พูดคุย:ศาสตราจารย์

ศาสตราจารย์ เป็นส่วนหนึ่งของ สถานีย่อย:สถาบันอุดมศึกษาไทย มีจุดมุ่งหมายที่จะรวบรวมเรื่องทุกอย่างเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย
ถ้าต้องการมีส่วนร่วมกับโครงการ สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยเข้าไปที่ โครงการวิกิสถานศึกษา และ หน้าสถานีสถาบันอุดมศึกษาไทย
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
ศาสตราจารย์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับการศึกษา ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ศาสตราจารย์ หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ขาดมุมมองสากล แก้

ไม่ทราบว่า บทความนี้ไม่ได้เสนอมุมมองสากลตรงไหนหรือครับ วานชี้แจง เห็นติดป้ายกันหลายรอบแล้ว --Manop | พูดคุย 13:43, 15 สิงหาคม 2553 (ICT)

ไม่ลองอ่านดูเนื้อหาโดยละเอียดละครับ รุ่นตั้งแต่ติดป้ายโดย Taweetham เป็นต้นมาก็ไม่ได้มีการปรับปรุงอะไรเพิ่มเติมเลย มีแต่การแก้ไขเล็กน้อย ศาสตราจารย์ที่ต้องทำผลงานวิจัยและ/หรือแต่งตำรา เนื้อหาเพียงย่อหน้าแรกก็ไม่สากลแล้ว พูดถึงไทยอย่างเดียว ส่วนจำนวนศาสตราจารย์ในประเทศไทย ผมไม่ทราบเหมือนกันว่าจะรวมจำนวนไว้ทำไม (แทนที่จะเป็นรายชื่อ) ไม่รวมต่างประเทศบ้างหรือครับ :) หากเทียบกับวิกิพีเดียภาษาอังกฤษซึ่งพูดถึงหลายประเทศ เพราะการแต่งตั้งศาสตราจารย์มีเกณฑ์ที่ต่างกันออกไปในรายละเอียด แต่วิกิพีเดียภาษาไทยพูดถึงประเทศไทยอย่างเดียวจริงๆ --octahedron80 14:10, 15 สิงหาคม 2553 (ICT)
ผมเสนอให้แยกบทความนี้ออกเป็น ศาสตราจารย์ในประเทศไทย เป็นอีกบทความหนึ่งจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องมุมมองสากลครับ --octahedron80 14:13, 15 สิงหาคม 2553 (ICT)
อย่าเข้าใจอะไรผิดครับ "การเป็นสากล" ไม่ได้หมายถึงว่าต้องทำเหมือนชาวบ้านนะครับ รุ่นที่คุณ Taweetham ติดป้ายมันก็ไม่ได้มีปัญหาตั้งแต่แรก แต่คิดว่าคุณ Taweetham คงไม่เข้าใจจุดนี้ (ซึ่งเอามาอ้างว่ารุ่นเก่าติดป้ายแล้วไม่แก้ แปลว่ายังผิด) และที่บอกว่าพูดถึง ศาสตราจารย์ในเมืองไทย มากเป็นพิเศษก็ไม่เห็นแปลกตรงไหนนี่ครับ แล้วก็ถ้าแยกบทความออกไปปุ๊บ ผมก็เดาว่าคนคงติดป้ายแจ้งลบทันทีว่าไม่สำคัญ --Manop | พูดคุย 16:13, 15 สิงหาคม 2553 (ICT)
ประเด็นผมก็ไม่ได้อยู่ที่ต้องทำให้เหมือนชาวบ้าน แต่ประเด็นผมอยู่ที่เนื้อหาควรพูดถึงทั้งโลกโดยรวม โดยไม่เน้นประเทศไทยต่างหาก แน่นอนว่าศาสตราจารย์บางตำแหน่งในเนื้อหา มีแต่เฉพาะในไทยไม่มีในสากล ถ้าจะพูดถึงประเทศไทยอย่างเดียวก็ให้แยกไป ถ้าเนื้อหามีไม่มากพอที่จะแยกบทความ ก็แยกส่วนเฉยๆก็ได้ เหมือนกับศาสตราจารย์ในสหรัฐอเมริกาที่วิกิพีเดียภาษาอังกฤษแยกบทความไว้เพราะเนื้อหาเยอะ ใครจะติดป้ายว่าไม่สำคัญเหรอครับผมว่ามันก็สำคัญนะ คุณต่างหากที่เข้าใจผิด--octahedron80 16:28, 15 สิงหาคม 2553 (ICT)
ถ้าคุณ octahedron80 เห็นว่ายังไม่เป็นสากลทำไมไม่แก้หรือครับ เอ หรือว่าไม่มีเวลาแก้ --Manop | พูดคุย 16:26, 15 สิงหาคม 2553 (ICT)
ผมไม่มีข้อมูลอ้างอิงครับ ถ้าผมมีผมก็ทำไปแล้ว โดยเฉพาะเรื่องศาสตราจารย์ในประเทศไทย ถ้าผมทำรับรองยาวกว่าบทความหลักอีก ทำไมคุณต้องประชดทุกทีด้วยครับ --octahedron80 16:31, 15 สิงหาคม 2553 (ICT)
ผมเห็นคุณก็อ้างทุกทีละครับ[ต้องการอ้างอิง] แต่ก็ไม่ต้องหาเฉพาะศาสตราจารย์ในประเทศไทยก็ได้นะครับ เห็นคนข้างบนบอกว่ามีเยอะแล้ว ขาดแต่ศาสตราจารย์ที่เป็นสากล
ส่วนที่ว่าผมประชด ผมก็ไม่ได้ประชดนี่ครับ ผมก็พูดตรงๆ ทุกครั้ง ออกจะตรงซะขนาดนั้น --Manop | พูดคุย 16:37, 15 สิงหาคม 2553 (ICT)
ถ้าผมทำผมก็คงเคลียร์เรื่องประเทศไทยออกครับ แล้วเอาไปรวมกับศาสตราจารย์ในประเทศไทย เนื้อหาที่เหลือมันจะเป็นสากลเอง คุณจะมีปัญหาหรือเปล่าถ้าผมทำอย่างนั้น --octahedron80 16:43, 15 สิงหาคม 2553 (ICT)

