ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทรทัศน์ในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ข้อมูลเยอะเกิน
บรรทัด 1:
{{ปรับภาษา}}
{{ข้อมูลเยอะเกิน}}
'''[[โทรทัศน์]]ใน[[ประเทศไทย]]''' ออกอากาศทางภาคพื้นดินเป็นช่องทางหลัก โดยแพร่ภาพผ่านคลื่นวิทยุ ซึ่งระยะแรกที่ออกอากาศ ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2498]] เริ่มใช้[[วีเอชเอฟ|ย่านความถี่สูงมาก]] (Very High Frequency; VHF) ซึ่งประกอบด้วย ช่วงความถี่ต่ำ (low band) คือช่องสัญญาณที่ 2-4 และช่วงความถี่สูง (high band) คือช่องสัญญาณที่ 5-12 จนกระทั่งปี [[พ.ศ. 2538]] จึงเริ่มใช้[[ยูเอชเอฟ|ย่านความถี่สูงยิ่ง]] (Ultra High Frequency; UHF) คือช่องสัญญาณที่ 26-60 (ช่วงความถี่ต่ำ (low band) คือช่องสัญญาณที่ 26-34 และช่วงความถี่สูง (high band) คือช่องสัญญาณที่ 35-60 ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 ได้มีการปรับเปลี่ยนให้ส่งสัญญาณระหว่างช่องสัญญาณที่ 21-48) ทั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มออกอากาศ จนถึง [[พ.ศ. 2517]] ใช้ระบบ[[สัญญาณแอนะล็อก]] ในการส่งแพร่ภาพขาวดำ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที (National Television System Committee; NTSC) ซึ่งกำหนดขึ้นโดย [[คณะกรรมการสื่อสารแห่งชาติสหรัฐอเมริกา]] (Federal Communications Committee; FCC ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเต็มเป็น Federal Communications Commission) ต่อมาตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2510]] จึงเริ่มนำระบบการส่งแพร่ภาพ 625 เส้นต่อภาพ 25 ภาพต่อวินาที (Phase Alternating Line; PAL) ซึ่งกำหนดขึ้นโดย [[คณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติว่าด้วยคลื่นวิทยุ]] (Consultative Committee on International Radio; CCIR ปัจจุบันคือ [[ภาควิทยุคมนาคมโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ]] หรือ International Telecommunication Union Radiocommunication Sector; ITU-R) เข้ามาใช้ในประเทศไทย และเริ่มออกอากาศด้วยภาพสี ภายใต้ระบบดังกล่าวตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2513]] จนถึงปัจจุบัน