พูดคุย:บึงกะโล่

บึงกะโล่ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ บึงกะโล่ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
บึงกะโล่ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิภูมิศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ บึงกะโล่ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
บึงกะโล่ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิทวีปเอเชีย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับทวีปเอเชีย ทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ บึงกะโล่ หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ย้ายข้อความที่ยังไม่เป็นสารานุกรม

แก้

การขุดลอกบึงไม่ได้เกิดขึ้นโดยหรือในสมัยรัฐบาลทักษฺณ แต่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๕ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ นายชัยวัฒน์ อรุโณทัยวิวัฒน์ ผลงานครั้งนั้นคือ คันบึงขนาดใหญ่ยาวล้อมรอบตัวบึงตามแนวเขตรอบบึง ความยาวประมาณ ๑๗ ก.ม.และคลองน้ำขนาดใหญ่ที่ทอดตัวยาวคู่ขนานไปกับแนวคันบึงไปรอบบึง ซึ่งเกิดขื้นจากการขุดลอกนำดินขึ้นมาก่อทำเป็นคันบึงนั่นเอง แต่โครงการสร้างอ่างเก็บน้ำการเกษตรเพื่อช่วยเหลือชาวนารอบบึง ๒ ตำบลนี้ต้องหยุดชงักลง เพราะเหตุท่านผู้ว่าฯคนเก่งได้รับคำสั่งย้ายราชการไป คนใหม่ที่มาแทนไม่สานต่อโครงการที่ค้างอยู่และรอการสานต่ออยู่จนปัจจุบันนี้ ส่วนถนนตัดใหม่เพื่อเข้าสู่บึงทุ่งกะโล่นั้น นายวัฒนา ภูริลดาพันธ์ อดีตเทศมนตรีเมืองอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นผู้เสนอขอให้ผู้ว่าฯชัยวัฒน์ พัฒนาบึงทุ่งกะโล่ให้เป็นแหล่งน้ำการเกษตรเพื่อช่วยสับสนุนการทำนาของภาคเกษตรกรรม ได้เป็นผู้ดำเนินการประชุมร่วมระหว่างเกษตรกรเจ้าของที่ดิน ประมาณ ๑๙ ราย กับ ส่วนราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยแจ้งว่าจะพัฒนาบึงเป็นอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตร ตามโครงการเดิมที่ค้างคามานานนั้น และขอให้เจ้าของที่ดินทั้งหมดที่อยู่ในแนวเขตถนนที่สำรวจไว้แล้วตัดผ่าน ขอให้บริจาคให้ฟรีๆ โดยไม่ต้องร้องขอค่าเวนคืนที่ดินแต่ประการใด เจ้าของที่ดินเชื่อนายวัฒนา จึงยอมบิริจาคที่ดินให้ฟรี เพื่อวัตถุประสงค์การสร้างอ่างเก็บน้ำการเกษตร ไม่ใช่เพื่อโครงการอุทยานการศึกษาแต่อย่างใดเลย และช่วงนั้นเป็น ปี พ.ศ.๒๕๔๗-๒๕๔๘ โครงการอุทยานการศึกษายังไม่เกิด แต่จังหวัดได้ขอความอนุเคราะห์ไปยังกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ให้ช่วยจัดทำผังแม่บทพัฒนาบึงทุ่งกะโล่ให้ เรียกชื่อว่า ผังแม่บทโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณบึงกะโล่งหวัดอุตรดิตถ์ ในรายละเอียดระบุว่าวัตถุประสงค์เป็นการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่มีข้อพิรุทเด่นชัดจึงยกเลิกไม่ใช้แล้วเปลี่ยนชื่อโครการใหม่เป็นอุทยานการศึกษา เพิ่งประมาณเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๑ ปัจจุบันนี้ มีมติคณะรัฐมนตรี 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2552 ห้ามส่วนราชการเข้าไปใช้ประโยชน์ ตามข้อที่ 1.ว่า " ประกาศกำหนดให้พื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นที่สาธารณะทุกแห่งทั่วประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ชุ่มน้ำแหล่งน้ำจืดเป็นพื้นที่สีเขียว และมิให้ส่วนราชการเข้าไปใช้ประโยชน์ เพื่อสงวนไว้เป็นแหล่งรองรับน้ำและกักเก็บน้ำต่อไป " ขณะนี้บึงทุ่งกะโล่เป็นปัญหาความขัดแย้งและคัดค้านการถมทำลายสภาพบึงทุ่งกะโล่นับพันๆไร่ ที่มีคุณค่าอย่างยิ่งทางระบบนิเวศวิทยา และคุณค่าของสภาพพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติอันทรงคุณค่ายิ่งของจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นการทำลายแก้มลิงยักษ์ที่รองรับน้ำหลากเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาอุทกภัยน้ำท่วมในบริเวณนี้มาแต่อดีตกาลตราบจนปัจจุบัน เป็นการทำลายแหล่งทรัพยากรน้ำธรรมชาติของมวลเกษตรกรชาวนาที่ใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการทำนา เพีงเพื่อสร้างมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ และเรื่องนี้ปัจจุบันกำลังเป็นคดีความฟ้องร้องอยู่ในศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 2กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๔ โดย สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กับพวก ๖๐ คน ผลทางคดีจะเป็นเช่นไร ต้องรอกาลเวลาจะมีคำตอบจากคำพิพากษาของศาลปกครองผู้ทรงความยุติธรรมในอนาคตครับ ทั้งหมดนี้คือความจริงที่อยากให้ได้ฟังทั้ง 2 ด้าน แล้วผู้มีปัญญาย่อมแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการพิจารณา เพื่อจะได้ไม่กลายเป็นผู้หลงผิดเข้าใจผิด จาก นายวัฒนา ภูริลดาพันธ์ ผู้ชี้แจง 081-4300479 วันที่ 18 พ.ค.2554.

จะลบไปเลยก็ไม่สมควร จึงย้ายมาหน้าอภิปราย สำหรับหาข้อมูลใส่ในบทความให้เป็นรูปแบบสารานุกรมต่อไป --  ผู้ใช้Tmd | พูดคุย 23:47, 19 พฤษภาคม 2554 (ICT)

กลับไปที่หน้า "บึงกะโล่"