ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Waniosa Amedestir (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์วันเดือนปี
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 50:
}}
}}
'''ราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์''' เป็นราชอาณาจักรที่สี่ในยุคประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่งกรุงธนบุรี มายัง[[กรุงเทพมหานคร]] ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของ[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] ปฐมกษัตริย์แห่ง[[ราชวงศ์จักรี]] เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ [[6 เมษายน]] พ.ศ. 2325
 
ครึ่งแรกของสมัยนี้เป็นการเพิ่มพูนอำนาจของอาณาจักร ถูกขัดจังหวะด้วยความขัดแย้งเป็นระยะกับ[[พม่า]] [[เวียดนาม]]และ[[ลาว]] ส่วนครึ่งหลังนั้นเป็นการเผชิญกับประเทศเจ้าอาณานิคม [[อังกฤษ]]และ[[ฝรั่งเศส]] จนทำให้ไทยเป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตก ผลกระทบจากภัยคุกคามนั้น นำให้อาณาจักรพัฒนาไปสู่[[รัฐชาติ]]สมัยใหม่ที่รวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยมีพรมแดนที่กำหนดร่วมกับชาติตะวันตก สมัยนี้มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญ ด้วยการเพิ่มการค้ากับต่างประเทศ [[การเลิกทาสและไพร่ในประเทศไทย|การเลิกทาส]] และการขยายการศึกษาแก่[[ชนชั้นกลาง]]ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่มีการปฏิรูปทางการเมืองอย่างแท้จริงกระทั่งระบอบ[[สมบูรณาญาสิทธิราช]]ถูกแทนที่ด้วยระบอบ[[ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ]] ใน[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475]]
 
ชื่อ "รัตนโกสินทร์" ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน แต่บทความนี้จะกล่าวถึงเหตุการณ์จนถึง [[พ.ศ. 2475]] เท่านั้น
 
== การก่อตั้ง ==
บรรทัด 75:
อิทธิพลของตะวันตกเริ่มแผ่ขยายเข้ามาในภูมิภาค โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2328 อังกฤษยึดครอง[[ปีนัง]] และใน พ.ศ. 2362 เข้ามาตั้ง[[สิงคโปร์]] ไม่นาน อังกฤษก็ได้เข้ามาแทนที่ฮอลันดาและโปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจและการเมืองหลักในสยาม อังกฤษคัดค้านระบบเศรษฐกิจสยาม ซึ่งเจ้านายเป็นผู้ผูกขาดการค้า และธุรกิจถูกจัดเก็บภาษีตามอำเภอใจ ใน พ.ศ. 2364 ลอร์ดฮัสติงส์แห่ง[[บริษัทอินเดียตะวันออก]] ซึ่งขณะนั้นเป็นข้าหลวงใหญ่แห่งอินเดีย ส่งตัวแทนของบริษัท [[จอห์น ครอว์เฟิร์ด]] เป็นคณะทูตเพื่อเรียกร้องให้สยามยกเลิกการจำกัดการค้าเสรี อันเป็นสัญญาณแรกของประเด็นซึ่งจะครอบงำการเมืองของสยามในคริสต์ศตวรรษที่ 19
 
ขอโทษ
[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2367 กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ เสวยราชสมบัติต่อเป็น[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] พระราชโอรสพระองค์เล็ก เจ้าฟ้ามงกุฎ ทรงได้รับการแนะนำให้ออกผนวช เพื่อจะได้ไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง
 
เส้น 87 ⟶ 86:
 
== การทำให้ทันสมัย ==
เจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน [[พ.ศ. 2394]] ทรงถูกกำหนดให้ช่วยสยามให้รอดพ้นจากการครอบงำอาณานิคมโดยทรงบังคับให้คนในบังคับทันสมัย แม้พระองค์จะเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชในทางทฤษฎี แต่พระราชอำนาจของพระองค์มีจำกัด หลังจากออกผนวชนาน 27 ปี พระองค์จึงขาดฐานในหมู่เจ้านายที่ทรงอำนาจ และไม่อาจดำเนินระบบรัฐสมัยใหม่ตามพระประสงค์ได้ ความพยายามแรกของพระองค์ในการปฏิรูปเพื่อสถาปนาระบบการปกครองใหม่และยกสถานภาพของทาสสินไถ่และสตรีไม่สัมฤทธิ์ผล
 
