พายุโซนร้อนวาชิ (พ.ศ. 2554)

(เปลี่ยนทางจาก พายุโซนร้อนวาชิ)

พายุโซนร้อนวาชิ เป็นพายุหมุนเขตร้อนมีพลังอยู่ใกล้กับประเทศฟิลิปปินส์ วาชิ ซึ่งหมายถึงกลุ่มดาวนกอินทรีในภาษาญี่ปุ่น ขึ้นฝั่งที่เกาะมินดาเนาของฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม หลังพัดผ่านมินดาเนา พายุโซนร้อนวาชิได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวไทยตอนล่างและขึ้นฝั่งที่ประเทศมาเลเซีย จึงทำให้ภาคใต้ของประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมาก

พายุโซนร้อนวาชิ (เซนดอง)
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
พายุโซนร้อนวาชิในทะเลซูลู วันที่ 17 ธันวาคม
พายุโซนร้อนวาชิในทะเลซูลู วันที่ 17 ธันวาคม
พายุโซนร้อนวาชิในทะเลซูลู วันที่ 17 ธันวาคม
ก่อตัว 13 ธันวาคม 2554
สลายตัว 19 ธันวาคม 2554
ความเร็วลม
สูงสุด
เฉลี่ยลมใน 10 นาที:
75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.)
เฉลี่ยลมใน 1 นาที:
100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด 996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)
ผู้เสียชีวิต เสียชีวิต 1,257 คน
สูญหาย ≥85 คน
ความเสียหาย 31.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี 2011)
พื้นที่ได้รับ
ผลกระทบ
สหพันธรัฐไมโครนีเชีย, ปาเลา, ฟิลิปปินส์
ส่วนหนึ่งของ
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554

ขณะนี้ยังไม่มีการพิจารณาขอบเขตความเสียหายทั้งหมดอันเกิดขึ้นจากวาชิ พายุวาชิเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 1,257 คน นับเป็นพายุหมุนที่คร่าชีวิตผู้คนไปมากที่สุดในรอบปี พ.ศ. 2554[1]

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา แก้

วันที่ 12 ธันวาคม ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่นรายงานว่า หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นห่างจากเกาะกวมไปทางตะวันออกเฉียงใต้ราว 945 กิโลเมตร ระหว่างวันนั้น หย่อมได้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วก่อน JMA และ JTWC รายงานก่อนหน้าในวันเดียวกันว่า หย่อมได้พัฒนาเป็นดีเปรสชันเขตร้อนแล้ว ในอีก 24 ชั่วโมงต่อมา ดีเปรสชันทวีความรุนแรงขึ้นก่อน JTWC รายงานในวันที่ 14 ธันวาคม ว่า ดีเปรสชันได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนแล้ว

ผลกระทบ แก้

พายุโซนร้อนวาชิขึ้นฝั่งมินดาเนา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประสบพายุหมุนเขตร้อนน้อยครั้ง เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม นำมาซึ่งฝนเทกระหน่ำ 10 ชั่วโมงอันเป็นเหตุให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก บางพื้นที่ได้รับฝนมากกว่า 200 มิลลิเมตรในช่วงนี้ในพื้นที่ซึ่งแม่น้ำเพิ่มระดับแล้ว ชาวบ้านหลายพันคนยังอยู่ที่บ้านเมื่อพายุเข้า เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้เตรียมตัวรับมือกับพายุ ในช่วงกลางคืน มีหลายร้อยคนเสียชีวิตจากน้ำป่าและดินถล่มหลายครั้งได้ทำลายบ้านตามฝั่งภูเขา ในบางพื้นที่ ระดับน้ำสูงขึ้นถึง 3.3 เมตรในเวลาไม่ถึงชั่วโมง[2] ชาวบ้านถูกบีบให้อพยพจากระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นบนหลังคาท่ามกลางลมที่พัดเร็วกว่า 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นายกเทศมนตรีอิลิแกนเรียกอุทกภัยคราวนี้ว่าครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของนคร[3] มีชาวบ้านมากกว่า 2,000 คนได้รับการช่วยเหลือจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด แม้จะมีรายงานไม่ได้รับการยืนยันจนถึงเช้าวันที่ 17 ธันวาคมว่า ทั้งหมู่บ้านถูกพัดพาไปกับกระแสน้ำ

ตามข้อมูลของกาชาดฟิลิปปินส์ มีผู้เสียชีวิตยืนยันแล้ว 1,257 คน ขณะที่อีก 85 คนยังสูญหาย[1]

เหตุการณ์ภายหลัง แก้

จนถึงเช้าวันที่ 17 มีการวางแผนปฏิบัติการช่วยเหลือขนาดใหญ่ซึ่งรวมการอพยพประชากร 100,000 คน ทหารประมาณ 20,000 นายถูกระดมมาช่วยเหลือในความพยายามฟื้นฟูและอพยพ ยามฝั่งฟิลิปปินส์ถูกส่งไปค้นหาชาวบ้านที่สูญหายหลังหลายหมู่บ้านมีรายงานว่าถูกน้ำพัดพาลงทะเลไป มี 120 คนได้รับการช่วยเหลือนอกชายฝั่งเมืองเอลซัลวาดอร์ จังหวัดมีซามิสโอเรียนตัล และอีก 120 คนใกล้กับเมืองโอปอล[4]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Death toll from Philippine storm reaches 569; hundreds missing". CNN. สืบค้นเมื่อ 18 December 2011.
  2. "Storm-triggered floods ravage southern Philippines, kill at least 436". Associated Press. The Washington Post. December 17, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-22. สืบค้นเมื่อ December 17, 2011.
  3. "Hundreds die as tropical storm Washi sweeps across Philippines". Associated Press. The Telegraph. December 17, 2011. สืบค้นเมื่อ December 17, 2011.
  4. "Storms pound Philippines in the thick of night, kill at least 436". MSNBC. December 17, 2011. สืบค้นเมื่อ December 17, 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้