พูดคุย:ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร

ความคิดเห็นล่าสุดเมื่อ: 4 ปีที่แล้ว โดย Portalian ในหัวข้อ ความจำเป็นของบทความนี้

ความจำเป็นของบทความนี้ แก้

นอกจากวิกิพีเดีย ผมไม่เห็นเว็บไหนเลยที่พูดถึง "ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร" แยกออกมาเป็นระบบต่างหาก (ในวิกิอังกฤษก็ไม่ได้มีบทความแยก) ในความเข้าใจของผมคือ บทความนี้รวมเอารถไฟฟ้าสายต่างๆ ที่เป็นของกทม.มารวมกันเฉยๆ แต่สายเหล่านี้ไม่ได้มีความรวมกลุ่มเป็นระบบเดียวกันเลย แม้แต่เว็บไซต์ทางการก็ไม่มี

ลองเปรียบเทียบกับแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง ต่างก็เป็นของรฟท.เหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้มีบทความ "ระบบขนส่งมวลชนรฟท." แยกออกมาแต่อย่างใด

ผมเสนอว่าควรลบบทความนี้ เพราะเนื้อหาก็ซ้ำซ้อนกับรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ไม่ได้มีอะไรเพิ่ม และถ้าลบบทความนี้แล้ว ในตารางนี้ และในแม่แบบนี้ คิดว่าหัวข้อรถไฟฟ้าบีทีเอสควรขึ้นไปอยู่เป็นหัวข้อหลัก ระดับเดียวกับรถไฟฟ้ามหานคร --Portalian (คุย) 00:38, 15 มีนาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

เห็นด้วยครับ ว่าควรลบ เหมือนพยายามจะเขียนในนามบริษัท Bangkok Mass Transit System (BTSC) ดูจากประวัติการเขียนแล้ว ตอนแรกสุดคือ เป็นบริษัทครับ แต่คนมาเขียนต่อ เขียนแล้วหลงทาง นึกว่าหมายถึงระบบ เละเทะมากครับ --Sry85 (คุย) 01:09, 15 มีนาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ขอเห็นต่างนะครับ เท่าที่ย้อนอ่านและศึกษามา "ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร" หรือ "BMT" มีตัวตนอยู่จริงครับ ชื่อนี้ เป็นแผนงานระบบขนส่งมวลชนสายต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ ของทาง BMA และ สจส. กทม. โดยตรง และเป็นชื่อ "ที่ถูกเขียนอยู่บนรายละเอียดโครงการและสัญญาการใช้งานระบบบนสถานีบีทีเอสทุกสถานี" จริงอยู่ครับที่ไม่มีเว็บไซต์โครงการอ้างอิงโดยตรงเหมือนของรถไฟฟ้ามหานครที่มีเว็บไซต์รวมเป็นของ รฟม. เพราะโครงการ BMT มีผู้รับผิดชอบหลายรายมากภายใน Owner เดียวคือ สจส. กทม. ทั้ง บีทีเอส และ กรุงเทพธนาคม รวมถึงในอนาคตอาจมีคนดำเนินการอื่นอีกเช่น บีอีเอ็ม จากการเปิดประมูลโครงการของทาง กทม. เอง
เท่ากับว่าระดับของบทความ "ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร" มันจะเท่ากับ "รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง" และ "รถไฟฟ้ามหานคร" โดยปริยายอยู่แล้วจากความหมายบนป้ายของบีทีเอสและแผนงานของ กทม. โดยตรง ส่วน แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เราไม่นับอยู่แล้วเพราะมันเป็นระบบที่แยกเอกเทศออกมาเป็นอีกระบบเลย (เท่ากับว่าในแผนแม่บทในปัจจุบัน จะมีระบบรถไฟฟ้ารวม 4 ระบบ 3 เจ้าของ) และตามที่คุณ @Portalian อ้างว่าควรยก "รถไฟฟ้าบีทีเอส" ขึ้นไปเท่า "รถไฟฟ้ามหานคร" มันก็ไม่ถูกเสียทีเดียว เพราะคำว่า "รถไฟฟ้าบีทีเอส" คือชื่อของระบบรถไฟฟ้าที่ดำเนินการโดยทางบีทีเอสซี หรือกลุ่มบีทีเอส ซึ่งมีเจ้าของทั้ง กทม. และ รฟม. นั่นคือสายสีเขียวที่เรียกติดปากอยู่แล้ว และสายสีเหลือง/ชมพู ซึ่งเดิมเป็นซับเซ็ตของ รถไฟฟ้ามหานคร แต่อาจจะถูกเหมาเรียกว่าเป็นรถไฟฟ้าบีทีเอสจากการดำเนินการของทางบีทีเอสซีด้วย นี่ยังไม่รวมกรณีว่าถ้าในอนาคตว่าบีทีเอสประมูลสายสีส้มได้ แล้วบีทีเอสเกิดเรียกสายสีส้มว่า "รถไฟฟ้าบีทีเอส" ขึ้นมา คราวนี้ความหมายจะยิ่งเพี้ยนกันแล้วใหญ่ครับ
ผมว่าควรกู้บทความที่ถูก Redirect ไปหน้า บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ก่อน แล้วค่อยพิจารณากันต่อครับ
ป.ล. ก่อนหน้านี้มีคนเขียนความหมายของ "รถไฟฟ้ามหานคร" ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงมากด้วยนะครับ ว่าเป็นระบบรถไฟฟ้าที่ดำเนินการโดย "บีอีเอ็ม" --Magnamonkun (คุย) 04:14, 15 มีนาคม 2563 (+07

ไม่มีความจำเป็นต้องกู้เนื้อหาเลยครับ เพราะเนื้อหาไม่ถูกต้อง ซ้ำซ้อนบทความอื่น และมีประวัติหน้าอยู่แล้ว ดูได้เลย --Sry85 (คุย) 09:55, 15 มีนาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ตอบคุณ @Magnamonkun เรื่องระดับของรถไฟฟ้าบีทีเอสนะครับ ผมมองว่า ณ ตอนนี้ ในแง่การใช้งาน คำว่า "รถไฟฟ้าบีทีเอส" ดูจะสมมูลกับ "รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา" แต่เป็นชื่อที่คนทั่วไปใช้เรียกติดปากเฉยๆ (คือเป็นในแง่ชื่อเล่นของระบบ มากกว่าจะเป็นความหมาย literally ว่าต้องเป็นรถไฟฟ้าของ BTSC เท่านั้น) ซึ่งปัจจุบันบังเอิญมันก็เป็นแค่ 2 สายของกทม./BTSC ที่เปิดให้บริการอยู่พอดี เลยไม่มีปัญหาอะไรที่ในแง่การใช้งานจะถูกจัดให้อยู่ระดับเดียวกับรถไฟฟ้ามหานครไปโดยปริยาย เช่นตามป้ายหรือตามพวกแอปแผนที่ต่างๆ
ส่วนในอนาคต ถ้าสายสีชมพูกับเหลืองสร้างเสร็จ คงต้องรอดูก่อนว่าชื่อที่คนส่วนใหญ่ใช้ และการจัดระดับตามป้ายต่างๆ จะออกมาแบบไหน ถึงตอนนั้นค่อยมีการจัดระดับและหมวดหมู่ใหม่ตามความเหมาะสม --Portalian (คุย) 00:08, 17 มีนาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
กลับไปที่หน้า "ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร"