โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม

โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษแบบสหศึกษารับนักเรียนทั้งชายและหญิงตั้งอยู่ที่เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร จัดการเรียนการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษา ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 เดิมชื่อ โรงเรียนมัธยมวัดบางปะกอก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ปัจจุบันมีเนื่อที่ 7 ไร่ 66 ตารางวา เปิดสอนในช่วงชั้นการศึกษาที่ 3 และ 4 โดยแบ่งเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 36 ห้องเรียน และมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 42 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 78 ห้องเรียน

โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม
Bangpakok Wittayakom School
ตราประจำโรงเรียน บางปะกอกวิทยาคม
ที่ตั้ง
แผนที่
เลขที่ 51 หมู่ 1 ซอยสุขสวัสดิ์ 19 ถนนสุขสวัสดิ์ แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหาคร 10140
ข้อมูล
ชื่ออื่นบ.ก. / B.P.K.
ประเภทรัฐบาล
คำขวัญปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นดวงแก้วของนรชน
สถาปนา17 พ.ค. 2492
ผู้ก่อตั้งพระครูประศาสนสิกขกิจ (พริ้ง อินทโชติ)
หน่วยงานกำกับสพฐ.
รหัส1000102401
ระดับปีที่จัดการศึกษาม.1-ม.6
จำนวนนักเรียนประมาณ 2,906 คน (ปีการศึกษา 2558)
ห้องเรียน77 ห้องเรียน
พื้นที่9 ไร่ 66 ตารางวา
สี████ ชมพู - เขียว
เพลงมาร์ชบางปะกอก
เว็บไซต์www.bpk.ac.th
โรงเรียนประเภทสหศึกษา
บางปะกอกวิทยาคมตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
บางปะกอกวิทยาคม
บางปะกอกวิทยาคม
บางปะกอกวิทยาคม (กรุงเทพมหานคร)

ประวัติ แก้

โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม เกิดจากดำริของท่านพระครูประศาสน์ สิกขกิจ (พริ้ง อินทโชติ) อดีตเจ้าอาวาสวัดบางปะกอก ต้องการให้กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาในตำบลนี้ ได้อาศัยตึก 2 ชั้น ของโรงเรียนธรรมวินัยของวัดบางปะกอก เปิดสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2492 ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กรรมการวัดบางปะกอก ซึ่งมี นายล้อม ฟักอุดม นายบุญนาคร มังคะลี และนายถนอม เอี่ยมทศ ได้จัดการซื้อที่ดินให้เป็นที่ ธรณีสงฆ์ของวัดบางปะกอก และได้ทำหนังสือมอบกรรมสิทธิ์ให้กรมสามัญศึกษา อาศัยที่ดิน เป็นสถานที่ตั้งอาคารเรียน และได้ย้ายมาเรียนยังอาคารปัจจุบัน เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2494 บนที่ดิน 6 ไร่เศษ พ.ศ. 2507 นายล้อม ฟักอุดม ได้บริจาคที่ดินเพิ่มอีก 2 ไร่ 2 งาน 24 ตารางวา ปัจจุบันโรงเรียนมีที่ดิน 7 ไร่ 2 งาน ปีการศึกษา 2517 โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

อาคารเรียน แก้

    • อาคาร 1 เป็นที่ตั้งของ ห้องปฏิบัติการทางเคมี ห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์ ห้องปฏิบัติการทางชีววิทยา ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนวิชาเคมี ห้องเรียนภาษาไทย ห้องแนะแนว ห้องพลศึกษา ห้องจำลอง A-Level
    • อาคาร 2 เป็นที่ตั้งของ ห้องเรียนภาษาอังกฤษ ศูนย์ภาษาอังกฤษ ศูนย์ภาษาไทย ห้องดนตรีไทย ศูนย์สื่อคหกรรม ห้องเรียนสีขาว ศูนย์สื่อคณิตศาสตร์
    • อาคาร 3 เป็นที่ตั้งของ ห้องศิลปะ ห้องเรียนการงานอาชีพและเทคโนโลยี ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ใต้ตึกเป็นโรงอาหาร
    • อาคาร 4 เป็นที่ตั้งของ ห้องเรียนสังคมศึกษา โครงการภาคภาษาอังกฤษ ห้องงบประมาณ ห้องวิชาการ ห้องสำนักงานอำนวยการ ห้องผู้อำนวยการ ห้องปาริชาติ ห้องอาเซียน ศูนย์สื่อและพัฒนาการสอนภาษาจีน
    • อาคาร 5 เป็นที่ตั้งของ ห้องเรียนโครงการส่งเสริมความสามารถทางการเรียน (TEP) ห้องพละ
    • อาคาร 6 เป็นที่ตั้งของ ห้องพยาบาล ศูนย์สื่อและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น ศูนย์สื่อและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาฝรั่งเศส ห้องประชุมอินทนิล
    • อาคาร 7 เป็นที่ตั้งของ ห้องประชุมยูงทอง ห้องดนตรีสากล ห้องนาฏศิลป์ ห้องวงดุริยางค์
    • อาคาร 8 ห้องประชุมต่างๆ และห้องบริหารทั่วไป/บริหารบุคคล
    • อาคาร 9 อาคารอนุสรณ์ 70 ปี ตึกเรียนวิทยาศาสตร์
    • อาคาร 10 วิหารหลวงปู่พริ้ง/ห้องเสมารักษ์

หลักสูตรการเรียน แก้

มีการจัดการเรียนการสอนดังนี้

  • ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เปิดการเรียนการสอนระดับชั้นละ 12 ห้องเรียน
  • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เปิดการเรียนการสอนระดับชั้นละ 14 ห้องเรียน เรียงลำดับตามแผนโครงสร้าง

โดยแบ่งเป็นแผนการเรียนต่างๆดังนี้

มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
  • ห้องเรียนในหลักสูตรภาคปกติ (ภาคภาษาไทย) จำนวน6ห้องเรียน
  • ห้องเรียนพิเศษส่งเสริมศักยภาพทางวิชาการ (คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์-ภาษาอังกฤษ) Talent Enrichment Program (TEP) จำนวน 6 ห้องเรียน
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ห้องเรียนพิเศษส่งเสริมศักยภาพทางวิชาการ (คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์-ภาษาอังกฤษ) Talent Enrichment Program (TEP) จำนวน 4 ห้องเรียน (ห้อง 1-4)
  • แผนการเรียน วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จำนวน 6 ห้องเรียน (ห้อง 5-10) โดยเลือกสายตอนม.5 มี4สายดังนี้
  • วิทย์-สาธารณะ
  • วิทย์-วิศวะ
  • วิทย์-สถาปัตยกรรม
  • วิทย์-เทคโนโลยี
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์ จำนวน 3 ห้องเรียน (ห้อง 11-13)
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน จำนวน 1 ห้องเรียน (ห้อง 14)
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาญี่ปุ่น จำนวน 1 ห้องเรียน (ห้อง 14)
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาฝรั่งเศส จำนวน 1 ห้องเรียน (ห้อง 14)
สำหรับปี 2566 เป็นต้นไป
  • ห้องเรียนในหลักสูตรภาคปกติ (ภาคภาษาไทย) จำนวน 6 ห้องเรียน
  • ห้องเรียนในหลักสูตรภาคปกติ ห้องเรียนวิทยาศาสตร์พลังสิบ จำนวน 1 ห้องเรียน
  • ห้องเรียนพิเศษส่งเสริมศักยภาพทางวิชาการ (คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์-ภาษาอังกฤษ) Talent Enrichment Program (TEP) จำนวน 6 ห้องเรียน


