พายุเฮอริเคนวิลมา

พายุเฮอริเคนวิลมา (อังกฤษ: Hurricane Wilma) เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดที่เคยมีการบันทึกไว้ในมหาสมุทรแอตแลนติกและเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงเป็นอันดับสองในซีกโลกตะวันตกที่มีการบันทึก อยู่อันดับรองจากพายุเฮอริเคนแพทริเซียในปี 2558 พายุเฮอริเคนวิลมาก่อตัวขึ้นในฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2548 ติดหนึ่งในสิบพายุเฮอริเคนที่ก่อตัวในมหาสมุทรแอตแลนติกที่รุนแรงที่สุด (ในปีเดียวกันมีพายุเฮอร์ริเคนริต้าและพายุเฮอร์ริเคนแคทรีนา อยู่อันดับที่ 3 และ 7 ตามลำดับ), เฮอร์ริเคนวิลมาเป็นพายุลำดับที่ยี่สิบสอง, พายุเฮอริเคนลำดับที่สิบสาม, พายุเฮอริเคนใหญ่ลำดับที่หก และเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 5 ลำดับที่สี่ เริ่มแรกนั้นเป็นเพียงพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นในทะเลแคริบเบียนใกล้ประเทศจาไมก้า เมื่อวันที่ 15 ตุลาคมพายุเฮอริเคนวิลมาได้เคลื่อนไปทางทิศตะวันตก อีกสองวันต่อมาทวีความรุนแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และหันไปทางทิศใต้อย่างฉับพลัน พายุเฮอริเคนวิลมายังคงเพิ่มความรุนแรงขึ้นและกลายเป็นพายุเฮอริเคนเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม หลังจากนั้นไม่นานความรุนแรงก็เพิ่มขึ้นและในเวลาเพียง 24 ชั่วโมงพายุวิลมาก็กลายเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 5 ด้วยความเร็วลม 185 ไมล์ต่อชั่วโมง (295 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)

พายุเฮอริเคนวิลมา
พายุเฮอริเคนระดับ 5 (SSHWS)
พายุเฮอริเคนวิลมาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ฮอนดูรัส ในวันที่ 19 ตุลาคม 2548
พายุเฮอริเคนวิลมาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ฮอนดูรัส ในวันที่ 19 ตุลาคม 2548
พายุเฮอริเคนวิลมาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ฮอนดูรัส ในวันที่ 19 ตุลาคม 2548
ก่อตัว 16 ตุลาคม 2548
สลายตัว 27 ตุลาคม 2548
ความเร็วลม
สูงสุด
เฉลี่ยลมใน 1 นาที:
185 ไมล์/ชม. (295 กม./ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด 882 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 26.05 นิ้วปรอท)
ผู้เสียชีวิต รวม 87 คน
ความเสียหาย 27.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี 2005)
พื้นที่ได้รับ
ผลกระทบ
เกาะฮิสปันโยลา, จาเมกา, คิวบา, หมู่เกาะเคย์แมน, ฮอนดูรัส, เบลีซ, เม็กซิโกตะวันออกเฉียงใต้, สหรัฐอเมริกา (ส่วนใหญ่อยู่ใน ฟลอริดา), บาฮามาส, แคนาดา, นิวบรันสวิก
ส่วนหนึ่งของ
ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2548

ระดับความรุนแรงของพายุลดลงอย่างช้า ๆ หลังจากกลายเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 5 และลดลงเป็น 150 ไมล์ต่อชั่วโมง (240 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ก่อนที่จะไปถึงคาบสมุทรยูกาตันในวันที่ 20 และ 21 ตุลาคม หลังจากข้ามรัฐยูกาตัน พายุเฮอริเคนวิลมาอ่อนกำลังลงเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 2 ขณะที่เคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออย่างรวดเร็ว กลับค่อยๆ แรงขึ้นอีกครั้งเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 3 ในวันที่ 24 ตุลาคมหลังจากนั้นไม่นานก็ขึ้นฝั่งที่แหลมโรมาโน รัฐฟลอริดาด้วยความเร็วลม 120 ไมล์ต่อชั่วโมง (190 กิโลเมตร/ชั้วโมง) เมื่อพายุวิลมาข้ามผ่านรัฐฟลอริดา พายุอ่อนกำลังเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 2 แต่กลับทวีความรุนแรงขึ้นอีกครั้งเมื่อเคลื่อนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก พายุเฮอร์ริเคนทวีความรุนแรงมากขึ้นเป็นครั้งสุดท้ายเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 3 ก่อนที่จะอ่อนตัวลงขณะที่เคลื่อนไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคมวิลมาได้อ่อนกำลังเป็นพายุไซโคลนทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐโนวาสโกเชีย ประเทศแคนาดา[1]

เฮอร์ริเคนวิลมาขึ้นฝั่งหลายแห่ง โดยสร้างความเสียหายมากที่สุดในบริเวณคาบสมุทรยูกาตันของเม็กซิโก, คิวบาและในรัฐฟลอริดาของประเทศสหรัฐอเมริกา มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 62 รายและได้รับความเสียหายถึง 27.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา 19 พันล้านเหรียญสหรัฐ[1][2] หลังจากเฮอร์ริเคนวิลมาขึ้นฝั่งที่สหรัฐ พายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ก็ไม่ได้ขึ้นฝั่งในสหรัฐอเมริกาอีก จนกระทั่งเฮอร์ริเคนฮาร์วีย์ขึ้นฝั่งที่แผ่นดินทางตอนใต้ของรัฐเท็กซัสเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2560 เป็นเวลาประมาณ 11 ปี 10 เดือนให้หลัง ในช่วงเวลานี้เฮอริเคนในมหาสมุทรแอตแลนติกที่สำคัญเกิดขึ้นบ่อยครั้ง สูงกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย พายุเหล่านั้นไม่ได้ขึ้นฝั่งที่สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้หลังจากเฮอร์ริเคนวิลมาไม่มีพายุเฮอร์ริเคนใดโจมตีรัฐฟลอริดา จนกระทั่งเฮอร์ริเคนเฮอร์มินขึ้นฝั่งในอีก 11 ปีต่อมาในปี 2559 และไม่มีพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ใด ๆ ขึ้นฝั่งที่ฟลอริดาจนกระทั่งเกือบ 12 ปีต่อมาเมื่อพายุเฮอริเคนเออร์มา ขึ้นฝั่งในต้นเดือนกันยายน 2560

อ้างอิง แก้