โทชิโกะ คิชิดะ (ญี่ปุ่น: 岸田俊子โรมาจิKishida Toshiko; 14 มกราคม ค.ศ. 1863 – 25 พฤษภาคม 1901) และเปลี่ยนเป็น โทชิโกะ นากาจิมะ (ญี่ปุ่น: 中島俊子โรมาจิNakajima Toshiko) หรือมักถูกเรียกว่า โชเอ็ง (ญี่ปุ่น: 湘煙โรมาจิShōen) เป็นหนึ่งในคตินิยมสิทธิสตรีชาวญี่ปุ่นกลุ่มแรก

โทชิโกะ คิชิดะ
岸田俊子
เกิด13 มกราคม ค.ศ. 1864(1864-01-13)
จังหวัดเกียวโต
เสียชีวิต25 พฤษภาคม ค.ศ. 1901(1901-05-25) (37 ปี)
เมืองโออิโซะ
ที่ฝังศพวัดไทอุงจิ
สัญชาติญี่ปุ่น
ชื่ออื่นโชเอ็ง, โทชิโกะ นากาจิมะ
ผลงานเด่น"โดโฮเคียวไดนิสึงุ"
(同胞姉妹に告ぐ, งานเขียน)

ชีวิตช่วงแรกและการศึกษา แก้

โทชิโกะ คิชิดะ เกิดในปี ค.ศ. 1863 ที่จังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เติบโตในครอบครัวชนชั้นกระฎุมพี บิดาของเธอคือคิชิดะ โมเฮ​ เป็นพ่อค้าขายเสื้อผ้ามือสอง และมารดาของเธอ ทากะ ในชีวประวัติช่วงต้นโดยคกโก โซมะ ได้เขียนไว้ว่าการเดินทางเพื่อธุรกิจของบิดาทำให้เขาต้องห่างจากครอบครัว ทำให้ความสัมพันธ์มารดา–ลูกสาวแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น และเป็นเหตุให้โทชิโกะมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาสถานะของสตรี และส่งเสริมความเป็นอิสระทางการเงินและทางสังคมจากสามีของพวกเขา[1]

คิชิดะเติบโตในยุคเมจิไทโช ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ปี 1868 จนถึง 1926 ในยุคนี้ผู้นำชาวญี่ปุ่นได้เริ่มเปิดรับความคิดใหม่ ๆ และนักปฏิรูปที่เรียกร้องสิทธิและเสรีภาพ สตรีในการเคลื่อนไหวของนักปฏิรูปจะรู้จักกันว่าเป็น "คตินิยมสิทธิสตรีคลื่นแรกของญี่ปุ่น" คิชิดะเป็นหนึ่งในผู้ส่งเสริมคตินิยมสิทธิสตรีเหล่านี้ การเคลื่อนไหวของเธอให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาสถานะของหญิงสาวชาวญี่ปุ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งชนชั้นกลางและชนชั้นสูง การพัฒนานี้เป็นสิ่งจำเป็นหากชาติที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอื่นจะยอมรับพวกเขา[2] นักปฏิรูปเน้นว่าสตรีจะต้องได้รับความเสมอภาคทางสังคมทุกคน หลังการปฏิรูปดังกล่าวได้เกิดขึ้น สตรีชาวญี่ปุ่นได้รับโอกาสในการได้รับสิทธิและเสรีภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น ขณะที่ได้สร้างวลี "ภรรยาดีมารดาฉลาด" ซึ่งหมายความว่า "ในการที่จะเป็นพลเมืองที่ดี สตรีพึงจะต้องได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ"[2][3]

อาชีพ แก้

หลังจากการแสดงความสามารถด้านอักษรวิจิตรแก่เจ้าชายอาริซูงาวะ ทารูฮิโตะในปี 1877 คิชิดะได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้สมัครที่เหมาะสมในการเข้ารับราชการในพระตำหนักจักรพรรดินีเมจิ[4] คิชิดะได้ทำงานในพระตำหนักตำแหน่งผู้อนุบาลจักรพรรดินีญี่ปุ่น แต่อย่างไรก็ตามเธอรู้สึกว่าพระตำหนักจักรพรรดินีนั้น "ห่างไกลจากโลกความเป็นจริง" และยังเป็น "สัญลักษณ์ของระบบอนุภรรยา ซึ่งเป็นการเหยียดหยามสตรี[2] คิชิดะจึงตัดสินใจเคลื่อนไหวในการปฏิรูปอย่างเต็มตัวและเริ่มปราศรัยทั่วประเทศญี่ปุ่น

คิชิดะได้ออกจากพระตำหนักในปี 1882 เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางบรรยายรอบประเทศโดยได้รับการสนับสนุนโดยพรรคเสรีนิยม[4] นอกจากการบรรยายทั่วประเทศแล้ว เธอยังได้เข้าร่วมการเคลื่อนไหวเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนในฐานะผู้ปราศรัยและได้ออกเดินทางร่วมกันไปยังถิ่นทุรกันดาล มอบความรู้และจัดการวิพากษ์วิจารณ์ต่อการทำงานของรัฐบาลเมจิ และเรียกร้องให้มีการมีส่วนร่วมและโอกาสในความเป็นพลเมืองที่มากยิ่งขึ้น[1] ความสำคัญของคิชิดะต่อการเคลื่อนไหวนี้ถูกกลายเป็นผลึกในเดือนเมษายน 1882 เมื่อเธอได้ทำการพูดสุนทรพจน์ในหัวข้อ "วิถีของสตรี" ที่พิธีเข้ารับตำแหน่งในจังหวัดโอซากะ

คิชิดะได้รับการกล่าวถึงอยู่บ่อยครั้งในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นสำหรับการพูดปราศรัยสาธารณะของเธอ หัวข้อการปราศรัยของเธอ อาทิ "รัฐบาลผู้มีอำนาจเหนือบุรุษ และบุรุษผู้มีอำนาจเหนือสตรี" (พฤษภาคม 1882), "สตรีทำไม่ได้หากแต่ผสมผสานความแข็งกระด้างและความอ่อนโยน" และ "อดทนในสิ่งที่ไม่ต้องอดทนและกังวลในสิ่งที่ไม่ต้องกังวล: สิ่งเหล่านี้มิใช่หน้าที่ของสตรี" สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของเธอในการทำให้สังคมรู้ถึงสถานะของสตรี[1] คิชิดะเรียกร้องให้สตรีต้องเข้ารับการศึกษา ซึ่งเป็นพื้นฐานในการส่งเสริมสิทธิที่เท่าเทียมของสตรีและบุรุษ เธอเขียนว่า "ฉันหวังที่จะให้อนาคตมีการตระหนักรู้ถึงความจริงที่ว่าสิ่งหนึ่งที่พึงมีก่อนการแต่งงานคือการศึกษา"[4]

หลังจากการพูดปราศรัยของเธอในปี 1883 ในหัวข้อ "ลูกสาวในกล่อง" เธอถูกจับกุม สอบสวน และเปรียบเทียบปรับสำหรับการพูดปราศรัยการเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องมีภายใต้กฎหมายญี่ปุ่นในขณะนั้น[5][6][7] การจับกุมของคิชิดะที่เมืองโอตสึ จังหวัดชิงะ เป็นการสิ้นสุดอาชีพนักพูดปราศรัยของเธอ แต่อย่างไรก็ตามแต่ยังคงทำงานในการเคลื่อนไหวสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง[1]

สุนทรพจน์เรื่อง "ลูกสาวในกล่อง" แก้

สุนทรพจน์ในหัวข้อ "ลูกสาวในกล่อง" (ญี่ปุ่น: 箱入り娘โรมาจิHakoiri Musume; อังกฤษ: Daughters Kept in Boxes, Daugthers in Boxes) ได้วิจารณ์ระบบครอบครัวในประเทศญี่ปุ่นและปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเด็กหญิงญี่ปุ่น สุนทรพจน์ได้กล่าวว่าระบบดังกล่าวเป็นวัฒนธรรมที่คงอยู่มานานและผู้ปกครองหลายคนไม่เข้าใจถึงความอันตรายที่ลูกสาวของพวกเขาอาจได้รับโดยการปิดกั้นพวกเธอ คิชิดะยังกล่าวถึงผู้ปกครองชนชั้นกลางและสูงชาวญี่ปุ่นว่าพวกเขาไม่ได้ตั้งใจจะจำกัดเสรีภาพลูกสาวของพวกเขา หากแต่ว่าถูกครอบงำในความจำเป็นที่จะต้องสอนค่านิยมบางอย่างเพื่อให้เข้ากับวัฒนธรรมญี่ปุ่นและสังคมในภาพรวม[7]

