พูดคุย:ปฏิทินกริกอเรียน

ชื่อสะกด แก้

ตอนนี้มี เกรโกเรียน กับ เกรกอเรียน ซึ่งผมเองคิดว่าน่าจะเป็น "เกรโกเรียน" เหมือนที่ใช้ปัจจุบัน แล้วล่าสุดเจอ เอกสารประกอบของภาคีสมาชิก ราชบัณฑิต สะกด "กรีกอเรียน" (สระอี) [1] และเอกสารอีกชุดนึงเขียน "กริกอเรียน" (สระอิ) [2] ไม่แน่ใจว่าอย่างกรณีนี้เราควรจะอ้างอิงจากราชบัณฑิตไหมครับ --Manop | พูดคุย 06:31, 24 มีนาคม 2551 (ICT)

เมื่อก่อนผมอ่านอีกอย่างครับ "เกรเกอเรียน"
วันนี้ลองมาเปิดพจนานุกรมดู ปรากฏว่า Gregorian อ่านได้สองแบบคือ "กริกอเรียน" และ "กริโกเรียน" [3]
ไม่มี "เกร–" เลย แต่ก็สระอิทั้งคู่ และถ้าจะให้เข้ากับ [1] และ [2] พยางค์ที่สองคงต้องใช้ "–กอ–" ครับ
ดังนั้น "กริกอเรียน" เป็นคำตอบสุดท้ายสำหรับผม

--ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 12:25, 24 มีนาคม 2551 (ICT)

งั้นอ่านนี้อ่านตามสำเนียงอังกฤษหรือครับ แล้วต้องเปลี่ยนชื่อสมเด็จพระสันตะปาปา สมเด็จพระสันตะปาปาเกรโกรีที่ 13 ตามไหมครับ --Manop | พูดคุย 14:50, 24 มีนาคม 2551 (ICT)
จากประสบการณ์ คิดว่า กริกอเรียน คือแบบอเมริกัน "กริโกเรียน" คือแบบอังกฤษ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 17:01, 24 มีนาคม 2551 (ICT)
  • ตอนนี้ ชื่อพระสันตะปาปา ในวิกิพีเดียภาษาไทย ใช้ว่า เกรกอรี เปลี่้ยนเป็นเกรโกรีแล้ว โดยคุณมานพ
  • ทั้งคำว่า Gregory และ Gregorian ใช้ตามภาษาอังกฤษ พจนานุกรมภาษาอังกฤษ Encarta ให้เสียงคำหลังเป็น [gri gàwree ən] (กริ-'กอ-รี-ən >> กริกอเรียน)
  • ถ้าจะยึดหลักในการเขียนคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ข้อ 11 ก็น่าจะเป็น ปฏิทินแบบเกรกอรี/เกรโกรี
  • ความนิยมปัจจุบัน มักใช้เป็นคำว่า "Gregorian" มากกว่า "แบบ Gregory" ลองไล่ดูในกูเกิลแบบคร่าวๆ พบ "เกรกอเรียน" มากกว่า "เกรโกเรียน" และ "กรีกอเรียน" มากกว่า "กริกอเรียน" (ประมาณโดยการเปิดไล่ดู ไม่ได้ดูตัวเลข)

รวมรวมข้อมูลไว้ประกอบครับ --KINKKUANANAS 14:57, 24 มีนาคม 2551 (ICT)

  • เพิ่มข้อมูลครับ ในเว็บสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ(ไทย) ใช้ "เกรกอเรียน" [4] กับ "ยูเลียน" --Manop | พูดคุย 03:18, 25 มีนาคม 2551 (ICT)
กลับไปที่หน้า "ปฏิทินกริกอเรียน"