ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเมกุฏิสุทธิวงศ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30:
ก่อนหน้านี้อาณาจักรล้านนามีความสัมพันธ์อันดีกับ[[อาณาจักรล้านช้าง]]และกลายเป็นรัฐเครือญาติกันผ่านการอภิเษกสมรสระหว่างนางยอดคำพระราชธิดาใน[[พระเมืองเกษเกล้า]] กับ[[พระเจ้าโพธิสาลราช]]กษัตริย์แห่งล้านช้าง มีพระราชโอรสด้วยกันพระองค์หนึ่งคือ[[พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช]]<ref>สรัสวดี อ๋องสกุล. ''ประวัติศาสตร์ล้านนา''. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2539. หน้า 239</ref> แต่ต่อมาหลังพระเมืองเกษเกล้าเส็จสวรรคต ล้านนาจึงเกิดกลียุคเกิดสงครามยาวนาน [[พระนางจิรประภาเทวี]]จึงเสวยราชย์ ช่วงนั้นได้เกิดกบฏชาวไทใหญ่และการรุกรานของ[[อาณาจักรอยุธยา]] ทั้งขุนนางแห่งล้านนาเองก็มีอำนาจเหนือกษัตริย์เสียด้วย<ref name="แม่กุ"/> ล้านช้างที่ขณะนั้นกำลังเจริญรุ่งเรืองสูงสุดจึงเข้าแทรกแซงเพื่อช่วยเหลือล้านนาจนฝ่ายอยุธยาพ่ายแพ้ไป พระเจ้าโพธิสาลราชในฐานะผู้ปกป้องล้านนาจึงมีความชอบยิ่งนักได้นำพระราชโอรสคือ[[พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช]]มาครองล้านนา มหาเทวีจิรประภาจึงสละราชบัติแก่พระราชนัดดาในปี พ.ศ. 2089<ref name="แม่กุ"/>
 
ครั้นในปี พ.ศ. 2090 พระเจ้าโพธิสาลราชสวรรคตกะทันหัน สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชจึงเสด็จกลับล้านช้างในปีนั้น พร้อมกับมหาเทวีจิรประภาและ[[พระแก้วมรกต]] อาณาจักรล้านนาจึงว่างกษัตริย์และเกิดการแย่งชิงอำนาจกันระหว่างขุนนางกลุ่มต่าง ๆ ช่วงปี พ.ศ. 2091-2094 ล้านนาได้เข้าสู่กลียุคอีกครั้ง<ref name="แม่กุ"/> สุดท้ายขุนนางล้านนามีมติว่าสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชคงไม่เสด็จกลับมาแล้ว จึงเห็นควรให้อัญเชิญพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ เจ้านายเมืองนายผู้มีเชื้อสายแห่งราชวงศ์มังรายมาเสวยราชย์แทน<ref name="แม่กุ"/> ซึ่งจากจารึกวัดเชียงสา จะพบว่าเนื้อหาเขียนว่าพระองค์อ้างสิทธิ์เหนือดินแดนล้าช้างล้านช้างเสียด้วย<ref name="จารึก1"/>
 
หลังพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์เสวยราชย์ได้ไม่ช้านานนัก สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชทรงไม่พอพระทัย ที่ขุนนางล้านนาอัญเชิญพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์มาเสวยราชย์โดยที่สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชมิทรงเห็นชอบ จึงนำไปสู่การยกทัพไปตี[[อำเภอเชียงแสน|เมืองเชียงแสน]]ในปี พ.ศ. 2098<ref name="แม่กุ"/>