ในสุนทรพจน์ของเธอ คิชิดะพูดถึงสาม "กล่อง" ในครอบครัวญี่ปุ่น เธอไม่ได้ต้องการจะสื่อว่ากล่องเหล่านี้เป็นกล่องที่จำต้องได้จริง ๆ หากแต่เป็นการจำกัดทางจิตใจและความรู้สึก กล่องเหล่านี้เป็นตัวแทนของลูกสาวชาวญี่ปุ่นที่ถูกกักกันไว้ภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง กล่องใบแรกสื่อถึงผู้ปกครองที่ซ่อนตัวลูกสาวของพวกเขาไว้ พวกเธอไม่ได้รับอนุญาตให้ออกจากห้องและสิ่งใด ๆ ที่อยู่ในโลกภายนอกนั้นจะถูกปิดกั้นไว้ กล่องใบที่สองแสดงให้เห็นถึงการเชื่อฟังของเหล่าลูกสาว ในกล่องนี้ผู้ปกครองจะปฏิเสธความรับผิดชอบต่อลูกสาวของพวกเขาและมองว่าพวกเธอควรจะปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ปกครองอย่างไม่มีข้อกังขา ขณะที่กล่องใบสุดท้ายที่ถูกกล่าวถึงโดยคิชิดะคือการศึกษาของลูกสาวที่พวกเธอได้ร่ำเรียนแต่ความรู้ที่ไม่ทันสมัย ซึ่งคิชิดะให้ความสำคัญต่อกล่องใบนี้มากที่สุด[8]

ชีวิตช่วงหลัง แก้

ในปี 1884 คิชิดะสมรสกับ นากาจิมะ โนบูยูกิ ที่ทำงานเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองในพรรคเสรีนิยม ในระหว่างเดินทางเพื่อธุรกิจไปยังอิตาลีกับสามีของเธอ คิชิดะได้รับเชื้อวัณโรค ซึ่งทำให้โนบูยูกิตัดสินใจเดินทางกลับประเทศญี่ปุ่นพร้อมกับคิชิดะ ทั้งสองเลิกที่จะเป็นจุดสนใจต่อสาธารณชนแต่ก็ยังคงทำงานที่เกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างต่อเนื่อง ต่อมาโนบูยูกิก็ได้รับเชื้อวัณโรคและใช้บั้นปลายชีวิตในเมืองโออิโซะ จังหวัดคานางาวะ โนบูยูกิเสียชีวิตในปี 1899 ขณะที่คิชิดะมีชีวิตอยู่จนถึงเดือนพฤษภาคม 1901 ไดอารีของเธอที่ยังคงอยู่แสดงให้เห็นถึงชีวิตประจำวันของเธอ รวมถึงผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ไปแล้ว เช่น นวนิยาย เรียงความ และบทกวีนิพนธ์[1] คิชิดะที่ต่อมาได้ใช้นามแฝง "โชเอ็ง" เริ่มมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง การเขียน และการวิพากษ์วิจารณ์สาธารณะ เธอได้รับการยอมรับว่าเป็นสตรีที่มีความนิยมในวรรณกรรมและกลุ่มนักกิจกรรม ต่อสู้กับอภิสิทธิ์ของบุรุษในแวดวงการศึกษา วรรณคดี และสื่อมวลชน ภายหลังงานเขียนของคิชิดะเปิดเผยประสบการณ์ของเธอในฐานะสตรีในสังคมการเมืองยุคเมจิที่แปรเปลี่ยน[1]   

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Suzuki 2019.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Women's Right From Past to Present". Women in History Curriculum (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2009-04-05. สืบค้นเมื่อ 2022-03-09.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. โคยามะ, ชิซูโกะ (2013). "Educational Studies in Japan: International Yearbook". Ryosai Kenbo: The Educational Ideal of ‘Good Wife, Wise Mother’ in Modern Japan (The Intimate and the Public in Asian and Global Perspectives.). สืบค้นเมื่อ 2022-03-09.
  4. 4.0 4.1 4.2 Johnson, Linda L. (2016). "Kishida Toshiko (1863–1901)". Encyclopedia.com.
  5. Kishida 2007, p. 99.
  6. "Kishida Toshiko and the Rise of the Female Speaker in Meiji Japan". 2006: 3–4. สืบค้นเมื่อ 2022-03-10. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  7. 7.0 7.1 "Daughters in Boxes". How Did American and Japanese Gender Hierarchies Shape Japanese Women's Participation in the Transnational WCTU Movement in the 1880s?: 62–71. 2006. สืบค้นเมื่อ 2022-03-10.
  8. Kishida 2007, p. 101.

งานอ้างอิง แก้

  • Kishida, Toshiko (2007). "Kishida Toshiko: Daughters in Boxes, The Essential Feminist Reader". Modern Library. p. 99. ISBN 978-0-8129-7460-7.
  • Suzuki, Mamiko C. (2019). "From Kishida Toshiko to Nakajima Shōen". Gendered Power: Educated Women of the Meiji Empress' Court. University of Michigan Press. pp. 39–53.

หนังสืออ่านเพิ่ม แก้