หน้านี้เป็นหน้าพูดคุยสำหรับการแสดงความเห็นเพื่อพัฒนาบทความ ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี

ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

เสนอแก้ไข แก้

เนื้อหาแนะนำการแก้ไข

ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี (ชื่อเล่น: ฟอร์ด) เป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม "เยาวชนปลดแอก - Free YOUTH" ปรากฏตัวออกสื่อครั้งแรกในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ได้แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ โดยการจูบกับแฟนหนุ่มที่บริเวณพื้นที่แถลงข่าวของอาคารรัฐสภา เพื่อเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้สิทธิสมรสของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ เท่าเทียมกับคู่รักชายหญิง [1] หลังจากนั้นเป็นต้นมาก็เริ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองเกี่ยวกับเรียกร้องประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และความเท่าเทียมหลากหลายทางเพศ

เสนอแก้ในส่วนของย่อหน้ากิจกรรมและการเคลื่อนไหวทางการเมือง ให้เป็นปัจจุบัน แก้

  • ปี 2562 ทัตเทพ สมัครเป็นสมาชิกพรรคอนาคตใหม่ และเข้าร่วมเครือข่ายคนรุ่นใหม่ หรือ NGN Revive ของพรรค ในฐานะเครือข่ายคนรุ่นใหม่กรุงเทพฯ
  • 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ผู้ร่วมก่อตั้ง เยาวชนปลดแอก - Free YOUTH ร่วมกับ ภานุมาศ สิงห์พรม นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (แฟนหนุ่มของทัตเทพ) และเพื่อนอีกอีกคนหนึ่งมีทักษะด้านระบบภายใน งานเอกสาร และมัลติสกิลหลายแขนง รวม 3 คน[6]
  • ปี 2563 “ฟอร์ด” ทัตเทพ ร่วมกับ ธนวัฒน์ วงค์ไชย อดีตประธานสภานิสิตจุฬาฯ จัดกิจกรรมวิ่งไล่ลุง โดยการสนับสนุนของพรรคอนาคตใหม่
  • 8 มิถุนายน พ.ศ. 2563 ฟอร์ด ทัตเทพ ร่วมกับทีมเยาวชนปลดแอก ทำกิจกรรมชูป้ายเรียกร้องความเป็นธรรมให้ วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ลี้ภัยทางการเมืองที่ถูกอุ้มหายที่ประเทศกัมพูชา[1]
  • 24 มิถุนายน พ.ศ. 2563 “เพนกวิน” และ “ฟอร์ด” ในนามสหพันธ์นักเรียนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) และกลุ่มเยาวชนปลดแอก จัดกิจกรรม "ประกาศคณะราษฎร" ครบรอบ 88 ปี การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิ.ย. 2475 บริเวณสกายวอล์ค สี่แยกปทุมวัน[2]
  • 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ชุมนุมใหญ่ "เยาวชนปลดแอก" ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย[3]
  • 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 กลุ่มหลากหลายทางเพศ (LGBT) ชื่อ เสรีเทย+ เดินขบวนที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อเรียกร้องกฎหมายสมรสเพศเดียวกันนอกเหนือจากข้อเรียกร้องสามข้อของเยาวชนปลดแอก[4]
  • 7 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เข้าร่วม คณะประชาชนปลดแอก[5]
  • 14 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ชุมนุมใหญ่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เดินขบวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปยังทำเนียบรัฐบาล[6]
  • 16 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ชุมนุมใหญ่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ประกาศยื่นข้อเรียกร้อง 3 ข้อเรียกร้อง กับ 1 ความฝัน[7]
  • 16 ตุลาคม พ.ศ. 2563 รวบ"ฟอร์ด ทัตเทพ" ฝ่าฝืน พรก.ฉุกเฉิน - ออกหมายจับ 12 แกนนำ ก่อนศาลอาญาอนุญาตปล่อยชั่วคราว[8]
  • 17 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ชุมนุมดาวกระจาย "ลุกฮือทั้งแผ่นดิน!"[9]
  • 18 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ชุมนุมใหญ่ "เราคือราษฎร!" ในชื่อ 18ตุลาไปอนุสาวรีย์ชัย[10]
  • 19 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ฟอร์ด ทัตเทพ ในนามเลขาธิการ เยาวชนปลดแอก ประการมีผู้ติดตามมากถึง 1,000,000 คน
  • 21 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ชุมนุมใหญ่ "21ตุลาไปทำเนียบรัฐบาล"[11]
  • 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ชุมนุมใหญ่ "กล้ามากเก่งมากขอบใจ" แยกสามย่าน เพื่อเดินขบวนครั้งยิ่งใหญ่ไปหน้าสถานทูตเยอรมนี[12]
  • 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ชุมนุมใหญ่ "ราษฎรสาส์น" ณ สนามราษฎร[13]
  • 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ฟอร์ด ทัตเทพ ประกาศครบรอบ 1 ปี "เยาวชนปลดแอก - Free YOUTH"[14]
  • 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ชุมนุมใหญ่ "กูสั่งให้มึงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ" ณ รัฐสภา เกียกกาย[15]
  • 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ชุมนุมใหญ่ "18พฤศจิกาไปราษฎร์ประสงค์" ณ ราษฎร์ประสงค์[16]
  • 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ชุมนุมใหญ่ "25พฤศจิกาไปSCB" ณ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน). สำนักงานใหญ่ ถนนรัชดาภิเษก[17]
  • 7 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ฟอร์ด ทัตเทพ เปิดตัว "RT" หรือ Restart Thailand movement[15] เพื่อสร้างสังคมที่ “คนเท่ากัน” ผ่าน เยาวชนปลดแอก[18]
  • 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ฟอร์ด ทัตเทพ เปิดตัว "REDEM - ประชาชนสร้างตัว" ซึ่งจะเป็นบันไดนำไปสู่ประชาธิปไตยที่ทุกคนมี 1 สิทธิ 1 เสียงที่แท้จริง[19]
  • 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ชุมนุมใหญ่ "28กุมภาบุกรังขี้ข้าปรสิต" เดินจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิมุ่งหน้าสู่ “บ้านพักหลวงประยุทธ์”[20]
  • 6 มีนาคม พ.ศ. 2564 ชุมนุมใหญ่ "ขยะในพระปรมาภิไธย" จากห้าแยกลาดพร้าวขนขยะไปกองให้ท่วมหน้าศาลอาญารัชดา[21]
  • 20 มีนาคม พ.ศ. 2564 ชุมนุมใหญ่ "จำกัดอำนาจสถาบันกษัตริย์" ณ สนามราษฎร[22]