ขออภัยที่มาช้า ขอพุ่งไปที่ประเด็นปัญหาของบทความเลยนะครับ
  1. ขาดมุมมองสากล เพราะบทความนี้มุ่งความหมายของคำ "ศาสตราจารย์" ในทางยศศักดิ์มากกว่า
    1. ในภาษาอังกฤษ คำว่า professor ใช้ในความหมายที่ต่างออกไปจากในประเทศไทย คนที่ได้ tenure ในมหาวิทยาลัยแล้ว ก็เรียก professor ได้ ทั้งที่ตำแหน่งจริงอาจไม่ใช่ศาสตราจารย์
    2. ในบางแห่ง คำว่าเป็น professor ก็มิได้มีศักดิ์มีศรีเหมือนอย่างที่อธิบายในบทความ เป็นเพียง job หนึ่งที่ต้องหาคนมาเติมเต็ม บางมหาวิทยาลัยไม่มีชื่อเสียง อยู่ในถิ่นห่างไกล รับคนจบ PhD ไม่ผ่าน postdoc มาลงหน้าที่นี้เลยก็มี ไม่มีการคัดเลือกแบบที่กล่าวถึงในบทความ
    3. ศาสตราจารย์ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีตำแหน่งรองลงมาเป็น รองศาสตราจารย์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสมอไป ยังมีคำอื่นๆ สำหรับตำแหน่งรองลงมา เช่น senior lecturer, reader, senior fellow, etc.
    4. ประเภทของศาสตราจารย์ที่บรรยายในบทความ ความหมาย และแนวทางการคัดเลือก เป็นแนวตามประเทศไทยทั้งหมด แม้ว่าประเทศไทยจะนำแนวทางนี้มาจากต่างประเทศ แต่อ่านแล้วก็รู้ได้ว่าเป็นระบบไทยไปเสียแล้วแต่เขียนเหมือนว่าเป็นแนวทางสากล
    • ด้วยตัวอย่างที่ยกมานี้ ทำให้บทความในรุ่นปัจจุบันขัดกับความหมายสากล
  2. ขาดอ้างอิง และมีข้อมูลปลีกย่อย ที่เป็น trivia
แนวทางแก้ไข ขอเสนอแบบขี้เกียจโดยแปลย่อหน้าแรกบทความภาษาอังกฤษมาดังนี้

ความหมายของ ศาสตราจารย์ (ละติน: professor ผู้มีความเชี่ยวชาญในศิลปะวิทยาการเฉพาะด้าน หรือ ผู้สอนผู้มีความชำนาญระดับสูง) แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ สำหรับประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในกลุ่มเครือจักรภพ (ยกเว้นแคนาดาและไอร์แลนด์) คำนี้หมายถึง อาจารย์อาวุโสที่ดำรงตำแหน่งระดับภาควิชา โดยเฉพาะหัวหน้าภาควิชา หรือ หมายถึงตำแหน่งที่ได้รับเป็นการเฉพาะบุคคล สำหรับแคนาดาและสหรัฐอเมริกา ศาสตราจารย์เป็นตำแหน่งสำหรับอาจารย์อาวุโสในสถาบันอุดมศึกษาทั่วไป ตำแหน่งศาสตราจารย์ในอเมริกาและแคนาดาเปิดกว้างสำหรับอาจารย์จำนวนมากกว่าตำแหน่งในกลุ่มเครือจักรภพ

บทความภาษาอังกฤษไม่ใช่ว่าจะดีเสมอไป แต่ถ้ายอมรับย่อหน้าแรกกันไปก่อน ก็คงพอแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น ย่อหน้าถัดไปและโครงสร้างบทความก็คงจะตามมาเอง --taweethaも 18:57, 15 สิงหาคม 2553 (ICT)

ผมลองเปลี่ยนย่อหน้าแรกตามที่แนะนำแล้วครับ --octahedron80 19:31, 15 สิงหาคม 2553 (ICT)
เนื้อหารุ่นเก่าดั้งเดิม ประเภททั้งหมดเป็นศาสตราจารย์ในประเทศไทย [1] ไปๆมาๆไหงกลายเป็นสากลก็ไม่รู้ :( --octahedron80 19:37, 15 สิงหาคม 2553 (ICT)

ในญี่ปุ่น แก้

"โดยถัดมาเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ที่เรียกว่า.... (ญี่ปุ่น: 准教授 Junkyōju ?)" รบกวนช่วยเติมคำอ่านด้วยครับ --ธวัชชัย 11:01, 26 มกราคม 2554 (ICT)

กลับไปที่หน้า "ศาสตราจารย์"