ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมืองสวางคบุรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Waniosa Amedestir (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์วันเดือนปีบางส่วน
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 47:
เมืองสวางคบุรี ปรากฏหลักฐานการมีอยู่ในพงศาวดารเหนือ ระบุว่าเป็นที่ตั้งของ[[วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ|พระมหาธาตุที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญ]]ของพระพุทธเจ้า<ref>ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๔๒.</ref><ref>'''“พระราชพงศาวดารเหนือ”'''. (2542). ใน ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1. กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.</ref> และปรากฏชื่อเมืองใน[[ศิลาจารึก]]สุโขทัยหลายหลัก<ref>'''ประชุมจารึก ภาคที่ 8 จารึกสุโขทัย'''. (2548). กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.</ref> รวมถึงพระราชพงศาวดารตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์<ref>'''พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา (ภาคจบ)'''. (2505). พระนคร : โอเดียสโตร์.</ref><ref>'''พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ฯ (ขำ บุนนาค)'''. (2547). กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.</ref><ref>'''“พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)”'''. (2542). ใน ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 3. กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.</ref><ref>'''“พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม กรุงลอนดอน”'''. (2542). ใน ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 2. กรุงเทพฯ : กอง วรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.</ref> และจากการเคยเป็นเมืองชายแดนพระราชอาณาเขต ทำให้เมืองนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้คนจากแคว้น[[ล้านนา]]และ[[ล้านช้าง]] <ref>ลาลูแบร์. (2552). '''จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม'''. สันต์ ท.โกมลบุตร (แปล). นนทบุรี : ศรีปัญญา.</ref> ผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองส่วนใหญ่สืบทอดขนบวัฒนธรรมแบบคนหัวเมืองเหนือโบราณ (ภาษาถิ่นสุโขทัย) ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ของเมืองนี้
 
หลังการสิ้นสุดลงของ[[ชุมนุมเจ้าพระฝาง]] ระหว่างปี [[พ.ศ. 2310]] -[[พ.ศ. 2313|2313]] ที่มีเมืองสวางคบุรีเป็นศูนย์กลาง และการขับไล่พม่ารวบรวมหัวเมืองล้านนาไว้ภายในพระราชอาณาเขตได้ในสมัย[[กรุงธนบุรี]]<ref>'''“พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)”'''. (2542). ใน ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 3. กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.</ref> ประกอบกับตำแหน่งภูมิศาสตร์ทางการค้าลุ่มแม่น้ำน่านในยุคต่อมาเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เมืองสวางคบุรีร่วงโรยลงในระยะต่อมา
 
เมืองสวางคบุรีได้ลดฐานะความเป็นเมืองสำคัญทางศาสนาลงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากเมืองสวางคบุรีไม่ได้เป็นเมืองเหนือสุดปลายพระราชอาณาเขตอีกต่อไป อีกทั้งชาวเมืองสวางคบุรีส่วนใหญ่ได้โยกย้ายไปอยู่ในบริเวณที่กลายมาเป็นเมืองบางโพ (ท่าอิฐ, ท่าเสา) และได้รับยกฐานะขึ้นเป็น[[จังหวัดอุตรดิตถ์]]ในปัจจุบัน