รายการอ้างอิง

  1. "'เอ็นจีโอ-นักศึกษา-ประชาชน' ร้อง รบ.กัมพูชา เร่งติดตามตัว 'วันเฉลิม' ด้านสถานทูตไม่ส่งคนรับหนังสือ". prachatai.com.
  2. "รวมภาพกิจกรรมรำลึก 88 ปี ปฏิวัติสยาม 24 มิถุนา". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2021-05-05.
  3. ""เยาวชนปลดแอก" เปลี่ยนใจไม่ชุมนุมถึงเช้า 19 ก.ค." BBC News ไทย. 2020-07-18.
  4. "สรุป 'ม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้งค่ะคุณรัฐบาล' สนับสนุนเยาวชนปลดแอก เรียกร้องสมรสเท่าเทียม". workpointTODAY.
  5. "เปิดตัว'คณะประชาชนปลดแอก'ยื่น 3 ข้อเรียกร้อง ขีดเส้นตายต้องไม่มี' 250ส.ว.'". naewna.com.
  6. "คณะราษฎรชุมนุมใหญ่ 14 ตุลา เกาะติดสถานการณ์ล่าสุด". THE STANDARD. 2020-10-14.
  7. ""ประชาชนปลดแอก" ประกาศยกระดับการชุมนุมเดือน ก.ย. หากรัฐไม่ตอบสนอง". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2021-05-05.
  8. "รวบ"ฟอร์ด ทัตเทพ" ฝ่าฝืนพรก.ฉุกเฉิน- ออกหมายจับ 12 แกนนำ". posttoday.com (ภาษาอังกฤษ).
  9. Bhattarada (2020-10-17). "#ม็อบ17ตุลา ยุติการชุมนุมแล้ว เผย "ยังมีเวลาไม่ต้องรีบร้อน"". ประชาชาติธุรกิจ.
  10. "ประมวลเหตุการณ์ #18ตุลาไปอนุสาวรีย์ชัย". THE STANDARD. 2020-10-19.
  11. "ชุมนุม 21 ต.ค.: กลุ่ม "ราษฎร" ฝ่าแนวตำรวจชุมนุมหน้าทำเนียบรัฐบาล - บีบีซีไทย". BBC News ไทย.
  12. "ประมวลภาพ บรรยากาศล่าสุด "ม็อบ 26 ตุลา" บริเวณสถานทูตเยอรมนี". www.thairath.co.th. 2020-10-26.
  13. "ชุมนุม 8 พ.ย. กลุ่มราษฎร ส่ง "ราษฎรสาส์น" ถึงรัชกาลที่ 10 - บีบีซีไทย". BBC News ไทย.
  14. "ครบรอบ 1 ปี ก่อตั้ง "เยาวชนปลดแอก" ลั่นความเหลื่อมล้ำ-กดขี่ประชาชน ให้มันจบที่รุ่นเรา". pptvhd36.com.
  15. "เกาะติด #ม็อบ17พฤศจิกา หน้ารัฐสภา". THE STANDARD. 2020-11-17.
  16. "ประมวลภาพ "ม็อบ 18 พฤศจิกา" ร่วมชุมนุมบริเวณแยกราชประสงค์". www.thairath.co.th. 2020-11-18.
  17. "แกนนำประกาศยุติ "ม็อบ 25 พฤศจิกา" นัดหมายครั้งต่อไป 27 พ.ย.นี้". www.thairath.co.th. 2020-11-25.
  18. aof (2020-12-07). "เยาวชนปลดแอก เปิดตัว RT MOVEMENT สร้างสังคมคนเท่ากัน". ประชาชาติธุรกิจ.
  19. matichon (2021-02-24). "เยาวชนปลดแอก เปิดตัว REDEM ช่องทางออกแบบการเคลื่อนไหว บันไดสู่ ปชต". มติชนออนไลน์.
  20. "ประมวล : #28กุมภาบุกรังขี้ข้าปรสิต จี้ประยุทธ์คืนบ้านพักในค่ายทหารจากภาษีประชาชน". prachatai.com.
  21. Sriroengla, Pafun (2021-03-06). "กลุ่ม REDEM ยุติชุมนุมหน้าศาลอาญา ไม่พบความวุ่นวาย-รุนแรง". ประชาชาติธุรกิจ.
  22. "ประมวลการสลายการชุมนุมรีเด็ม #จำกัดอำนาจสถาบันกษัตริย์ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ". freedom.ilaw.or.th.

-MagnumTH (คุย) 14:59, 5 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

กลับไปที่หน้า "ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี"