมระยะเวลาที่เป็นโรงเรียนหนังสือไทย ซึ่งอาจจะนับไปก่อนหน้านั้นประมาณ 6-7 ปี เนื่องจากอุดรธานีก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2436 ก่อนหน้าสถาปนาโรงเรียน 9 ปีเท่านั้น ซึ่งช่วงนั้น กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ยังเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลอุดร ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ก็เป็นองค์สถาปนาอีกพระองค์ของอุดรพิทยานุกูลด้วยเช่นกัน และสมควรที่จะระลึกถึงพระองค์ท่านเฉกเช่นพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวัฒนา ดังที่โรงเรียนได้จัดพิธีสักการะในวันสถาปนาของทุกปี
  • ก่อนหน้าปี พ.ศ. 2545 โรงเรียนถือเอาวันสถาปนาตรงกับวันที่ 18 กรกฎาคม 2444
  • อักษรย่อที่ปักอกเสื้อของนักเรียนในช่วงแรก คือ อด.1
  • นักเรียน 4 คนแรกเมื่อคราวเปิดสอน ม.7-8 ได้แก่ นายสมคิด ศรีสังคม นายนิยม ศรีถาพร นายลออ เล็กถาวร และนายวิสุทธิ์ บุษยกุล[1]
  • ปีแรกที่มีการบันทึกเลขประจำตัวของนักเรียนอุดรพิทยานุกูล คือ ร.ศ.128 (พ.ศ. 2453) โดยนักเรียนเลขประจำตัว 1 ชื่อ'จันทร์'
  • ประเพณีการตั้งชื่อรุ่นของอุดรพิทย์ น่าจะมีครั้งแรกในสมัย พ.ศ. 2484 เมื่อญี่ปุ่นบุกประเทศไทย รัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้นักเรียนทุกคนเลื่อนชั้นได้โดยไม่ต้องสอบปลายปี โดยมีผู้เรียกนักเรียนชั้น ม.6 รุ่นนั้นว่า "ม.6 รุ่นโตโจ" อันเป็นนามของนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นในขณะนั้น[2]
  • ในช่วงที่ขบวนการคอมมิวนิสต์ถูกเผยแพร่ในเมืองอุดร เสาธงที่อุดรพิทยานุกูลเองก็มีคนแอบไปชักธงแดงตราค้อนเคียวขึ้นยอดเสาในเวลากลางคืน ครูสามคนจึงถูกควบคุมตัวในข้อหาเป็นคอมมิวนิสต์ (ได้แก่ครูเตียง ศิริขันธ์ ครูญวง เอี่ยมศิลา และครูปั่น แก้วมาตย์) โดยศาลพิพากษาจำคุกครูญวง 10 ปี และยกฟ้องครูเตียงกับครูปั่น[3] --Horus | พูดคุย 16:34, 12 กรกฎาคม 2552 (ICT)

อ้างอิง แก้

  1. วิสุทธิ์ บุษยกุล, วีรชนนักประชาธิปไตย ขุนพลภูพาน เตียง ศิริขันธ์ ผู้นำเสรีไทยภาคอีสาน, สถาบันวิทยาศาสตร์สังคม, 2540, หน้า 8
  2. มณเฑียร แก้ววงศ์, 80 ปี อุดรพิทยานุกูล, เอราวัณการพิมพ์, 2526, หน้า 111
  3. วิสุทธิ์ บุษยกุล, วีรชนนักประชาธิปไตย ขุนพลภูพาน เตียง ศิริขันธ์ ผู้นำเสรีไทยภาคอีสาน, สถาบันวิทยาศาสตร์สังคม, 2540, หน้า 76
กลับไปที่หน้า "โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล"