บิฮอง (จีน: 麋芳; พินอิน: Mí Fāng; เวด-ไจลส์: Mi Fang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นเสนาธิการแห่งจ๊กก๊ก เป็นน้องชายของบิต๊ก ได้ติดตามรับราชการกับเล่าปี่พร้อมกับบิต๊กผู้เป็นพี่ชาย แต่ในเวลาต่อมา เมื่อกวนอูทำสงครามกับง่อก๊ก บิฮองและเปาสูหยินทำการผิดพลาดในการดูแลค่ายทหารจึงถูกกวนอูคาดโทษไว้ ทั้งคู่กลัวตายจึงหนีไปสวามิภักดิ์กับซุนกวน จนเป็นเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้กวนอูพ่ายแพ้และถูกประหารในเวลาต่อมา (และทำให้บิต๊กตรอมใจตายกับการสวามิภักดิ์ซุนกวนของบิฮอง) และเมื่อพระเจ้าเล่าปี่ยกทัพใหญ่ไปตีง่อก๊กเพื่อแก้แค้นให้กวนอู บิฮองและเปาสูหยินพยายามจะกลับมาสวามิภักดิ์ต่อก๊กเล่าปี่อีกครั้งด้วยการฆ่าแม่ทัพม้าต๋งของง่อก๊ก แต่เล่าปี่ไม่ยอมรับและสั่งให้กวนหิน ลูกชายกวนอู จับไปฆ่าทิ้งทั้งคู่เพื่อแก้แค้นให้กวนอู

บิฮอง
麋芳[1]
เสนาธิการเขตผู้บัญชาการหนาน
(南郡太守)
(ภายใต้อำนาจของเล่าปี่)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 208 (208) – ค.ศ. 219 (219)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ[1]
เหลียนหยุนกั่ง, มณฑลเจียงซู
เสียชีวิตค.ศ. 223[1]
ญาติ
อาชีพผู้บัญชาการ, นักการเมือง
ชื่อสุภาพZifang (子方)

ส่วนประวัติในจดหมายเหตุสามก๊กของตันซิ่ว ภายหลังที่บิฮองไปอยู่กับง่อก๊ก ซุนกวนได้ให้เกียรติและไว้ใจบิฮองอย่างสูง แต่ก็มักจะถูกขุนนางบางส่วนอย่างยีหวน เหยียดหยามจากการหักหลังกวนอูไปอยู่กับซุนกวน ส่วนการตายก็ไม่ได้มีการบันทึกไว้ว่าบิฮองเสียชีวิตด้วยเหตุใด

อ้างอิง แก้

หมายเหตุ แก้

  1. ^ ในบันเทิงคดีอิงประวัติศาสตร์สามก๊ก 麋芳 มักเขียน(ผิด)เป็น 糜芳

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 de Crespigny, p. 671

บรรณานุกรม แก้

  • Chen, Shou (3rd century). Records of the Three Kingdoms (Sanguozhi).
  • de Crespigny, Rafe (2007). A biographical dictionary of Later Han to the Three Kingdoms (23–220 AD). Leiden: Brill. ISBN 978-90-04-15605-0.
  • Luo, Guanzhong (14th century). Romance of the Three Kingdoms (Sanguo Yanyi).
  • Pei, Songzhi (5th century). Annotations to Records of the Three Kingdoms (Sanguozhi zhu).