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงต้อนรับการบุกรุกของตะวันตกในสยาม อันที่จริง พระองค์และข้าราชบริพารนิยมอังกฤษอย่างแข็งขัน ใน [[พ.ศ. 2398]] มีคณะทูตอังกฤษ นำโดย เซอร์[[จอห์น เบาริง]] ผู้ว่าราชการ[[ฮ่องกง]] เดินทางเข้ามาในกรุงเทพมหานครเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงทันที โดยได้รับการสนับสนุนจากการข่มขู่ใช้กำลัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมยอมรับข้อเรียกร้องทำสนธิสัญญาฉบับใหม่ เรียกว่า [[สนธิสัญญาเบาว์ริง]] ซึ่งจำกัดอัตราภาษีขาเข้าที่ร้อยละ 3 กำจัดการผูกขาดการค้าของพระมหากษัตริย์ และให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่คนในบังคับอังกฤษ ไม่นาน ชาติตะวันตกอื่น ๆ ก็ได้เรียกร้องและได้สัมปทานที่คล้ายกัน
 
ไม่นาน พระองค์ก็ทรงตระหนักว่า ภัยคุกคามต่อสยามแท้จริงนั้นมาจากฝรั่งเศส มิใช่อังกฤษ อังกฤษสนใจในประโยชน์พาณิชย์ แต่ฝรั่งเศสสนใจสร้างจักรวรรดิอาณานิคม ฝรั่งเศสยึดครอง[[ไซ่ง่อน]]ใน พ.ศ. 2402 และ พ.ศ. 2410 ได้สถาปนา[[รัฐในอารักขา]]เหนือเวียดนามตอนใต้และกัมพูชาตะวันออก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงหวังว่าอังกฤษจะปกป้องสยามหากพระองค์พระราชทานสัมปทานเศรษฐกิจตามที่ต้องการ แต่เหตุการณ์ในรัชกาลต่อมาได้พิสูจน์แล้วว่า ความหวังของพระองค์เป็นเพียงภาพลวงตา แต่ก็เป็นจริงที่อังกฤษมองสยามเป็น[[รัฐกันชน]]ที่มีประโยชน์ระหว่างพม่าและมลายูของอังกฤษกับ[[อินโดจีนฝรั่งเศส]]
เส้น 125 ⟶ 124:
แตกต่างจากพระเชษฐา [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงอ่านเอกสารสำคัญของรัฐแทบทั้งหมดที่ผ่านมาทางพระองค์อย่างขันแข็ง ภายในครึ่งปี มีรัฐมนตรีที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้ง 12 คน เหลือเพียง 3 คน ที่เหลือถูกแทนที่ด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ในแง่หนึ่ง การแต่งตั้งนี้ทำให้ผู้ที่มีความสามารถและประสบการณ์กลับมาดำรงตำแหน่ง แต่อีกแง่หนึ่ง เป็นการส่งสัญญาณถึงการหวนคืนสู่คณาธิปไตยโดยราชวงศ์ ชัดเจนว่า พระองค์ทรงต้องการแสดงถึงข้อแตกต่างอย่างชัดเจนกับรัชกาลที่ 6 ที่ถูกทำให้เสียความน่าเชื่อถือ และตัวเลือกผู้มาดำรงตำแหน่งสำคัญเหมือนจะถูกชี้นำโดยพระราชประสงค์ที่จะฟื้นฟูรัฐบาลแบบ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
 