สำหรับปี 2566 เป็นต้นไป
  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ห้องเรียนพิเศษส่งเสริมศักยภาพทางวิชาการ (คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์-ภาษาอังกฤษ) Talent Enrichment Program (TEP) จำนวน 4 ห้องเรียน (ห้อง 1-4)
  • แผนการเรียน วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จำนวน 6 ห้องเรียน (ห้อง 5-9) โดยเลือกสายตอนม.5 มี 4 สาย ได้แก่สาธารณสุข วิศวกรรม สถาปัตยกรรม เทคโนโลยี
  • แผนการเรียน วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ห้องเรียนิวทยาศาสตร์พลังสิบ จำนวน 1 ห้องเรียน (ห้อง 10)
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์ (ภาษาอังกฤษเร่งรัด) จำนวน 1 ห้องเรียน (ห้อง 11)
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์ จำนวน 2 ห้องเรียน (ห้อง 12-13)
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาต่างประเทศ (ภาษาฝรั่งเศส ภาษาญี่ปุ่น และภาษาจีน จำนวน 1 ห้องเรียน (ห้อง 14)
  • แผนการเรียนนิติรัฐศาสตร์ นิเทศศาสตร์ จำนวน 1 ห้องเรียน (ห้อง 15)

ทำเนียบผู้อำนวยการ แก้

    • 1. นายพิรุฬห์ (พริ้ง) บำรุงใจ พ.ศ. 2492-2506
    • 2. นายธำรง โกมลบุตร พ.ศ. 2506-2508
    • 3. นายวิเวช แจ่มทวี พ.ศ. 2508-2512
    • 4. นายแดง สุขกุล พ.ศ. 2512-2524
    • 5. นายบำเพ็ญ สุวรรณ พ.ศ. 2524-2531
    • 6. นายเพ็ง เปี่ยมคุ้ม พ.ศ. 2531-2536
    • 7. นายกิตติ พวงเกษม พ.ศ. 2536-2540
    • 8. นายสายัณห์ รุ่งป่าสัก พ.ศ. 2540-2543
    • 9. นายบำรุง จริตงาม พ.ศ. 2543-2545
    • 10. นายปราโมทย์ ราชพิบูลย์ พ.ศ. 2545-2550
    • 11. นายทองปาน แวงโสธรณ์ พ.ศ. 2550-2553
    • 12. นายชัยอนันต์ แก่นดี พ.ศ. 2554-2556
    • 13. นายโสภณ กมล พ.ศ. 2556-2561
    • 14. นายวิเชียร ชุติมาสกุล พ.ศ. 2561-2565
    • 15. นายบุญชู กล้าแข็ง พ.ศ. 2565-ปัจจุบัน

รางวัลและเกียติยศของโรงเรียน แก้

ด้านกิจกรรมผู้นำเชียร์และกองเชียร์ > นำทีมโดยท่านอาจารย์จันทร์เพ็ญ จั่นอาจ คณะครูหมวดวิชาพละศึกษา-คณะครูหมวดวิชาศิลปะ

    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง ชิงถ้วยพระราชทานทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ในการแข่งขัน " รวมพลคนกองเชียร์ To Be Numberone ประจำปี 2011 "
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง ชิงถ้วยพระราชทานทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ในการแข่งขัน " รวมพลคนกองเชียร์ To Be Numberone ประจำปี 2009 "
    • รางวัลชนะเลิศกองเชียร์และเชียร์ลีดเดอร์ระดับประเทศ จากนายฮ้านส์ เอลิซานเบอตัส เฮ้าสตร้า กรรมการผู้จัดการ บมจ.ฟรีสแลนด์ฟู้ดส์ โฟร์โมสต์ ( ประเทศไทย ) ในการแข่งขัน " โฟร์โมสต์ ไทยแลนด์คัพ 2008 ราชันฟุตบอลพลาสติก "
    • รางวัลชนะเลิศกองเชียร์และเชียร์ลีดเดอร์ยอดเยี่ยม จากท่านพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ในการแข่งขัน " โฟร์โมสต์ ไทยแลนด์คัพ 2007 ราชันฟุตบอลพลาสติก "
    • รางวัลชนะเลิศกองเชียร์และเชียร์ลีดเดอร์ยอดเยี่ยม จากนายอภิรักษ์ โกษโยธิน ในการแข่งขัน " โฟร์โมสต์ ไทยแลนด์คัพ 2006 ราชันฟุตบอลพลาสติก "
    • รางวัลชนะเลิศกองเชียร์และเชียร์ลีดเดอร์ยอดเยี่ยม ในการแข่งขัน " โฟร์โมสต์ ไทยแลนด์คัพ 2005 ราชันฟุตบอลพลาสติก "
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สอง กองเชียร์ยอดเยี่ยมระดับประเทศ ในการแข่งขันกองเชียร์ " 88.5 fm max CHEER MILITARY 2005 "

