ราชอาณาจักรเมอร์เซีย

ราชอาณาจักรเมอร์เซีย (อังกฤษ: Mercia) เป็นหนึ่งในอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนเจ็ดอาณาจักรที่มีศูนย์กลางอยู่ในลุ่มแม่น้ำแม่น้ำเทร้นท์และในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นอังกฤษมิดแลนด์ส (English Midlands) ชื่อเมอร์เซียเป็นภาษาอังกฤษเก่า “Mierce” ที่แผลงเป็นแบบละติน (Latinization) แปลว่า “ชนชายแดน”

ราชอาณาจักรเมอร์เซีย
Kingdom of Mercia

Miercna rice
ค.ศ. 527–ค.ศ. 919
ธงชาติเมอร์เซีย
กางเขนนักบุญอัลบัน
ราชอาณาจักรเมอร์เซีย
ราชอาณาจักรเมอร์เซีย
สถานะราชอาณาจักร
เมืองหลวงแทมเวิร์ธ
ภาษาทั่วไปภาษาอังกฤษเก่า (“Englisc”)
ศาสนา
ลัทธินอกศาสนา
คริสต์ศาสนา
การปกครองราชาธิปไตย
พระเจ้า 
• ค.ศ. 527-?
ไอเซิล
• ค.ศ. 584-593
เครโอดาแห่งเมอร์เซีย
• ค.ศ. 626-655
เพ็นดาแห่งเมอร์เซีย
• ค.ศ. 757-796
พระเจ้าออฟฟาแห่งเมอร์เซีย
• ค.ศ. 918-919
พระเจ้าเอลฟวินแห่งเมอร์เซีย (Ælfwynn)
สภานิติบัญญัติสภาวิททัน
สภาเดี่ยว
-
ประวัติศาสตร์ 
• ไอเซิลนำชนแองเกิลสข้าม ทะเลเหนือมาตั้งถิ่นฐาน (ตำนาน)
ค.ศ. 527
• เครโอดา เป็นประมุขที่แท้จริงคนแรกที่แทมเวิร์ธ
ค.ศ. 584
• เมอร์เซียผนวกกับเวสเซ็กซ์เป็นราชอาณาจักรอังกฤษ
4 ธันวาคม ค.ศ. 919
สกุลเงินปอนด์สเตอร์ลิง
ก่อนหน้า
ถัดไป
แองเกิล
ราชอาณาจักรอังกฤษ

ราชอาณาจักรเมอร์เซียมีอาณาเขตติดต่อกับราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย, เพาวิส, ราชอาณาจักรต่างๆ ทางตอนใต้ของเวลส์, เวสเซ็กซ์, ซัสเซ็กซ์, เอสเซ็กซ์ และ อีสต์แองเกลีย

ทุกวันนี้ชื่อ “เมอร์เซีย” ยังใช้กันทั่วไปในชื่อองค์การต่างๆ ได้แก่ หน่วยทหาร หรือองค์การทั้งของรัฐและของเอกชน

ประวัติศาสตร์เบื้องต้น แก้

บทบาทของเมอร์เซียในประวัติศาสตร์แองโกล-แซ็กซอนไม่ชัดเจนเช่นประวัติศาสตร์ของการรุกรานของนอร์ทธัมเบรีย, เค้นท์ หรือแม้แต่เวสเซ็กซ์ หลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่าชนแองเกิล (Angles) มาตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของแม่น้ำเทมส์ราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 คำว่าเมอร์เซียเป็นภาษาอังกฤษเก่า “Mierce” ที่เพี้ยนมาจากภาษาละตินที่แปลว่า “ชนชายแดน” และตามที่ตีความหมายกันก็ว่าเป็นอาณาจักรที่มีกำเนิดในบริเวณพรมแดนระหว่างเวลส์และผู้รุกรานชาวแองโกล-แซ็กซอนแต่พี. ฮันเตอร์ แบลร์ (P. Hunter Blair) ค้านว่าเป็นบริเวณพรมแดนระหว่างนอร์ทธัมเบรียกับผู้ที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณลุ่มแม่น้ำแม่น้ำเทร้นท์

พระมหากษัตริย์องค์แรกที่สุดของเมอร์เซียเท่าที่ทราบคือเครโอดาแห่งเมอร์เซียผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นพระนัดดาของไอเซิล เครโอดามีอำนาจราว ปี ค.ศ. 584 และทรงเป็นผู้สร้างป้อมที่แทมเวิร์ธที่กลายมาเป็นที่ตั้งมั่นของพระมหากษัตริย์เมอร์เซีย ประมุของค์ต่อมาคือพระโอรส Pybba ผู้ครองราชย์ราวปี ค.ศ. 593. เคิร์ลแห่งเมอร์เซียพระญาติของเครโอดาครองราชย์ต่อจาก Pybbaราว ปี ค.ศ. 606; ในปี ค.ศ. 615 เคิร์ลยกพระธิดา Cwenburga ให้เสกสมรสกับเอ็ดวินแห่งนอร์ทธัมเบรียพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรไดราผู้ที่ให้ที่พำนักแก่พระองค์เมื่อทรงลี้ภัย พระเจ้าแผ่นดินองค์ต่อมาคือเพ็นดาแห่งเมอร์เซียผู้ครองราชย์ระหว่างปี ค.ศ. 626 หรือ ค.ศ. 633 ถึง ค.ศ. 655 ประวัติในทางร้ายของเพ็นดามาจากบันทึกของนักบุญบีดที่ไม่ชอบพระองค์เพราะทรงเป็นทั้งศัตรูของนอร์ทธัมเบรียที่นักบุญบีดพำนักอยู่และเพราะเป็นพระมหากษัตริย์นอกรีต แต่ก็ยอมรับว่าเพ็นดาเป็นผู้ที่อนุญาตให้ผู้เผยแพร่คริสต์ศาสนาจากลินดิสฟาร์นเข้าไปเผยแพร่ศาสนาในเมอร์เซียโดยมิได้ห้ามปราม หลังจากการได้รับชัยชนะหลายครั้งต่อผู้รุกรานเพ็นดาก็มาพ่ายแพ้และถูกปลงพระชนม์ในยุทธการวินเวด (Battle of Winwaed) โดยออสวีแห่งนอร์ทธัมเบรีย (Oswiu of Northumbria) ในปี ค.ศ. 655

ความพ่ายแพ้นำไปสู่การสิ้นสุดอำนาจของเมอร์เซียอยู่ชั่วระยะหนึ่ง พีดา (Peada) ผู้เปลี่ยนไปนับถือคริสต์ศาสนาขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาในปี ค.ศ. 653) แต่ในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 656 พระองค์ก็ทรงถูกสังหาร ออสวีจึงเข้ายึดครองเมอร์เซียทั้งหมด ในปี ค.ศ. 658 ก็เกิดการต่อต้านที่พระโอรสของเพ็นดาวูล์ฟแฮร์แห่งเมอร์เซียได้รับชัยชนะและครองเมอร์เซียจนสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 675 ราชอาณาจักรเมอร์เซียหลังจากวูล์ฟแฮร์ได้รับชัยชนะก็มีความแข็งแกร่งแต่ต่อมาก็พ่ายแพ้ต่อนอร์ทธัมเบรีย กษัตริย์ต่อมาอีกสององค์เอเธลเรด และเซนเรด โอรสของวูล์ฟแฮร์เป็นที่รู้จักกันทางด้านพระราชกรณียกิจทางศาสนา หลังจากนั้นเซโอลเรดก็ขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 709 ที่นักบุญบอนนิเฟซกล่าวถึงว่าเป็นชายหนุ่มที่มีปัญหาและเสียชีวิตจากการเสียพระสติซึ่งเป็นการสิ้นสุดผู้ครองเมอร์เซียที่สืบเชื้อสายของเพ็นดา

บาหลวงองค์แรกของเมอร์เซียคือเช็ดดาหรือที่เรียกกันว่าแชดแห่งเมอร์เซียเป็นผู้ก่อตั้งสังฆมลฑลลิชฟิลด์

ก่อนที่เอเธลบอลด์แห่งเมอร์เซียขึ้นครองราชย์เมอร์เซียได้รับชัยชนะต่อบริเวณรอบๆ ร็อกซีเตอร์ (Wroxeter) ที่รู้จักกันในบรรดาชาวเวลส์ว่า “สวรรค์แห่งเพาวิส”

พระมหากษัตริย์ของเมอร์เซียองค์สำคัญต่อมาคือเอเธลบอลด์ผู้ครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 716 ถึง ค.ศ. 757 ในสองสามปีแรกของการปกครองพระองค์ต้องทรงเผชิญหน้ากับพระมหากษัตริย์คู่อริวิห์เรดแห่งเค้นท์ และไอนิแห่งเวสเซ็กซ์ แต่เมื่อวิห์เรดสวรรคตในปี ค.ศ. 725 และไอนิสละราชสมบัติปีต่อมาเพื่อไปเป็นนักบวชในกรุงโรม เอเธลบอลด์ก็มีเสรีภาพที่จะสร้างอำนาจของแองโกล-แซ็กซอนทางตอนใต้ของแม่น้ำฮัมเบอร์ ความสามารถทางการเป็นผู้นำทางการทหารทำให้เอเธลบอลด์ได้รับสมญาว่า “Bretwalda” แต่อำนาจของเอเธลบอลด์ก็มาถอยลงเมื่อ ปี ค.ศ. 752 เมื่อทรงพ่ายแพ้ต่อคัธเรดแห่งเวสเซ็กซ แต่ก็สามารถยึดอำนาจคืนได้และมีอำนาจเหนือเวสเซ็กซในปี ค.ศ. 757

อ้างอิง แก้

ดูเพิ่ม แก้