มรดกเริ่มต้นที่พระองค์ทรงได้รับจากพระเชษฐา คือ ปัญหาชนิดที่กลายมาเรื้อรังในรัชกาลที่ 6 ปัญหาเร่งด่วนที่สุด คือ เศรษฐกิจ การเงินของรัฐอยู่ในความยุ่งเหยิง งบประมาณติดลบอย่างหนัก และบัญชีของพระมหากษัตริย์เต็มไปด้วยหนี้สินและธุรกรรมที่น่าสงสัย และกา[[ร]]การที่ประเทศที่เหลือในโลกต่างประสบ[[ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่]]หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ก็มิได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น
 
พระราชกรณียกิจแรก ๆ ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ทรงตั้ง[[อภิรัฐมนตรีสภา]] เป็นนวัตกรรมเชิงสถาบันมีเจตนาเพื่อฟื้นฟูความความเชื่อมั่นในพระมหากษัตริย์และรัฐบาล คณะองคมนตรีนี้ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีประสบการณ์และทรงพระปรีชาสามารถ รวมทั้งกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยที่ดำรงตำแหน่งมาอย่างยาวนานด้วย เจ้านายเหล่านี้ค่อย ๆ ถือสิทธิ์เพิ่มอำนาจโดยผูกขาดตำแหน่งรัฐมนตรีหลักทั้งหมด เจ้านายหลายพระองค์รู้สึกว่า เป็นหน้าที่ของพวกตนที่ต้องแก้ไขข้อผิดพลาดในรัชกาลก่อน แต่โดยทั่วไปไม่เป็นที่ชื่นชอบนัก
 
ด้วยการช่วยเหลือของอภิรัฐมนตรีนี้ พระมหากษัตริย์ทรงฟื้นฟูเสถียรภาพเศรษฐกิจ แม้จะด้วยปริมาณการลดข้าราชการจำนวนมากและการตัดเงินเดือนข้าราชการที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งทำให้เกิดความไม่เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่เจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างชัดเจน และเป็นหนึ่งในชนวนเหตุของการปฏิวัติ [[พ.ศ. 2475]]
 
จากนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงหันความสนพระทัยไปยังปัญหาอนาคตการเมืองในสยาม พระองค์ทรงได้รับแรงบันดาลใจจากตัวอย่างอังกฤษ มีพระราชประสงค์ให้สามัญชนมีสิทธิ์มีเสียงในการงานของประเทศโดยการตั้งรัฐสภา มีพระบรมราชโองการให้ร่างรัฐธรรมนูญ แต่พระราชประสงค์ของพระองค์ทรงถูกที่ปรึกษาปฏิเสธ เพราะรู้สึกว่าประชาชนยังไม่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย
 
เมื่อเดือนเมษายน [[พ.ศ. 2475]] พระองค์ทรงตกลงจะนำรัฐธรรมนูญมาใช้ ซึ่งพระองค์จะทรงแบ่งพระราชอำนาจกับนายกรัฐมนตรี แต่ยังไม่เพียงพอสำหรับกลุ่มหัวรุนแรงในกองทัพ วันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน ขณะที่พระมหากษัตริย์แปรพระราชฐาน ณ ชายทะเล กองทหาร[[กรุงเทพมหานคร]]ก่อการกำเริบและยึดอำนาจ นำโดยผู้ก่อการ 49 คน และเป็นการสิ้นสุดประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช 150 กว่าปี.
 
== ระบบไพร่ ==
เส้น 144 ⟶ 143:
! # || รัชสมัย || วันที่ || ดินแดน || ให้ || เนื้อที่ <small>(ตร.กม.)</small>
|-
| 1 || [[รัชกาลที่ 4]] || [[15 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2410]] || แคว้นเขมร และเกาะอีก 6 เกาะ || [[ไฟล์:Flag of Cambodia under French protection.svg|22px]] [[กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส]] ([[จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2|ฝรั่งเศส]]) || 124,000
|-
| 2 || [[รัชกาลที่ 5]] || [[22 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2431]] || สิบสองจุไทและหัวพันห้าทั้งหก || [[ไฟล์:Flag of French Indochina.svg|22px]] [[อินโดจีนของฝรั่งเศส]] || 87,000
|-
| 3 || รัชกาลที่ 5 || [[27 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2435]] || ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน (5 เมืองเงี้ยว และ 13 เมืองกะเหรี่ยง) || [[ไฟล์:Flag of Imperial India.svg|22px]] [[บริติชราช]] || 30,000
|}
 