ด้านกิจกรรมทักษะและความสามารถ

    • รางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศ จากการแข่งขันลีลาศ ชิงแชมป์โลก รุ่น World Junior Latin ของ World Amateur Medalist Championships & World Amateur Teen Dance Championships 2009 ที่ประเทศฮ่องกง ได้แก่ เด็กชายพุทธิพงศ์ สหายฟ้า เด็กชายพีรยุทธ์ สหายฟ้า และเด็กหญิงรัญชนา น้อยนวล
    • รางวัลยอดเยี่ยม การแข่งขันท่องบทกวีนิพนธ์ภาษาฝรั่งเศส ในงานประจำปีของสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ปีการศึกษา 2559 เข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
    • รางวัลที่ 1 การแข่งขันตอบปัญหาความรู้ทัวไปเกี่ยวกับประเทศฝรั่งเศส ในงานประจำปีของสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ปีการศึกษา 2544 เข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
    • รางวัลชมเชย การแข่งขันร้องเพลงเดี่ยวภาษาฝรั่งเศส ในงานประจำปีของสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ปีการศึกษา 2544, 2546,2548 เข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
    • รางวัลที่ 2 การแข่งขันร้องเพลงเดี่ยวภาษาฝรั่งเศส ในงานประจำปีของสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ปีการศึกษา 2556 เข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
    • รางวัลชมเชย การแข่งขันร้องเพลงเดี่ยวภาษาฝรั่งเศส ในงานประจำปีของสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ปีการศึกษา 2557 เข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
    • รางวัลชมเชย การแข่งขันตอบปัญหาความรู้ทัวไปเกี่ยวกับประเทศฝรั่งเศส ในงานประจำปีของสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ปีการศึกษา 2555,2558 เข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
    • รางวัลชมเชย การแข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ภาษาฝรั่งเศส ในงานประจำปีของสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ปีการศึกษา 2558,2559 เข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
    • รางวัลชนะเลิศการแข่งขันวาดภาพในหัวข้อ  "400 ปีชาตกาลเซบันเตส" (EL IV Centenario de la muerte de Cervantes)" ในการแข่งขันทักษะภาษาสเปนระดับชาติระดับมัธยมศึกษา ในงานวันรวมพลคนรักภาษาสเปน (Día del Español) ประจำปีการศึกษา 2559 จัดโดยศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอนภาษาสเปน สพฐ. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ร่วมกับ สาขาวิชาภาษาสเปน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสถานทูตสเปนประจำประเทศไทย
    • รางวัลชนะเลิศ การประชันกลอนสด ระดับมัธยมศึกษา ช่วงชั้นที่ 3-4 ตามโครงการ “วันมาฆบูชา สื่อคุณค่าแห่งพุทธธรรม เพื่อนำสังคมสู่สันติสุข” (6 กุมภาพันธ์ 2552) ณ เวทีกลาง มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
    • รางวัลชนะเลิศการแข่งขันทดสอบความรู้เกี่ยวกับอาเซียนของกระทรวงการต่างประเทศ (8 สิงหาคม 2551)

ด้านการศึกษา

    • ติดอันดับ 1 ใน 10 โรงเรียนทีมีผู้สมัครสอบเข้าม.1 มากที่สุด ของกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2544-2564
    • มีจำนวนผู้สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้มากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโรงเรียนรัฐบาลในเขตกรุงเทพมหานคร ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2550
    • มีจำนวนผู้สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโรงเรียนรัฐบาลในเขตกรุงเทพมหานคร ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2548

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้