เส้น 158 ⟶ 157:
! วันที่ !! colspan=2| ดินแดนพิพาท !! เนื้อที่ !! รัฐคู่พิพาท !! width="250"| หมายเหตุ
|-
| [[3 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2436]] || bgcolor="#ff0000"| || ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และ ราชอาณาจักรลาว || 143,000 || [[ไฟล์:Flag of French Indochina.svg|22px]] [[อินโดจีนของฝรั่งเศส]] || สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 112 (Traité franco-siamois du 3 octobre 1893)
|-
| [[12 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2446]] || bgcolor="#ff0000"| || ดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ([[จำปาศักดิ์]] [[ไชยบุรี]]) || 25,500 || [[ไฟล์:Flag of French Indochina.svg|22px]] [[อินโดจีนของฝรั่งเศส]] || [[สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122]]
|-
| [[23 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2450]] || bgcolor="#ff0000"| || [[พระตะบอง]] [[เสียมราฐ]] [[ศรีโสภณ]] || 51,000 || [[ไฟล์:Flag of French Indochina.svg|22px]] [[อินโดจีนของฝรั่งเศส]] ([[สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3|ฝรั่งเศส]]) || หนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125<ref name="Treaty2450">[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/014/344_1.PDF ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๔ หน้า ๓๔๔ วันที่ ๗ กรกฎาคม ๑๒๖]</ref>
|-
| [[10 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2452]] || bgcolor="#ff0000"| || [[ไทรบุรี]] [[ปะลิส]] [[กลันตัน]] [[ตรังกานู]] || 38,455 || [[ไฟล์:Flag of the Federated Malay States (1895 - 1946).svg|22px|border]] [[สหภาพมาลายา]] ([[สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์|อังกฤษ]]) || สัญญาในระหว่างกรุงสยามกับกรุงอังกฤษ<ref name="Treaty2452"/>
|-
| [[9 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2484]] || bgcolor="#008000"| || [[จำปาศักดิ์]] [[ไชยบุรี]] [[พระตะบอง]] [[เสียมราฐ]] || 51,326 || [[ไฟล์:Flag of French Indochina.svg|22px]] [[อินโดจีนของฝรั่งเศส]] || อนุสัญญาสันติภาพระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศส<ref name="Treaty24841"/>
|-
| [[30 กันยายน]] [[พ.ศ. 2484]] || bgcolor="#008000"| || เกาะดอนต่างๆ ใน[[แม่น้ำโขง]] 77 แห่ง || ? || [[ไฟล์:Flag of French Indochina.svg|22px]] [[อินโดจีนของฝรั่งเศส]] || แถลงการณ์ เรื่อง ได้คืนเกาะดอนต่าง ๆ ในลำแม่น้ำโขง ตามความตกลงกำหนดเส้นทางเขตต์แดนชั่วคราวระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส<ref name="Treaty24842"/>
|-
| [[9 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2489]] || bgcolor="#ff0000"| || [[จำปาศักดิ์]] [[ไชยบุรี]] [[พระตะบอง]] [[เสียมราฐ]]</br>และเกาะดอนต่างๆ ใน[[แม่น้ำโขง]] 77 แห่ง || ? || [[ไฟล์:Flag of French Indochina.svg|22px]] [[อินโดจีนของฝรั่งเศส]] || ความตกลงระงับกรณีระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส (อนุสัญญาโตเกียว)<ref name="Treaty2489"/>
|}